ประสบการณ์อาการ กลยุทธ์การจัดการอาการ และสถานะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิดเวลดิฟเฟอเรนติเอเตดที่ได้รับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131ขนาดสูง
Keywords:
ประสบการณ์อาการ, กลยุทธ์การจัดการอาการ, สถานะการทำหน้าที่, มะเร็งไทรอยด์, สารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131, symptom experience, symptom management strategy, functional status, thyroid carcinoma, radioactive iodine-131Abstract
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาประสบการณ์อาการ กลยุทธ์การจัดอาการและความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์อาการกับสถานะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ที่ได้รับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ขนาดสูง
การดำเนินงานวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ หลัง 48 ชั่วโมงที่ได้รับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ขนาดสูงในห้องแยก จำนวน 140 ราย เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรักษามะเร็งไทรอยด์ แบบสอบถามประสบการณ์อาการไทรอยด์และประสบการณ์อาการเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน -131 แบบสัมภาษณ์กลยุทธ์การจัดการอาการ และแบบสอบถามผลกระทบความเจ็บป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยมีประสบการณ์อาการ และประเมินอาการในระดับปานกลางถึงรุนแรงในระบบทางเดินอาหารได้แก่ เบื่ออาหาร ปากแห้ง คลื่นไส้ต่อมน้ำลายอักเสบ ระบบประสาท ได้แก่ อ่อนล้า ง่วงนอน ปัญหาการนอนไม่หลับ อาการเกี่ยวกับจิตใจ ได้แก่ ไม่สบายใจ กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการอาการระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปรับเปลี่ยนอาหาร เพิ่มความชุ่มชื้นในปาก ใช้ยาแก้คลื่นไส้ ใช้ผลิตภัณฑ์ขับนำ้ลาย ระบบประสาทได้แก่ สงวนพลังงาน ทำจิตใจให้สงบ และอาการเกี่ยวกับจิตใจโดยเบี่ยงเบนความสนใจ ประสบการณ์อาการมีความสัมพันธ์กับสถานะการทำหน้าที่โดยรวม (r = .558 , p < .01)
ข้อเสนอแนะ: บุคลากรทางสุขภาพควรประเมินอาการที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอาการที่ผู้ป่วยประเมินความรุนแรง ตลอดจนนำกลยุทธ์การจัดการที่มีประสิทธิภาพมาพัฒนาเป็นโปรแกรมหรือคู่มือการจัดการอาการที่มีประสิทธิภาพ
Abstract: Objective: To examine symptom experience, symptom management strategies and relationship between symptom experience and functional status in thyroid carcinoma patients undergoing high-dose radioactive iodine-131 administration.
Design:
Implementation: The subjects were 140 isolated thyroid carcinoma patients within 48 hours of having undergone high-dose radioactive iodine-131 administration. Data were collected by means of (i) a personal information questionnaire; (ii) a thyroid carcinoma treatment questionnaire; (iii) a thyroid symptom experience and iodine-131 symptom experience questionnaire; (iv) a symptom management strategy questionnaire; and (v) a disease effect questionnaire. The data were analysed using descriptive statistics, content analysis and Spearman’s Rank Correlation Coefficient.
Results: According to the study, the subjects experienced moderate to severe digestive symptoms (namely, lack of appetite, nausea and sialadenitis), neurological symptoms (namely, fatigue, drowsiness and sleep disturbance), and psychological symptom (namely, uneasiness). A change in diet, increase in oral moisture, use of antiemetics and use of sialagogues were considered effective in managing digestive symptoms; energy preservation and calming of the mind in managing neurological symptoms; and self-distraction in managing psychological symptom. Overall, the subjects’ symptom experience was found to be related to their functional status, at the level of r = .558, p < .01.
Recommendations: Healthcare personnel are advised to thoroughly assess each patient’s symptoms, especially those that the patient considers serious. They are also advised to adopt an efficient management strategy and develop it into an efficient management programme or symptom management manual.