การสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า

Authors

  • วิรมณ กาสีวงศ์ กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • สุประวีณ์ คงธนชโยพิทย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

Keywords:

ภาวะซึมเศร้า, ในผู้สูงอายุ, การสื่อสาร, depression, elderly people, communication

Abstract

บทคัดย่อ: ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาใหญ่ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ องค์การอนามัยโลกประมาณการ
ว่าประชากรโลก 151 ล้านคนทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้า โดยในปี ค.ศ. 2030 มีแนวโน้มว่า
จะทำให้เกิดภาระโรคสูงที่สุดในโลก ผู้สูงอายุที่ซึมเศร้ามีความสัมพันธ์สูงกับภาวะพึ่งพิง
ในการดำเนินกิจวัตรประจำวันขณะที่ผู้ดูแลมักขาดความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารกับผู้สูงอายุ
ที่มีภาวะซึมเศร้า ทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงความคิดอารมณ์และความต้องการของผู้สูงอายุ
ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่ซึมเศร้าถูกมองข้ามและไม่ได้รับดูแลช่วยเหลือ การสื่อสารกับผู้สูงอายุ
ที่ซึมเศร้ามีหลักการสำคัญคือการรับฟังอย่างมีคุณภาพ ด้วยความตั้งใจ เข้าใจ ไม่ตัดสิน
การสื่อสารที่มีคุณภาพจึงเป็นกุญแจสำคัญของบุคลากรด้านสุขภาพ ในการช่วยลดภาวะ
ซึมเศร้า ความโดดเดี่ยวอ้างว้าง ความเครียด และภาวะพึ่งพิงในผู้สูงอายุ

Abstract: Depression is a health problem very commonly found in elderly people. An
estimate by the World Health Organisation puts the number of depression victims
worldwide at about 151 million. There is also a tendency that the number of depression
victims will reach its peak in 2030. In elderly people depression is highly associated
with the condition of daily routine dependence. To make the matter worse, most caregivers
possess insufficient knowledge of how to effectively communicate with depressed elderly
people and, as a consequence, fail to understand their feelings and needs. This often
causes elderly depression patients to be neglected and deprived of necessary assistance.
The main element of communicating with elderly people suffering from depression is
quality time spent on listening. It is vital that caregivers listen to depressed elderly
people with attention, comprehension, and non-judgmental attitudes. Good-quality
communication, therefore, plays a key role in helping healthcare personnel to alleviate
depression, loneliness, stress, and dependence conditions in elderly people.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
กาสีวงศ์ ว, คงธนชโยพิทย์ ส. การสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2016 Jan. 23 [cited 2024 Dec. 23];30(3):5-14. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/47166