การพัฒนาหลักสูตรสำหรับพัฒนาอาจารย์ในการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและจิตบริการด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์ในสังคมพหุวัฒนธรรม

Authors

  • ศุกร์ใจ เจริญสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ๙๙ ม.๓ ต.ลาดบัวขาว อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ๗๐๑๑๐
  • จรัสศรี เพ็ชรคง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ๙๙ ม.๓ ต.ลาดบัวขาว อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ๗๐๑๑๐
  • พัทธวรรณ ชูเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ๙๙ ม.๓ ต.ลาดบัวขาว อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ๗๐๑๑๐

Keywords:

การพัฒนาอาจารย์, กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ, จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์, สังคมพหุวัฒนธรรม, teacher-developing, systematic thinking, humanitarian volunteerism, multicultural society

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรพัฒนาอาจารย์ใน การจัดการศึกษาแบบบรูณาการที่พัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในสังคมพหุวัฒนธรรม
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา

การดำเนินการวิจัย: แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสร้างกรอบแนวคิดของหลักสูตร 2) การสร้างหลักสูตร 3) การประเมินเอกสารหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) นำหลักสูตรไปทดลองใช้ (ฉบับร่าง) 5) ปรับปรุงหลักสูตร (ฉบับร่าง) ระยะที่ 2 การใช้หลักสูตร (ฉบับปรับปรุง) และระยะที่ 3 การประเมินหลักสูตรใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นอาจารย์พยาบาล
จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดความรู้ด้านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมที่ผู้วิจัยดัดแปลงขึ้น 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ในการถอดบทเรียนภายหลังการอบรม 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการอบรม และ 4) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มการขยายผลหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Rank Test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: หลักสูตรการพัฒนาอาจารย์ในการจัดการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม มีโครงสร้าง 4 หน่วยการเรียน ได้แก่ การคิดอย่างเป็นระบบ สุนทรียสนทนา จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และสังคมพหุวัฒนธรรม รวม 18 ชั่วโมง และการทดสอบประสิทธิผลของหลักสูตรพบว่า คะแนนความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z = 2.86) และจากการสอบถามความคิดเห็นต่อการอบรมพบว่า อาจารย์พึงพอใจต่อหลักสูตรในระดับมากที่สุด ( = 4.75 S.D. = 0.46) เห็นว่าเป็นหลักสูตร
ที่บูรณาการสามารถนำไปใช้ได้ในบริบทที่หลากหลาย และมีความสุขในการอบรม มีอาจารย์นำไปขยายผลในการสอนและการพัฒนานักศึกษาต่อร้อยละ 60.71 และมีผลการประเมินคุณภาพการสอนของอาจารย์อยู่ระหว่าง 4.10-4.58
ข้อเสนอแนะ: ควรมีการขยายผลใช้พัฒนาอาจารย์ของสถาบันการศึกษาที่สนใจการจัดการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนษุย์ในสังคมพหุวัฒนธรรมต่อไป

Abstract : Objective: To formulate and evaluate a teacher-developing programme to promoteintegrative learning that would foster systematic thinking and humanitarian volunteerism in amulticultural society.
Design: Research and development.
Implementation: The research was conducted in three stages. Stage One, programmeformulation, was performed in five steps: (1) examining basic information and forming a conceptualframework for the programme; (2) formulating the programme; (3) evaluating programme-relateddocuments by experts; (4) piloting the (drafted) programme; and (5) improving the (drafted)programme. Stage Two was for the emended programme to be implemented. Stage Three involvedone-group, pre- and post-implementation evaluation of the programme.The subjects, obtained by means of purposive sampling, were 28 teachers of nursing.The research instruments consisted of (1) a form designed to measure systematic thinking and
humanitarian volunteerism in a multicultural society; (2) a group-interview recording tool forpost-lesson transcription; (3) a programme satisfaction questionnaire; and (4) a group-interviewrecording form for further development of the programme. The quantitative data were analysedin terms of percentage, means, standard deviation, and based on Wilcoxon Signed Rank Test.The qualitative data were analysed using the content analysis method.
Results: The teacher-developing programme developed in this study comprised four learningunits totalling 18 hours: systematic thinking, aesthetic dialogues, humanitarian volunteerism,and multicultural society. The efficiency evaluation of the programme showed a significant increasein the ‘knowledge’ domain score after the implementation of the programme (.05 (Z = 2.86)).An interview with the subjects showed that the majority were most satisfied with the programme( = 4.75 S.D. = 0.46). Overall, it was found that the programme’s focus on integrative learningcould be applied to various contexts and could promote joyful learning, with 60.71% of the programmecontents having been further developed to assist in students’ learning. Finally, an evaluationby the subjects rated the programme at between 4.10 and 4.58 on a five-point scale.
Recommendations: It is recommended that this programme be further developed forteachers interested in using integrative learning to improve their students’ systematic thinkingand humanitarian volunteerism in a multicultural society.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
เจริญสุข ศ, เพ็ชรคง จ, ชูเลิศ พ. การพัฒนาหลักสูตรสำหรับพัฒนาอาจารย์ในการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและจิตบริการด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์ในสังคมพหุวัฒนธรรม. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2016 Jan. 23 [cited 2024 Dec. 23];30(3):25-38. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/47167