สไปคส์ : การประยุกต์ใช้ในการดูแลจิตใจสตรีตั้งครรภ์ที่ทารกในครรภ์มีความผิดปกติแต่กำเนิด

Authors

  • ประคอง ชื่นวัฒนา พยาบาลชำนาญการพิเศษ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ทารกในครรภ์มีความผิดปกติแต่กำเนิด, สตรีตั้งครรภ์, การประคับประคองจิตใจ

Abstract

บทคัดย่อ: การนำแนวทางสไปคส์ (SPIKES) มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่ทารก
ในครรภ์มีความผิดปกติแต่กำเนิด มิใช่เป็นเพียงวิธีการสื่อสารเกี่ยวกับความผิดปกติแต่กำเนิด
ของทารกในครรภ์เรื่องไม่พึงประสงค์หรือข่าวร้ายแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเท่านั้น แต่ยัง
เป็นวิธีการประคับประคองทางด้านจิตใจสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวที่มีประสิทธิภาพด้วย
โดยควรเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัยความผิดปกติกำเนิดของทารกในครรภ์ และต่อเนื่อง
เป็นระยะๆ ตลอดการตั้งครรภ์ เนื่องจากการตรวจพบว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติแต่
กำเนิดส่งผลกระทบต่อจิตใจของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัว ทำให้เกิดความรู้สึก ผิดหวัง เสียใจ
เครียด และวิตกกังวล ตลอดการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์
และทารกในครรภ์ถ้าหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม พยาบาลผู้ดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่ทารก
ในครรภ์มีความผิดปกติแต่กำเนิดจึงมีบทบาทในการช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์และครอบครัว
ให้สามารถปรับตัวยอมรับความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม มีกำลังใจใน
การตั้งครรภ์ การใช้แนวทางสไปคส์ 6 ขั้นตอนซึ่งประกอบด้วย การเตรียมความพร้อม การ
ประเมินการรับรู้ การประเมินความต้องการข้อมูลเพิ่มเติม การให้ความรู้และข้อมูล การดูแล
ด้วยความเข้าใจความรู้สึก และการสรุปข้อมูลและวางแผนในอนาคต สามารถช่วยให้พยาบาล
ให้การประคับประคองจิตใจสตรีตั้งครรภ์ที่ทารกในครรภ์มีความผิดปกติแต่กำเนิดและ
ครอบครัวมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะการดูแล
ทางด้านจิตใจสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวของพยาบาลอย่างเป็นระบบ โดยช่วยให้พยาบาล
สามารถรวบรวมข้อมูลจากการใช้คำถามและการสังเกตพฤติกรรมแสดงออกของสตรีตั้งครรภ์
และครอบครัว และตอบสนองต่อพฤติกรรมแสดงออกของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวและ
ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม ทำให้พยาบาลมีความมั่นใจในการดูแลและ
สามารถให้การดูแลสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Abstract : SPIKES is a method of providing mental care for pregnant women
whose fetuses were diagnosed with prenatal disorders. It can be used not only to convey
unfavourable information but also to give palliative mental support to the pregnant women
and their families. The SPIKES method normally involves regular diagnosis of the fetus
throughout pregnancy. Detection of fetal disorders affects each mother and her relatives
psychologically, commonly resulting in disappointment, sadness, stress, and anxiety that
last throughout pregnancy. Such psychological effects, if not properly treated, could become
life-threatening. Nurses caring for such mothers, therefore, play a vital part in providing
them and their families with moral support, so that they can accept and properly cope with
their babies’ disorders.
SPIKES comprises six steps, namely, (1) preparation; (2) perception assessment;
(3) information need assessment; (4) provision of education and information; (5)
understanding-and compassion-based care; and (6) conclusion and planning for future
care. Designed to give moral support to pregnant women whose fetuses have prenatal
disorders, SPIKES involves a process of engaging family members in providing mental
care in a systematic manner. Using this method, the nurses in charge can collate information
through questions and behaviour observation, and respond to the pregnant women’s and
their relatives’ needs, as well as giving them appropriate information. This method can,
therefore, increase the nurses’ confidence and ability to efficiently take care of pregnant
women and their relatives.

Downloads

How to Cite

1.
ชื่นวัฒนา ป. สไปคส์ : การประยุกต์ใช้ในการดูแลจิตใจสตรีตั้งครรภ์ที่ทารกในครรภ์มีความผิดปกติแต่กำเนิด. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2016 Jan. 23 [cited 2024 Apr. 16];30(3):15-24. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/47168