ประสบการณ์การทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในระบบราชทัณฑ์ของไทย
Keywords:
ประสบการณ์การทำงาน, พยาบาลเรือนจำ, เรือนจำ, ทัณฑสถานหญิง, work experience, nurses in correctional institutions, prisons, women’s correctional institutionsAbstract
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสบการณ์การทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในเรือนจำหรือทัณฑสถานหญิง
การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)
การดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ พยาบาลจำนวน16 ราย ที่ปฏิบัติงานในเรือนจำหรือทัณฑสถานหญิงที่เข้าร่วมโครงการกำลังใจในพระดำริฯ จำนวน 11 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนเมษายน 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัย : พบ 5 ประเด็นหลัก คือ 1) คับข้องใจในการปฏิบัติบทบาทที่ขัดแย้งทั้งดูแลและควบคุม 2) ต้องเผชิญสถานการณ์เสี่ยง 3)ต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดหรืออุปสรรค 4) ค่าตอบแทนไม่เหมาะสมกับภาระงานที่ทำ และ 5) มีความมั่นคงในสถานภาพการทำงานแต่ขาดการพัฒนาเชิงวิชาชีพ
ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานของพยาบาล ปัญหาและอุปสรรคของการจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขัง รวมทั้งให้แนวทางสำหรับผู้บริหารของกรมราชทัณฑ์ในการปรับปรุงโครงสร้างและระบบการทำงานของสถานพยาบาลในเรือนจำ รวมถึงการจัดสรรอัตรากำลัง การพัฒนาเชิงวิชาชีพและการธำรงรักษา
พยาบาลให้คงไว้ในระบบราชทัณฑ์ต่อไป
Abstract: Objective: To study the work experience of nurses in women’s prisons or correctional institutions.
Design: Qualitative research.
Implementation: The subjects were 16 nurses working at 11 women’s correctional institutions participating in the Kamlangjai (Inspiration) Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Bajarakitiyabha. Data were collected via in-depth interviews between October 2012 and April 2013. The data were analysed using content analysis methods.
Results: The subjects identified the following issues as being related to their work: (1) frustration about their conflicting roles as caregivers and monitors; (2) likelihood to encounter risky situations; (3) necessity to work under pressure or to handle obstacles; (4) disproportion between their responsibilities and their salaries; and (5) a lack of professional development opportunities despite career security.
Recommendations: The study showed basic information about nurses’ experience with regard to the healthcare problems and obstacles facing the inmates. The results of this study could be used to assist correctional institutions’ administrators to create guidelines for the development of the institutions’ facilities and operational systems. In addition, the results could be applied to allocation of workforce, professional development, and sustenance of the nursing care service in correctional institutions.