ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ของผู้ป่วยบาดเจ็บจากการจราจรทางบก

Authors

  • ณรงค์ กลั่นความดี พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศิริราช และนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อรพรรณ โตสิงห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุพร ดนัยดุษฎีกุล รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • บรรเจิด ประดิษฐ์สุขถาวร อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผู้ป่วยบาดเจ็บจากการจราจรทางบก, การดูแล ณ จุดเกิดเหตุ, ประเภทของผู้นำส่ง, land traffic accident injury victims, first-aid care at accident scenes, type of people who transported the victims to hospital

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของการบาดเจ็บ ประเภทของผู้นำส่ง ระยะทางจากจุดเกิดเหตุถึงโรงพยาบาล การดูแล ณ จุดเกิดเหตุ การรับรู้ความรุนแรงของการบาดเจ็บ และระยะเวลาในการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บจากการจราจรทางบก

การออกแบบงานวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณาเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์

การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยบาดเจ็บการจราจรทางบกและผู้ส่ง ที่มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 165 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการทดสอบไคสแควร์

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยบาดเจ็บร้อยละ 77.6 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 33.02 ปี (SD ± 13.31 ปี) ยานพาหนะที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บเป็นรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 86.7 ระยะเวลาในการเข้าถึงบริการสุขภาพเฉลี่ย 76.17 นาที  ระยะทางจากจุดเกิดเหตุถึงโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระยะเวลาในการเข้าถึงบริการสุขภาพ (r = .38, p < .01) ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการดูแล ณ จุดเกิดเหตุเข้าถึงบริการสุขภาพเร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการดูแล (c2 = 12.42, p < .01) ผู้ป่วยกลุ่มที่ถูกนำส่ง โดยบุคลากรในชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเข้าถึงบริการสุขภาพเร็วกว่ากลุ่มที่ถูกนำส่งโดยบุคคลทั่วไป (c2 = 13.469, p < 0.01) ส่วนความรุนแรงของการบาดเจ็บ การรับรู้ ความรุนแรงของการบาดเจ็บของผู้นำส่ง ไม่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเข้าถึงบริการสุขภาพ

ข้อเสนอแนะ: ควรมีการพัฒนาระบบการนำส่งผู้ป่วยบาดเจ็บฉุกเฉินจากการจราจรให้เข้าถึงบริการได้ภายในระยะเวลามาตรฐาน ร่วมกับการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน ในการประเมินการบาดเจ็บและการติดต่อหน่วยงานเพื่อการนำส่งผู้บาดเจ็บได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

Abstract: Objective: To study the relationship between the degree of injury severity, type of people who transported the victims to hospital, distance between the scene of the accident and the hospital, first-aid service provided at the scene, perception of the severity of injury, and the amount of time between the accident and access to medical care.

Design: Descriptive correlational research.Implementation: The subjects were 165 victims injured in land traffic accidents and taken to a campus hospital in Bangkok to receive medical attention. Data were collected using a recording form and an assessment form. The data were analysed using descriptive statistics, Pearson’s Correlation Coefficient, and Chi-square testing.

Results: The major findings are as follows. The majority of the subjects (77.6%) were males averagely aged 33.02 years (SD ± 13.31 years). Most of the accidents (86.7%) involved motorcycles. The average medical care access time was 76.17 minutes, and the distance between the accident scene and the hospital had a positive relation to the medical care access time (r = .38, p < .01). The victims receiving first-aid care at the scene had quicker access to medical care than those not receiving it (χ2 = 12.42, p < .01), and the victims transported to hospital by emergency rescuers had quicker access to medical care
than those taken to hospital by ordinary people (χ2 = 13.469, p < 0.01). On the other hand, the severity of the injury and the injury severity perception of the people who transported the victims to hospital showed to significant relation to medical care access time.

Recommendations: It is suggested that an efficient accident victim transport system be developed so as to shorten medical care access time. Meanwhile, a campaign to educate ordinary people on initial injury assessment and on making quick contact with emergency units is recommended, to ensure safe transport and prompt medical treatment for accident victims.



Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
กลั่นความดี ณ, โตสิงห์ อ, ดนัยดุษฎีกุล ส, ประดิษฐ์สุขถาวร บ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ของผู้ป่วยบาดเจ็บจากการจราจรทางบก. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2016 Jan. 23 [cited 2024 Nov. 22];30(3):54-66. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/47176