ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและสามี ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จำนวนของการคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย

Authors

  • ปิยะพร กองเงิน Thammasat University
  • วิไลลักษณ์ วงศ์อาษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กาญจนา สมบัติศิรินันท์ งานการพยาบาลตรวจโรคสูติ–นรีเวชกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์

Keywords:

โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, สตรีตั้งครรภ์, สามี, เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, ทารกคลอดก่อนกำหนด, ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย, empowerment program, health promoting behaviors, pregnant women, spouse, preterm labor, preterm birth, low

Abstract

 Objective: To study how an empowerment programme for pregnant
women with preterm birth risks and their husbands could impact
their health-promoting behaviour,number of preterm births
and low birth-weight infants.

Design: Experimental two-group research with a pre-test and
a post-test.
Procedure: The subjects consisted of 116 purposively sampled
pairs of pregnant women and their husbands. These sampled
women were receiving antenatal care at Thammasat University
Hospital and had been diagnosed with preterm birth risks.
The subjects were equally divided into a control group and
an experimental group.Whilst the control group was given
the hospital’s standard care programme,
the experimental group received the preterm birth
prevention programme.
The research instruments were (1) a form to evaluate
pregnant women’s health-promoting behaviour; and
(2) a form to evaluate the husbands’ behaviour
in promoting their pregnant wives’ health.
The data were analysed using descriptive statistics,
T-test and covariance analysis.
Results: After the experiment, the experimental group
displayed a significantly higher average score
on health-promoting behaviour for preterm birth prevention
than the control group (p < .05).
The average score of the experimental group husbands
on their behaviour in promoting their pregnant wives’ health
was also significantly higher than that of the control
group husbands (p < .05). Likewise, the number of
preterm births and low birth-weight
babies was significantly lower (p < .05)
in the experimental group than in the control group.

Recommendations: The study shows that this empowerment
programme effectively improved both the pregnant women’s and
their husbands’ health-promoting behaviour, as well as reducing
the number of preterm births and low birth-weight babies.
It is recommended that this empowerment programme
be included as an antenatal care service.

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่
สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและสามี ต่อพฤติกรรม
ส่งเสริมสุขภาพ จำนวนของการคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
การออกแบบวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง 2กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยเป็นสตรี
ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด และสามี ที่มาฝากครรภ์
ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
จำนวน 116 คู่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 58 คู่ กลุ่มควบคุม 58 คู่
กลุ่มทดลองสตรีตั้งครรภ์และสามีได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ
ในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด กลุ่มควบคุมได้รับความรู้
ตามปกติจากโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
(1) แบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์
(2) แบบประเมินพฤติกรรมของสามีในการส่งเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณา การทดสอบค่าที
และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
ผลการวิจัย: เมื่อสิ้นสุดการทดลองสตรีตั้งครรภ์กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สามีกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
มีจำนวนการคลอดก่อนกำหนด่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และ จำนวนการคลอดทารกแรกเกิด
น้ำหนักน้อยต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาแสดงว่าโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ
สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ช่วยลดจำนวนของการคลอด
ก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยได้ จึงเสนอแนะให้
จัดโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ขึ้นในแผนกฝากครรภ์

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Additional Files

Published

2016-10-31

How to Cite

1.
กองเงิน ป, วงศ์อาษา ว, สมบัติศิรินันท์ ก. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและสามี ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จำนวนของการคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2016 Oct. 31 [cited 2024 Dec. 23];31(3):67-82. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/48694