ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง

Authors

  • กิจภรณ์ เอื้อตรงจิตต์ พยาบาลวิชาชีพ แผนกศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  • อรสา พันธ์ภักดี รองศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ อาจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง, ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, การรับรู้สมรรถนะของตนเอง, advanced practice nurses, professional satisfaction, professional performance perception

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฏีสองปัจจัยของเฮอร์กเบอร์ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงที่ได้รับวุฒิบัตรจากสภาการพยาบาลสาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์–ศัลยศาสตร์ และสาขาการพยาบาลเด็ก จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงโดยเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการส่งแบบสอบถามถึงกลุ่มตัวอย่างทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ Spearman rank correlation, independent t-test, oneway ANOVA และPost Hoc: LSDผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติงาน (r = .24, p < .01) ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในบทบาทของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงที่ต่างกันมีความเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน(p = .02) นอกจากนี้ ยังพบว่า ระดับของสถานที่ปฏิบัติงานมีความเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจด้านแรงจูงใจของบุคคล (p = .04) และระยะเวลาในการปฏิบัติงานในบทบาทของผปู้ ฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงมีความเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจด้านสิ่งแวดล้อม (p = .01)โดยสรุปความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงมีความเกี่ยวข้องกับการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติงาน สถานที่ปฏิบัติงาน และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงสามารถปฏิบัติงานได้อย่างยั่งยืน ผู้บริหารองค์กรจึงควรพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงสามารถปฏิบัติงานได้ตามบทบาทอย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ: ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง, ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, การรับรู้สมรรถนะของตนเอง

 

Abstract

This descriptive research was conducted for the purpose of studying advanced practice nurses’ professional satisfaction and factors contributing to such satisfaction, based on Herkberk’s bi-variate theoretical framework. The sample subjects were 190 advanced practice nurses having received certificates from the Nurses’ Council in the fields of Medical Nursing, Surgical Nursing and Child Nursing.

The research instruments were i) a Personal Profile Questionnaire; ii) a Professional Performance Perception Questionnaire; and iii) a Professional Satisfaction Questionnaire for advanced practice nurses. The data were collected through the respondents’ answers to the questionnaires, which were sent to them and returned to the researcher by post. The analysis of the data was based on Spearman’s Rank Correlation, as well as independent T-test, Oneway ANOVA and Post Hoc: LSD. The research showed that the subjects’ level of professional satisfaction was moderate, and that there was a correlation between their professional satisfaction and their professional performance perception (r = .24, p < .01). Next, a correlation was found between their varying lengths of service as advanced practice nurses and their professional satisfaction levels (p = .02). In addition, the research revealed a correlation between types of workplace and individual motivational satisfaction (p = .04). Finally, the lengths of service as advanced practice nurses and their levels of environmental satisfaction also correlated (p = .01). In sum, there were significant correlations between advanced practice nurses’ professional satisfaction and the factors of professional performance perception, workplaces and lengths of service.

Therefore, in order to provide sustainable support for advanced practice nurses, it is recommended that organisations’ administrators focus on improving workplaces’ environment to be conducive to advanced practice nurses’ enhancement of their professional competency.

Keywords : advanced practice nurses, professional satisfaction, professional performance perception

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
เอื้อตรงจิตต์ ก, พันธ์ภักดี อ, ศิริพิทยาคุณกิจ อ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Jan. 29 [cited 2024 Dec. 23];27(2):5-16. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/5363