การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ในสถานประกอบการ

Authors

  • สุสัณหา ยิ้มแย้ม รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิกุล ทรัพย์พันแสน พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหานครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิยาลัยเชียงใหม่
  • ศรีเวียง ชุ่มปัน พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหานครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิยาลัยเชียงใหม

Keywords:

สถานประกอบการ, มารดาที่ทำงาน, การสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา, workplaces, working mothers, promoting breastfeeding in workplaces

Abstract

บทคัดย่อ

การกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการมักถูกมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงบุตร ด้วยนมมารดาอย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้เพื่อพัฒนาการสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในสถานประกอบการและเปรียบเทียบอัตราการเลี้ยงบุตรด้วย นม มารดาระยะก่อนและหลังการดำเนินงาน สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมี 2 แห่ง การดำเนินโครงการเริ่มตั้งแต่การร่วมค้นหาปัญหา ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินงาน และร่วม ติดตามประเมินผล การรวบรวมข้อมูลหลักโดยการสัมภาษณ์สตรีที่เข้าร่วมโครงการเกี่ยว กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใน 6 เดือนแรกหลังคลอดกับในระยะก่อนดำเนินงาน 32 คน และในระยะหลังดำเนินงาน 21 คน การสนทนาแบบไม่เป็นทางการกับตัวแทนผู้บริหาร สถานประกอบการ หัวหน้างานและการสังเกตการจัดกิจกรรมรณรงค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติบรรยาย และทดสอบไคสแควส์

ผลการวิจัยได้รูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ซึ่งมีคณะทำงานฯ รับผิดชอบกิจกรรมรณรงค์การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในสถานประกอบการ ตามแนวคิด โครงการสถานที่ทำงานสายสัมพันธ์ของสหพันธ์ส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาโลก และโครงการส่งเสริมการจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานประกอบกิจการของรัฐบาลไทย หลังการ ดำเนินงาน พบว่า อัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาของสตรีในสถานประกอบการสูงกว่า ระยะก่อนการสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งอัตราการ เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน (p <.01) และอัตราการเลี้ยงบุตร ด้วยนมมารดาร่วมกับนมผสมอย่างน้อย 6 เดือน (p <.001)

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยนี้ ควรกระตุ้นให้มีการสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนม มารดาในสถานประกอบการทุกแห่ง โดยคำนึงถึงความแตกต่างกันตามบริบทของสถาน ประกอบการ และเพิ่มกิจกรรมการให้คำแนะนำและช่วยเหลือมารดาที่ทำงานเป็นรายบุคคล ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ หลังคลอด ตลอดจนกลับมาทำงาน จนกระทั่งหย่านมมารดา รวมทั้ง ควรมีการศึกษาติดตามถึงผลลัพธ์ในระยะยาวต่อไป

คำสำคัญ : สถานประกอบการ, มารดาที่ทำงาน, การสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา

 

Abstract

Returning to workplaces after a maternity leave is usually considered an interruption to breastfeeding, unless proper support is given by the workplaces. The main objectives of this operational-participatory research project were to develop ways of promoting breastfeeding in workplaces and to make a comparison between the pre-experimental and post-experimental rates of breastfeeding in workplaces. The project, in which two workplaces participated, started with attempts to identify problems, cooperative planning, cooperative implementation and cooperative evaluation. The primary data were collected through (i) interviews with female participants regarding breastfeeding during the six months after birth-giving, 32 before the project and 21 after the project; (ii) informal conversations with the workplaces’ administrators and section heads; and (iii) observations of relevant campaigning activities. Data analysis was based on descriptive statistics and chi-square testing.

The research revealed practical ways of promoting breastfeeding, which conformed to the assigned working group’s campaign for breastfeeding in workplaces jointly initiated by the Mother-Child Relationship Project of the Global Union for Breastfeeding Promotion and the Thai Government’s Breastfeeding Corners in Workplaces Project. After project implementation, the rates of breastfeeding in workplaces increased significantly. The frequency of feeding only breast milk and feeding breast milk mixed with other milks to babies for at least 6 months increased by p<.01 and p<.001, respectively.

Based on this research, it is recommended that promotion of breastfeeding in workplaces be stimulated, with differences in workplaces’ contexts taken into consideration. In addition, counselling and assisting activities should be conducted to individually assist working mothers from their pregnancy to their post-delivery period, as well as for their return to work and their children’s weaning. Also, long-term follow-ups are strongly recommended.

Keywords : workplaces, working mothers, promoting breastfeeding in workplaces

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
ยิ้มแย้ม ส, ทรัพย์พันแสน พ, ชุ่มปัน ศ. การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ในสถานประกอบการ. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Jan. 29 [cited 2024 Nov. 15];27(2):122-33. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/5380