การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินการจัดการศึกษาของหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต
Keywords:
ตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินการจัดการศึกษา, หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต, curricular appraisal indicators, Bachelor of Nursing programmesAbstract
บทคัดย่อ
การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินการจัดการศึกษาของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนงาน การกำกับ ติดตาม และการประเมินผลการดำเนินงานด้านการ จัดการศึกษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินการจัดการศึกษา ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นใน ด้านความเที่ยง (reliability) และความตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) ประชากรตัวอย่าง เป็นบัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2552 จำนวน 161 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินการจัดการศึกษาของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและความเที่ยงเชิงโครงสร้างโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล
ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมิน การจัด การศึกษาของหลัก สูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ได้ตัวบ่งชี้หลัก 9 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้ย่อย 35 ตัวบ่งชี้ ผลการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ที่พัฒนา ขึ้นพบว่า โมเดลการวัดตัวบ่งชี้หลักทั้ง 9 โมเดล และโมเดลการวัดองค์ประกอบการจัดการศึกษา ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมีความตรงเชิงโครงสร้าง ค่านํ้าหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ หลักทั้ง 9 ตัวบ่งชี้ มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) โดยมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ใน ระดับปานกลางถึงสูง (.61-.85) และมีการแปรผันร่วมกับองค์ประกอบการจัดการศึกษาของ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในระดับปานกลางถึงสูง (R2=36.97%-72.37%) ตัวบ่งชี้ที่มี นํ้าหนักความสำคัญมากที่สุดคือ การพัฒนาส่วนบุคคล รองลงมาคือ การวัดและการประเมินผล การบริหารจัดการ ปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน วิธีการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุน ทางวิชาการ การสอนของอาจารย์ เนื้อหาหลักสูตร และการบริการ/สิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประเมินการจัดการศึกษาของ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของหลักสูตร พยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ : ตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินการจัดการศึกษา, หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
Abstract
Development of curricular appraisal indicators for Bachelor of Nursing programmes is essential to their curricular planning, monitoring, follow-up and assessment. This research project had two principal objectives: (i) to develop curricular appraisal indicators for Bachelor of Nursing programmes; and (ii) to subject the developed indicators to construct reliability and validity tests. The sample consisted of 161 nurses who had graduated in 2009 from Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University. The data were collected through a curricular appraisal questionnaire designed for Bachelor of Nursing programmes. The construct reliability and validity was tested by Lisrel’s confirmatory factor analysis programme.
Based on this research project, nine primary and thirty-five secondary indicators were developed. A quality test on all of these indicators showed that the nine primary indicators and the Curricular Component Measurement Model for Bachelor of Nursing programmes exhibited construct validity. The nine primary indicators showed a significant factor-loading value of p < .01. In addition, they displayed medium to high standardised factor-loading values (.61-.85) and also medium to high covariation with the standardised factor-loading values of Bachelor of Nursing programmes (R2=36.97%-72.37%).
The indicator identified with the highest importance weight was ‘Personal Development’, followed by ‘Measurement and Evaluation’, ‘Administration’, ‘Learning Support Variables’, ‘Learning/Teaching Management’, ‘Academic Support’, ‘Lecturers’ Teaching Styles’, ‘Curricular Contents’ and ‘Services and Facilities’, respectively.
Based on the findings, application of the indicators developed in this study to the appraisal of Bachelor of Nursing programmes is recommended in order to improve their curricular quality.
Keywords : curricular appraisal indicators, Bachelor of Nursing programmes