ผลลัพธ์ของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในการดูแลสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม
Keywords:
ผลลัพธ์, ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง, สตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม, efficiency, advanced practice nurses, breast cancer patientsAbstract
บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) ในการ ดูแลผู้ป่วยสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม ทั้งในแง่ของโครงสร้าง การบริการและการจัดระบบบริการสุขภาพ ผลลัพธ์ และ ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึงประโยชน์ของการมี APN ต่อผู้ป่วยองค์กร วิชาชีพ และระบบสุขภาพ รูปแบบ การวิจัยใช้ผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ APN ที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 1 ราย เวชระเบียนของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมในปี พ.ศ. 2549-2552 จำนวน 139 ราย สตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม หลังผ่าตัดและอยู่ระหว่างรับยาเคมีบำบัด จำนวน 60 ราย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติงานร่วมกับ APN 6 ราย รวบรวม ข้อมูลผลลัพธ์เชิงปริมาณ เกี่ยวกับจำนวนวันนอนโรงพยาบาลภายหลังผ่าตัด การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการ ผ่าตัดเต้านม และจากการได้รับเคมีบำบัด ความต่อเนื่องของการได้รับเคมีบำบัด ความสามารถในการดูแลตนเอง คุณภาพชีวิต และความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติงานของ APN รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวทาง การสังเกต และสัมภาษณ์ โครงสร้างของสถานบริการสุขภาพการบริการและการจัดระบบบริการสุขภาพของ APN ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับผิดชอบ และประโยชน์ของ APN วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า หลังมี APN ปฏิบัติงานในทีม สตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมมีภาวะแทรกซ้อนหลังรับเคมี บำบัดน้อยลง สามารถรับเคมีบำบัดได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้น กลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลหลังการผ่าตัด และหลังรับเคมีบำบัดลดลงในแต่ละปีตามระยะเวลาประสบการณ์ของ APN อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อมี APN เป็นผู้นำในการจัดการดูแลแล้ว ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเอง ความพึงพอใจในบริการระดับมาก และมีคุณภาพชีวิตระดับสูง ส่วนผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะแพทย์มีความเห็นว่าการมี APN ในระบบสุขภาพเป็นเรื่อง ที่มีประโยชน์มาก ในด้านการให้ข้อมูล เพื่อช่วยผู้ป่วยในการตัดสินใจรับการรักษา การดูแลตนเอง การเฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาที่รุนแรง การค้นพบภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา อย่างทันท่วงที อีกทั้งเป็นที่ปรึกษาของผู้ป่วยได้ตลอดเวลา ซึ่งได้ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต สามารถเผชิญความเครียด จากโรคและการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพผลการวิจัยสนับสนุนประโยชน์ของการมี APN ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระบบบริการสุขภาพ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรสร้างความเข้าใจกับผู้บริหารและผู้กำกับนโยบายในการใช้และพัฒนาสมรรถนะของ APN ให้เต็มศักยภาพ เพี่อการพัฒนาการบริการผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีคุณภาพในระบบสุขภาพคำสำคัญ : ผลลัพธ์, ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง, สตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม AbstractThis research study aimed to investigate the efficiency of advanced practice nurses (to be referred to as APNs) in caring for breast cancer patients. The research addressed 6 aspects of APNs’ performance, namely, (i) administrative structure; (ii) service providing; (iii) healthcare service management; (iv) outcome; (v) stakeholders’ opinions; and (vi) benefits of APNs’ service to the patients, professional organisation and healthcare system.This mixed-method study adopted both quantitative and qualitative approaches. The sample consisted of 1 APN who cared for 139 breast cancer patients during 2006-2009, the medical records of those 139 breast cancer patients, 60 breast cancer patients having undergone mastectomy and receiving chemotherapy, and 6 staffers working with APNs.The types of quantitative data collected consisted of the patients’ (i) number of days of post-mastectomy hospitalization; (ii) post-mastectomy and chemotherapy complications; (iii) continuity of chemotherapy; (iv) self-caring ability; (v) quality of living; and (v) satisfaction with APNs’ performance. The qualitative data were collected through observation and interviews, which focused on (i) health service providers’ administrative structure; (ii) APNs’ service and healthcare service management for the breast cancer patients under their care; and (iii) benefits of APNs. Descriptive and referential statistics were used to analyse the quantitative data, whilst content analysis was applied to the qualitative data.The significant findings of the study are as follows. First, with APNs on the caregiving team, the breast cancer patients developed less complications after receiving chemotherapy, and were able to receive more regular chemotherapeutic treatment. Second, a statistically significant decrease in the rate of post-mastectomy and post-chemotherapy re-hospitalization was observed each year during the APNs’ operation. Third, with the APNs leading the caregiving programme, the patients displayed a high level of self-care ability and quality of living, as well as a high degree of satisfaction. Fourth, most of the stakeholders, especially physicians, considered APNs as being very helpful in providing patients with information pertaining to treatment, self-care, prevention of complications resulting from intense treatment, and detection of complications at an early stage, all of which could lead to prompt medical treatment. The APNs, also serving as patients’ consultants, played an important part in saving their lives and enabling them to cope efficiently with stress related to their disease and treatment.The findings confirmed the benefits of involving APNs in the healthcare system’s care for breast cancer patients. It is, therefore, recommended that mutual understanding be reached between administrators and policy-makers for the purpose of maximizing APNs’ potential. This, in turn, would lead to improvement in the quality of caregiving services for breast cancer patients.Keywords : efficiency, advanced practice nurses, breast cancer patientsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
หาญประสิทธิ์คำ ข, นามจันทรา ร, หนุเจริญกุล ส, ศุภเมธาพร ป, นทีธนสมบัติ ก, สร้อยวงศ์ ป. ผลลัพธ์ของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในการดูแลสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Jan. 30 [cited 2024 Nov. 22];27(3):45-63. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/5459
Issue
Section
Research Articles