ผลของการทบทวนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการทำแผลกดทับต่อความรู้ และทักษะการปฏิบัติ และความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2
Keywords:
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การทำแผลกดทับ, นักศึกษาพยาบาล, computer-mediated lesson, pressure-sore dressing, nursing studentsAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนทบทวนโดยใช้บท เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการทำแผลกดทับต่อความรู้ ทักษะการปฏิบัติ และความคิดเห็น ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2554 คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 60 ราย จับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีคะแนนความรู้ เรื่องการทำแผลกดทับ ก่อนเข้าร่วมวิจัยเท่ากัน แล้วจับสลากเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 รายโดยกลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยอาจารย์ร่วมกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนและกลุ่มควบคุมได้รับการสอนโดยอาจารย์ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เอกสารประกอบการสอน แบบประเมิน ความรู้ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ และแบบประเมินความคิดเห็น วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
1. คะแนนเฉลี่ยความรู้ของกลุ่มทดลองภายหลังการทบทวนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนสูงกว่าคะแนนก่อนได้รับการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2. คะแนนเฉลี่ยความรู้ภายหลังเข้าร่วมการวิจัยของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. คะแนนเฉลี่ยทักษะการปฏิบัติภายหลังเข้าร่วมการวิจัยของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการทำแผลกดทับในภาพรวมอยู่ใน ระดับดี และความพึงพอใจในการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้เกิดประสิทธิผลทั้ง ทางด้านความรู้ และทักษะในการปฏิบัติของนักศึกษา จึงควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มี การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ควบคู่กับการสอนของอาจารย์ในรูปแบบปกติ จะเป็นการ เพิ่มโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพและความต้องการของนักศึกษา พยาบาลต่อไป
คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การทำแผลกดทับ, นักศึกษาพยาบาล
Abstract
This experimental research study was conducted to examine outcomes of using a computer-mediated review lesson on pressure-sore dressing as observed in second-year nursing majors’ knowledge, practical skills and opinions. The sample consisted of 60 second-year nursing majors enrolled in the academic year 2011 in the Faculty of Nursing, Thammasat University. The subjects were divided equally into an experimental group and a controlled group. The experimental group was given a computermediated lesson in addition to regular classroom lectures, whereas the controlled group received regular classroom lectures and lecture handouts.
The instruments used in the research consisted of a computer-mediated lesson, evaluative lecture handouts, a pressure-sore dressing skill assessment form and a student opinion survey form. The data were analysed based on descriptive statistics and T-test statistics.
The study produced the following results. Firstly, the average score of the subjects in the experimental group was significantly higher after receiving a computer-mediated lesson than before the experiment (0.01). Secondly, the average score of the experimental group was significantly higher than that of the controlled group (0.01). Thirdly, the average practical skill score of the experimental group was significantly higher than that of the controlled group (0.01). Finally, the majority of the subjects displayed good opinions towards using the computer-mediated lesson and highest satisfaction with this technique.
The above findings support the idea of applying educational technologies, including computer-mediated lessons, to classroom lectures on dressing pressure sores. Not only can this method enable students to review lessons and comprehend the sore-dressing steps more clearly, but it also encourages students to learn more autonomously.
Keywords : computer-mediated lesson, pressure-sore dressing, nursing students