ผลของการจัดการความปวดแบบประคบเย็นร่วมกับโปรแกรมการออก กำลังกายต่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

Authors

  • สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จ. สุราษฎร์ธานี
  • วิภา แซ่เซี้ย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เนตรนภา คู่พันธวี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

การฟื้นฟูสภาพ, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ความปวด, การประคบเย็น, โปรแกรมการออกกำลังกาย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการความปวด แบบประคบเย็นร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกาย ต่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งประเมินจากความสามารถในการออกกำลังกาย ได้แก่ ความสามารถ ในการเคลื่อนไหวข้อเข่า ความสามารถในการเดิน และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 26 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินระดับความปวด แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการออกกำลังกาย อุปกรณ์วัดพิสัยการเคลื่อนไหวข้อ (Goniometer) และแบบบันทึก ความสามารถในการเดิน วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติทีอิสระ ส่วนสมมุติฐานการวิจัยวิเคราะห์ด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แบบวัดซํ้า และสถิติความแปรปรวนสองทางแบบวัดซํ้า

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความปวดตํ่ากว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเข่า และความสามารถการเดินสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ดังนั้นพยาบาลควรนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ในการพยาบาล ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดให้เร็วยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : การฟื้นฟูสภาพ, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ความปวด, การประคบเย็น, โปรแกรมการออกกำลังกาย

 

Abstract

This experimental research project attempted to study the application of cold-press massage to exercise programmes and its effects on patients’ recovery from total knee replacement surgery. The degree of recovery was assessed according to the patients’ ability to perform different types of physical exercise, namely, knee movement, walking, and quadricipital strength. The sampled population consisted of a total of 52 patients having received total knee replacement surgery. The population was divided equally into an experimental group and a controlled group. To collect data, four instruments were used, namely, (i) a pain evaluation form; (ii) an exercise self-performance awareness evaluation form; (iii) a goniometer; and (iv) a walking ability recording form. The personal and general data were analysed using descriptive statistics, Chi-Square statistics and independent T-test, whilst the research hypotheses were tested using a One-Way Repeated Measures design and a Two-Way Repeated Measures design.

According to the study, the experimental group subjects perceived less pain, but displayed significantly higher levels of self-performance, knee movement and walking ability (p = <.01) than those in the controlled group. Nurses caring for total knee replacement surgery patients are, therefore, advised to apply such findings to accelerate thepatients’ recuperation.

Keywords : recuperation, total knee replacement surgery, pain, cold-press massage, exercise programmes

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
เอี่ยมจันทร์ประทีป ส, แซ่เซี้ย ว, คู่พันธวี เ. ผลของการจัดการความปวดแบบประคบเย็นร่วมกับโปรแกรมการออก กำลังกายต่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Jan. 30 [cited 2024 Dec. 23];27(3):77-90. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/5465