สถานการณ์โรคซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยงโดยการตรวจคัดกรอง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Keywords:
โรคซึมเศร้า, กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า, การตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้า, depression, risk groups, pre-screeningAbstract
บทคัดย่อ โรคซึมเศร้าเป็นอาการที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป และพบได้มากในผู้ใช้ บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ อาการซึมเศร้าในประชากรเหล่านี้มักไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย โรคและรักษาอย่างถูกต้อง ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองมีอาการของโรคนี้ เพราะอาการ ซึมเศร้ามักมีอาการทางกายร่วมด้วย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้เคยรับบริการสุขภาพ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 แห่ง ในอำเภอเมือง จังหวัด เชียงราย และมีอาการนอนหลับไม่ปกติร่วมด้วยนานอย่างน้อย 1 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและสุขภาพทั่วไป แบบคัด กรองโรคซึมเศร้า การเก็บข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์และให้ประเมินอาการตนเอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.89 มีอาการของโรคซึมเศร้า เป็นชาย ร้อยละ 33.58 หญิงร้อยละ 66.42 อายุเฉลี่ย 45 ปี (SD= 9.5) ส่วนใหญ่มีสถานภาพ สมรสคู่ร้อยละ 68.63 มีการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 69.85 มีการดื่มสุราเป็น ประจำร้อยละ 25.7 มีความคิดฆ่าตัวตายร้อยละ 18.6 และมีโรคเรื้อรังทางกายร้อยละ 15.4 ได้รับการส่งต่อไปรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาจากโรงพยาบาลจิตเวช ร้อยละ 4.90 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตที่เกิดจากการดื่มสุราร้อยละ 25.0 โรคซึมเศร้าระดับปาน กลางร้อยละ 20.0 โรคซึมเศร้าระดับรุนแรงที่ไม่มีอาการทางจิตร้อยละ 15.0 โรคซึมเศร้า เรื้อรังร้อยละ 15.0 โรคการปรับตัวผิดปกติร้อยละ 15.0 และโรคซึมเศร้าชนิดอื่นๆ ร้อยละ 10.0
ผลการวิจัยครั้งนี้ บุคลากรสุขภาพที่ทำงานในชุมชนควรตระหนักถึงการตรวจคัดกรอง ประเมินอาการของโรคซึมเศร้า และให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ที่มีอาการได้รับการบำบัด ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก การส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาในโรงพยาบาลอย่างเหมาะสม รวดเร็ว สามารถป้องกันความรุนแรงจนเป็นโรค หรือป้องกันความเรื้อรังของโรคได้
คำสำคัญ : โรคซึมเศร้า, กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า, การตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้า
Abstract
Depression is a commonly observed condition, especially amongst patients seeking primary healthcare services. In most cases, depression in these patients goes undiagnosed and untreated, leaving most of them unaware of having developed it, as depression is often found along with some physical symptoms.
This research project attempted to investigate the situation of depression in communities. The sampled population included patients who had been suffering from insomnia for at least one year and had received healthcare services at three Subdistrict Health Promotion Hospitals in Chiang Rai Provinces. The instruments used in the research were a personal health and profile recording form and a depression screening form. The data were collected through interviews and self-evaluation, and analysed based on descriptive statistic methods.
The research produced the following results. Out of the 1,049 healthcare service recipients studied, 408 (38.89%), which were divided into 33.58% male and 66.42% female averagely 45 years old (SD=9.50), exhibited symptoms of depression. The majority of these depression-exhibiting patients were married (68.63%), with an elementary school education (69.85%), whilst smaller portions admitted to regular consumption of alcohol (25.70%), suicidal attempts (18.60%), and chronic diseases (15.40%). A very small number of these patients (4.90%) had received further psychiatric treatment in specialised hospitals. Of this small portion, 25% had been diagnosed with alcohol-induced mental disorders, 20% with medium-degree depression, 15% with serious depression without psychological symptoms, 15% with chronic depression, 15% with adjustment abnormalities and 10% with other forms of depression.
Based on the results above, healthcare personnel working in communities are advised to take depression pre-screening seriously, as it could help identify depression symptoms at an early stage, which could lead to prompt and appropriate treatment or transfer of the patients to hospitals. This action could prevent the symptoms from developing into long-term or chronic disorders.
Keywords : depression, risk groups, pre-screening