ผลของการให้คำปรึกษาเน้นการปรับพฤติกรรมความคิดต่อภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Authors

  • บุษบา คล้ายมุข พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Keywords:

โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเน้นการปรับพฤติกรรมความคิด, ภาวะ ซึมเศร้า, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, perception adjustment consultation programme, state of depression, depression patient

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเน้นการปรับ พฤติกรรมความคิด และเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษากับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งจำนวน 30 ราย จับคู่ตาม คุณลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และคะแนนภาวะซึมเศร้าสุ่มตัวอย่าง อย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเน้นการปรับพฤติกรรมความคิด และแบบประเมิน ภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้า (Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกับช่วงเวลา ของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) กลุ่มทดลองมีภาวะซึมเศร้าภายหลัง การได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเน้นการปรับพฤติกรรมความคิดและใน ระยะติดตามผลตํ่ากว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และกลุ่มทดลอง มีภาวะซึมเศร้าตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) จากผลการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการนำโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเน้นการ ปรับพฤติกรรมความคิดไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่มีภาวะซึมเศร้าร่วม ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการพยาบาลผู้ป่วย

คำสำคัญ : โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเน้นการปรับพฤติกรรมความคิด, ภาวะ ซึมเศร้า, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

 

Abstract

This quasi-experimental research project attempted to study the impact that individual consultation on perception adjustment had on patients’ state of depression. The study was conducted on a purposive sample of 30 depression patients at a hospital in Central Thailand. The subjects were then randomly and equally divided into an experimental group and a controlled group. Each member of one group was paired up with one member of the other group based on their similarity in age, education level and state of depression. The members of the experimental group were given a caregiving programme that emphasised perception adjustment, whilst those of the controlled group received normal care. The instruments used to collect data were a personal profile recording form and a depression evaluation form. To analyse the data, descriptive statistics and a Repeated Measure design were employed.

The study showed the following results. Firstly, the experimental group’s average pre- and post-experimental depression scores differed significantly (F4,112 = 448.756, p=.000). Furthermore, the experimental group’s and controlled groups average depression scores recorded at the same time also differed significantly (F4,112 = 35.651, p=.001).

It can be recommended, based on the findings, that individual consultation on perception adjustment be applied, with context-based modifications, to the caregiving programmes for depression patients, both in hospital and community contexts.

Keywords : perception adjustment consultation programme, state of depression, depression patient

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
คล้ายมุข บ. ผลของการให้คำปรึกษาเน้นการปรับพฤติกรรมความคิดต่อภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Jan. 30 [cited 2024 Dec. 23];27(3):106-15. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/5473