ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ ต่อความวิตกกังวล ระดับความเจ็บปวดและ พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก

Authors

  • ปาริฉัตร อารยะจารุ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุร
  • เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ฉวีวรรณ อยู่สำาราญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วรรณา พาหุวัฒนกร อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

โปรแกรมการให้ความรู้, ความวิตกกังวล, ความเจ็บปวด, พฤติกรรมการเผชิญ, ความเจ็บปวดในระยะคลอด, มารดาวัยรุ่นครรภ์แรก, educating programme, anxiety, pain, childbirth pain-coping behaviour, teenage first-time mothers

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อความ วิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด ระดับความเจ็บปวด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์แรกอายุครรภ์ 37-39 สัปดาห์ ที่มาฝากครรภ์ในแผนกฝากครรภ์และมาคลอดที่ห้องคลอด โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำานวน 50 คน แบ่งเป็น กลุ่มควบคุมจำานวน 25 คน ได้รับการให้ความรู้ตามปกติจากพยาบาล วิชาชีพ และกลุ่มทดลองจำานวน 25 คน ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้จากผู้วิจัยร่วมกับการให้ความ รู้ตามปกติจากพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด แบบวัดความเจ็บปวด (Visual Analogue Scale) และแบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์และสถิติฟิชเชอร์ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนน ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด ความเจ็บปวด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด หลังการ ทดลองระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยการทดสอบค่าที (independent t-test)

ผลการศึกษาพบว่ามารดาวัยรุ่นในกลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด และคะแนนความเจ็บปวดในระยะคลอดน้อยกว่ามารดาวัยรุ่นในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำาคัญทาง สถิติ (p < .05, p < .001 ตามลำาดับ) มีคะแนนพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ดีกว่า มารดาวัยรุ่นในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลในหน่วยฝากครรภ์และในห้องคลอดควรนำาโปรแกรม การให้ความรู้ไปใช้ในการดูแลหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล ลดความเจ็บปวดและ ช่วยให้สามารถเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดได้ดีต่อไป

คำสำคัญ : โปรแกรมการให้ความรู้, ความวิตกกังวล, ความเจ็บปวด, พฤติกรรมการเผชิญ, ความเจ็บปวดในระยะคลอด, มารดาวัยรุ่นครรภ์แรก

 

Abstract

The main objective of this experimental study was to examine the impact that a educating programme had on teenage first-time mothers’ childbirth anxiety, pain levels and pain-coping behaviour. This study was conducted on a sample of 50 teenage first-time mothers in their 37th to 39th week of pregnancy, who had received pre-natal care and had their babies delivered at the Obstetrics Ward of Samut Sakhon Provincial Hospital, Samut Sakhon Province. The subjects were equally divided into a controlled group, which was given an ordinary educating programme by registered nurses, and an experimental group, which was given the researcher-designed educating programme along with an ordinary one.

The data-collecting instruments consisted of (1) a personal profile recording form; (2) a childbirth anxiety questionnaire; (3) a Visual Analogue Scale pain measurement form; and (4) a pain-coping behaviour observation form. The personal data were analysed based on their frequency, mean, standard deviation, Chi-Square statistics and Fischer statistics. Both groups of subjects’ average post-experimental scores on childbirth anxiety, pain levels and pain-coping behaviour were then compared using an Independent T-test.

The study showed that the experimental group’s subjects displayed significantly lower levels of childbirth anxiety and pain (p < .05 and p < .001, respectively) than did those in the controlled group. In addition, the experimental group’s subjects scored significantly higher than their controlled group counterparts on pain-coping behaviour (p < .001).

Based on the findings, it can be recommended that this educating programme be applied by pre-natal and delivery wards’ nurses to the process of caring for pregnant teenagers in order to reduce their childbirth anxiety and pain, and to enable them to better cope with their labour.

Keywords : educating programme, anxiety, pain, childbirth pain-coping behaviour, teenage first-time mothers

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
อารยะจารุ ป, เสรีเสถียร เ, อยู่สำาราญ ฉ, พาหุวัฒนกร ว. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ ต่อความวิตกกังวล ระดับความเจ็บปวดและ พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Jan. 31 [cited 2024 Dec. 23];27(4):96-108. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/5518