ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งชนิดปฐมภูมิของกระเพาะอาหาร ตับ ทางเดินน้ำดี ลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง

Authors

  • ชนุตพร รัตนมงคล นักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศิริอร สินธุ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทิพา ต่อสกุลแก้ว
  • เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด, การผ่าตัดช่องท้อง, มะเร็งระบบทางเดิน, อาหารชนิดปฐมภูมิ, severity, postoperative complications, laparotomy (abdominal surgery), primary gastrointestinal cancer

Abstract

Objective: To study the prevalence of postoperative complications and the
relationship between postoperative complications and the duration of operation, amount
of intraoperative blood loss, stage of cancer, comorbidity, preoperative nutritional status,
and preoperative anxiety and depression.
Design: Descriptive correlation study.
Procedure: The study was conducted on a sample of 87 patients with gastric
cancer, hepatic cancer, cholangiocarcinoma, and colon and rectum cancer. The patients,
who were undergoing operations at three tertiary hospitals, were selected by means of purposive
sampling. Data were collected using (1) a general information questionnaire; (2) a comorbidity
assessment form; (3) a nutritional status screening form; (4) an anxiety and depression
assessment form; and (5) a postoperative complication severity assessment form. Analysis
of the data was conducted using descriptive statistics, and intervariate correlation was
analysed using Spearman’s rank correlation coeffcient.
Results: More than half of the subjects (62.1%) were over 60 years old, with
43.7% developing level-1 postoperative complications and 48.3% undergoing operations
that lasted 3 to 6 hours. Most of the subjects (70.1%) lost less than 500 ml of blood during
operation. Whilst 44.8% had stage-3 cancer, 41.4% displayed no comorbidity conditions.
As many as 81.6% of the subjects showed NRS > 3 level of nutritional risk, 66.7% a very high
level of anxiety (HADS-A = 11-21), and 48.3% a high, but not mentally threatening,
level of anxiety (HADS-D = 8-10). The factors found to be in signifcant correlation with
postoperative complication severity included intraoperative blood loss, nutritional conditions,
and preoperative anxiety and depression ( = .260, .281, .449, .349; p < .05), respectively.
Recommendations: It is suggested that cancer patients be assessed in terms of their
preoperative nutritional status, anxiety, and depression prior to receiving laparotomy
(abdominal surgery). In addition, extra attention should be paid to cases of high intraoperative
blood loss and high postoperative complication severity (level 2 or higher).
Thai Journal of Nursing Council 2016; 31(3) 97-109


วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และ
ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการผ่าตัด ปริมาณการเสียเลือดขณะผ่าตัด ระยะของโรคมะเร็ง
ภาวะโรคร่วม ภาวะโภชนาการก่อนผ่าตัด ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัดกับความรุนแรง
ของภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
การออกแบบการวิจัย : การวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์ (descriptive correlation study)
วิธีการดาเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งชนิดปฐมภูมิของกระเพาะอาหาร ตับ
ทางเดินน้ำดี ลำไส้ใหญ่และ ลำไส้ตรง เข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง เลือกกลุ่มตัวอย่าง
ตามเกณฑ์คัดเข้าที่กำหนด จำนวน 87 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมิน
ภาวะโรคร่วม แบบคัดกรองภาวะโภชนาการ แบบประเมินความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า และ
แบบประเมินความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยสถิติ
เชิงบรรยายและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน
ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.1 มีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 43.7 เกิดภาวะแทรกซ้อน
หลังผ่าตัดความรุนแรงระดับ 1 ร้อยละ 48.3 มีระยะเวลาการผ่าตัด 3-6 ชั่วโมง ร้อยละ 70.1 มีปริมาณ
การเสียเลือดขณะผ่าตัดน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ร้อยละ 44.8 เป็นมะเร็งระยะที่ 3 และร้อยละ 41.4
ไม่มีภาวะโรคร่วม ร้อยละ 81.6 มีความเสี่ยงทางโภชนาการ(NRS >3) ร้อยละ 66.7 อยู่ในกลุ่มมี
ความวิตกกังวลสูงมาก (HADS-A = 11-21) และร้อยละ 48.3 อยู่ในกลุ่มมีภาวะซึมเศร้าระดับสูง
แต่ยังไม่มีความผิดปกติทางจิต (HADS-D = 8-10) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของ
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ได้แก่ ปริมาณการเสียเลือดขณะผ่าตัด ภาวะโภชนาการ ความวิตกกังวล
และภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัด(r = .260, .281, .449, .349; p < .05) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ : ผู้ป่วยมะเร็งที่รับการผ่าตัดช่องท้องแบบเปิดควรประเมินความเสี่ยงทางโภชนาการ
ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัดและเพิ่มการเฝ้าระวังในรายที่มีปริมาณการเสียเลือด
ขณะผ่าตัดมาก ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในระยะหลัง และการเกิดภาวะแทรกซ้อน
หลังผ่าตัดที่รุนแรงมากกว่าระดับ 2 ขึ้นไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-11-01

How to Cite

1.
รัตนมงคล ช, สินธุ ศ, ต่อสกุลแก้ว ท, ไอรมณีรัตน์ เ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งชนิดปฐมภูมิของกระเพาะอาหาร ตับ ทางเดินน้ำดี ลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2016 Nov. 1 [cited 2024 Dec. 23];31(3):97-109. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/56337