การพัฒนาและประเมินผลการใช้รามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะ เพื่อป้องกันลมรั่วขณะผ่าตัดผ่านกล้อง

Authors

  • ณิชา ปิยสุนทราวงษ์ พยาบาลเชี่ยวชาญ ห้องผ่าตัดศัลยศาสตร์ ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฎฐ์ คำชัยโย พยาบาลปฏิบัติการ ห้องผ่าตัดศัลยศาสตร์ ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปุณยนุช จุลนวล พยาบาลชำนาญการพิเศษ ห้องผ่าตัดสูตินรีเวช ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พงศธร ตั้งทวี ศัลยแพทย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุวิชชา เทพลาวัลย์ เจ้าหน้าที่วิจัย สำนักงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

รามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะ การผ่าตัดแบบเจาะรูผ่านกล้อง ความพึงพอใจ ความคุ้มค่า, Ramathipbodi Trocar Cap, laparoscopic surgery, satisfaction, cost-efficiency

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้รามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะ และเพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดผ่านกล้องโดยการใช้และไม่ใช้รามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะ

การออกแบบวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

การดำเนินการวิจัย: การวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหาและประเมินความต้องการของผู้ใช้ ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะ เพื่อให้สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในการทำงาน ขั้นตอนที่ 3 การนำรามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะ มาทดลองใช้งานภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นจริง ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรค พร้อมทั้งประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลในภาพรวมและปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ศัลยแพทย์ และศัลยแพทย์ประจำบ้าน ที่ใช้รามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะ ณ ห้องผ่าตัดศัลยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 30 คน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2556 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้รามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: การผลิตนวัตกรรมรามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะ เพื่อป้องกันลมรั่วขณะผ่าตัดผ่านกล้อง พบว่า ผู้ใช้มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อรามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.87± SD 0.35) และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ผู้ป่วยได้ 8,860–26,580 บาท อีกทั้งช่วยให้ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยเข้าถึงการผ่าตัดผ่านกล้องได้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะ: ควรมีการเผยแพร่รามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะสู่สารธารณชนเพื่อรับทราบและมีการใช้อย่างแพร่หลาย ร่วมกับการพัฒนาให้นวัตกรรมชิ้นนี้มีความทนทานในการใช้มากขึ้น

;Objective: To study patients’ satisfaction with the Ramathipbodi Trocar Cap and to compare the cost of laparoscopic surgery with and without using the Ramathipbodi Trocar Cap.

Design: Research and development.

Implementation: This study was conducted in 4 stages: stage 1 for a survey of problems and assessment of patient’s needs; stage 2 for designing and developing the Ramathipbodi Trocar Cap for a surgical process; stage 3 for test-implementing the Ramathipbodi Trocar Cap in real situations, studying its problems and obstacles, and evaluating the patients’ satisfaction; and stage 4 for an overall assessment and improvement.

The sample used in this study consisted of a total of 30 Ramathipbodi Hospital Surgical Operating Room surgeons and resident surgeons who had used the Ramathipbodi Trocar Cap from March to December 2013. Data were collected using a Ramathipbodi Trocar Cap satisfaction assessment form and analysed based on mean and standard deviation.

Results: The Ramathipbodi Trocar Cap was an innovation that prevented air leak during laparoscopic surgery. The subjects rated this trocar cap as being most satisfactory (M = 4.87±, SD 0.35). It was also found that the use of this trocar cap saved between THB 8,860 and 26,580 in operating cost, a factor that provides more patients with affordable access to laparoscopic surgery.

Recommendations: It is suggested that the public be provided more information on the Ramathipbodi Trocar Cap service and that this innovation be improved for greater durability.

Downloads

Download data is not yet available.

References

Keus F, de Jonge T, Gooszen HG, Buskens E, van Laarhoven CJ. Cost-minimization analysis in a blind randomized trial on small-incision versus laparoscopic cholecystectomy from a societal perspective: sick leave outweighs efforts in hospital savings. Trials. 2009;10:80.

Kelty CJ, Super PA, Stoddard CJ. The driving force in trocar insertion: a comparison between disposable and reusable trocars. Surg Endosc. 2000:14(11): 1045-6.

Nezhat FR, Silfen SL, Evans D, Nezhat C. Comparison of direct insertion of disposables and standard reusable laparoscopic trocars and previous pneumoperitoneum with veress needle. Obstetrics & Gynecol. 1991: 78(1):148-49.

Wichienpanya P. Knowledge management. Bangkok: Thunkamol Press; 2004. (in Thai)

Watson DI. Disposable and reusable trocars. Endosc Surg Allied Technol. 1995;3(2-3):140-2.

DesCôteaux JG, Poulin EC, Lortie M, Murray G, Gingras S. Reuse of disposable laparoscopic instruments: a study of related surgical complications. Can J Surg. 1995;38(6):495-500.

Roth K, Heeg P, Reichl R. Specific hygiene issue relating to reprocessing and reuse of single-use devices for laparoscopic surgery. Surg Endosc. 2002;16(7): 1091-7.

Manatakis DK, Georgopoulos N. Reducing the Cost of Laparoscopy: Reusable versus Disposable Laparoscopic Instruments. Minim Invasive Surg. 2014;2014:408171.

DesCôteaux JG, Tye L, Poulin EC. Reuse of disposable Laparoscopic Instruments: cost analysis. Can J Surg. 1996;39(2):133-9.

Mues AC, Haramis G, Casazza C, Okhunov Z, Badani KK, Landman J. Prospective randomized single-blinded in vitro and ex vivo evaluation of new and reprocessed laparoscopic trocars. J Am Coll Surg. 2010;211(6): 738-43.

Semakhun C. Research and Development: R & D. Journal of Science. 2009:10(1):97-104. (in Thai)

Downloads

Published

2016-05-30

How to Cite

1.
ปิยสุนทราวงษ์ ณ, คำชัยโย ณ, จุลนวล ป, ตั้งทวี พ, เทพลาวัลย์ ส. การพัฒนาและประเมินผลการใช้รามาธิบดียางครอบท่อแทงเจาะ เพื่อป้องกันลมรั่วขณะผ่าตัดผ่านกล้อง. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2016 May 30 [cited 2024 Nov. 5];31(2):41-5. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/57810