ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ;Self-Care Experience of People with Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) Exacerbation

Authors

  • ดารุณี เงินแท้ Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
  • มณี อาภานันทิกุล รองศาสตราจารย์ ดร.
  • สุมลชาติ ดวงบุบผา อาจารย์โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี

Keywords:

ประสบการณ์การดูแลตนเอง, ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ, การวิจัยเชิงคุณภาพ, self-care experience, people with COPD exacerbation, qualitative research

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น
เรื้อรังที่มีอาการกำเริบ
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ
การดำเนินการวิจัย: คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำาหนดโดย
เป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ จำานวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล
โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และบันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ
แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะอาการกำาเริบและระยะอาการสงบ
ซึ่งในระยะอาการกำเริบ ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด 2) จัดการอาการที่ทำให้
หอบกำเริบมากขึ้น 3) จัดการทางเดินหายใจให้โล่งและ 4) ขอความช่วยเหลือจาก
คนในบ้านและเพื่อนบ้าน ส่วนในระยะอาการสงบ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก
ได้แก่ 1) ควบคุมอาการหอบเหนื่อยไม่ให้กำาเริบมากขึ้น 2) หลีกเลี่ยงปัจจัย
ที่ทำให้อาการหอบกำเริบอย่างเคร่งครัด และ 3) ทำกิจวัตรประจำวัน
ตามปกติและตามสภาพร่างกาย จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้เข้าใจถึงประสบการณ์
การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ
ข้อเสนอแนะ: พยาบาลสามารถใช้ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมให้ความรู้
ในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำาเริบเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม อีกทั้ง
ยังเป็นประโยชน์ในการวางแผนทางการพยาบาลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้คำแนะนำ
และติดตามผลของการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบต่อไป

Abstract
Objective: To identify the activities performed by people with COPD
exacerbation as part of their self-care experience.
Design: Qualitative research.
Procedure: The participants in the study were 10 purposively
sampled chronic obstructive pulmonary disease exacerbation patients.
Data were obtained through tape-recorded in-depth interviews
and examined using content analysis.
Results: The self-care experience of patients with COPD
exacerbation was observed in two periods: the exacerbation
period and the remission period. During the exacerbation
period, the patients’ coping activities included
(1) making minimum body movements;
(2) making greater effort to handle asthmatic attacks;
(3) reducing airway obstruction;
and (4) seeking help from family members and neighbours.
During the remission period, the patients attempted to
(1) prevent aggravation of their dyspnea; (2) strictly avoid factors
that could have aggravated their asthma; and (3) performed
their daily activities as usual and in keeping with
their physical conditions. This study, in conclusion, has led to an
improved understanding of COPD exacerbation patients’ self-care
experience and behaviour.
Recommendations: This study’s fndings could be applied by
nurses to educating COPD exacerbation patients, whether on
an individual or group basis, on self-care methods.
The fndings could also contribute to both short- and long-term
care planning, to provide COPD exacerbation patients
with well monitored counsel and follow-ups.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-06-08

How to Cite

1.
เงินแท้ ด, อาภานันทิกุล ม, ดวงบุบผา ส. ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ;Self-Care Experience of People with Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) Exacerbation. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2017 Jun. 8 [cited 2024 Dec. 23];32(1):47-63. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/79195