ผลของโปรแกรมการจัดการการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่อภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีหรือฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด

Authors

  • วันทกานต์ ราชวงศ์
  • ปรางทิพย์ ฉายพุทธ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
  • สุวิมล กิมปี
  • นันทกานต์ เอี่ยมวนานนทชัย

Keywords:

มะเร็งศีรษะและคอ การฉายรังสี, การฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด, ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ, โปรแกรมการจัดการการดูแลข่องปากด้วยตัวเอง, head and neck cancer, radiotherapy, stomatitis, self management oral care program

Abstract

ผลของโปรแกรมการจัดการการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่อภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีหรือฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด

วันทกานต์ ราชวงศ์ พย.ม.
ปรางทิพย์ ฉายพุทธ Ph.D. (Nursing)
สุวิมล กิมปี ค.ม. (วิจัยการศึกษา)
นันทกานต์ เอี่ยมวนานนทชัย พ.บ., ว.ว. (รังสีรักษา)

บทคัดย่อ : วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่อภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอที่ได้รับรักษาด้วยการฉายรังสีหรือฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด

การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอที่ได้รับรักษาด้วยการฉายรังสีหรือฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดในหน่วยรังสีรักษา โรงพยาบาลระดับตติยภูมิหนึ่งแห่งในกรุงเทพมหานครจำนวน 52 รายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดย 25 รายแรกเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติและ 27 รายหลังเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ประกอบด้วย การประเมินปัญหาและความต้องการข้อมูลการดูแลช่องปากด้วยตนเอง การให้ความรู้/ฝึกทักษะการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ร่วมกับแนวคิดการจัดการตนเอง ประกอบด้วยการตั้งเป้าหมาย การติดตามตนเอง การประเมินตนเอง และการเสริมแรงตนเอง โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินสภาพช่องปากประเมินภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกันและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม

ผลการวิจัย : หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (EMBED Equation.3 = 13.26, S.D. = 2.09 และEMBED Equation.3 = 15.88, S.D.= 2.67, p = 0.000; F = 13.55, p = 0.001) หมายถึงกลุ่มทดลองมีภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

ข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการจัดการการดูแลช่องปากด้วยตนเองสามารถใช้เป็นการปฏิบัติการทางการพยาบาลเพื่อลดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบได้ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสีหรือฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด

วารสารสภาการพยาบาล 2556; 28(1) 34-48

คำสำคัญ: มะเร็งศีรษะและคอ การฉายรังสี การฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด ภาวะเยื่อบุช่องปาก

อักเสบ โปรแกรมการจัดการการดูแลช่องปากด้วยตนเอง

Impact of a Self-Management Oral Care Program on Stomatitis in Head and Neck Cancer Patients Treated with Radiotherapy or Radio-Chemotherapy*

Wontakarn Ratchawong M.N.S
Prangtip Chayaput Ph.D. (Nursing)
Suvimol Kimpee M.Ed. (Research)
Nantakan Ieumwananonthachai M.D., Dip. Thai board of Radiation Oncology

Abstract: Objective: To study the impact of a self-management oral care program on stomatitis in head and neck cancer patients treated with radiotherapy or radio- chemotherapy.

Research Type: Experimental research.

Research Procedure: The sample consisted of 52 head and neck cancer patients being treated with radiotherapy or radio-chemotherapy at the radiology department of a tertiary hospital in Bangkok. The subjects were divided into two groups, 25 into the control group, to whom standard treatment would be given, and the other 27 into the experimental group, to whom a self management oral care program would be introduced. The self-management oral care program

combined the assessment of problems, needs for self-administered oral care information, and self-administered oral care education and training, with the self-management concept, which required goal setting, self-monitoring, self-evaluation and self-reinforcement. The data were then recorded in the personal information form, oral health assessment form and oral mucositis assessment form.The data were analyzed using Two-Way Anova and Covariance Analysis.

Research Findings: After program administration, the experimental group displayed a significantly lower average score for stomatitis than did the control group ( = 13.26, S.D. = 2.09 and = 15.88, S.D. = 2.67, p = 0.000; F = 13.55, p = 0.001). This means the experimental group showed a smaller degree of stomatitis than did the control group.

Recommendations: This self-management oral care program could be applied as a nursingcare intervention to reduce stomatitis in head and neck cancer patients treated with radiotherapy or radio-chemotherapy.

Thai Journal of Nursing Council 2013; 28(1) 34-48

Keywords: head and neck cancer; radiotherapy; radio-chemotherapy; stomatitis; self-management oral care program

 

Downloads

Downloads

How to Cite

1.
ราชวงศ์ ว, ฉายพุทธ ป, กิมปี ส, เอี่ยมวนานนทชัย น. ผลของโปรแกรมการจัดการการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่อภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีหรือฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2025 Jan. 12];28(1):34-48. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/8857