ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะตนเอง การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล กับระยะเวลาการทดสอบการหายใจเองในผู้ป่วยที่ไม่ผ่านการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

Authors

  • ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์
  • ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  • วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล

Keywords:

การหย่าเครื่องช่วยหายใจ, การรับรู้สมรรถนะของตนเอง, การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย, ความวิตกกังวล, respirator weaning, awareness of self performance, awareness of disorder severity, anxiety

Abstract

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะตนเอง การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล กับระยะเวลาการทดสอบการหายใจเองในผู้ป่วยที่ไม่ผ่านการหย่าเครื่องช่วยหายใจฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์ พย.มดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ พย.ดวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล Ph.D. (Nursing)พูนทรัพย์ วงศ์สุรเกียรติ์ พ.บบทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะตนเองในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล กับระยะเวลาการทดสอบการหายใจเองในผู้ป่วยที่ไม่ผ่านการหย่าเครื่องช่วยหายใจการออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงความสัมพันธ์วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยวิกฤติของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยระดับตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 88 ราย เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป (2) แบบวัดการรับรู้สมรรถนะตนเองในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ (3) แบบวัดการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย (4) แบบวัดความวิตกกังวล และ (5) แบบบันทึกการยุติการหย่าเครื่องช่วยหายใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันผลการวิจัย: การรับรู้สมรรถนะตนเองในการหย่าเครื่องช่วยหายใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกส่วนการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระยะเวลาในการทดสอบการหายใจเองที่ r = .697, ( p < .01) และ r = -.234, (p < .05) ตามลำดับ ส่วนความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยและมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการรับรู้สมรรถนะตนเองในการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่ r = .293, ( p < .01) และ r = -.267, ( p < .05) ตามลำดับข้อเสนอแนะ: พยาบาลและทีมสุขภาพควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการรับรู้สมรรถนะตนเองในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และให้ข้อมูลความรุนแรงของการเจ็บป่วยตามข้อเท็จจริง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจในการหายใจด้วยตนเอง ส่งผลให้สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้สำเร็จวารสารสภาการพยาบาล 2556; 28(1) 49-63คำสำคัญ: การหย่าเครื่องช่วยหายใจ การรับรู้สมรรถนะตนเอง การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยความวิตกกังวลCorrelation between Awareness of Self Performance, of Disorder Severity and of Anxiety, and Duration of Spontaneous Breathing Trial in Patients Not Having Been Weaned off RespiratorsThitiporn Pathomjaruwat, M.N.S.Doungrut Wattanakitkrileart, D.N.S.Wanpen Pinyopasakul, Ph.D. (NURSING)Phunsup Wongsurakiat, M.D.Abstract: Objective: To study correlation between awareness of self performance, of disorder severity, of anxiety, and duration of spontaneous breathing trial in patients who had not been weaned off respirators.Research Type: Correlational design research.Research Procedure: The sample consisted of 88 respirator-dependent patients suffering from respiratory failure and being treated in the Ordinary Patient Ward and Critical Patient Ward of two tertiary hospitals in university campuses. The research instruments were (1) a general information recording form; (2) visual analogue perceived self-efficacy for weaning scale; (3) disorder severity perception recording form; (4) anxiety recording form; and (5) a form to record termination of a spontaneous breathing trial for weaning. The data were analysed using Pearson’s coefficient statistics.Research Findings: The duration of spontaneous breathing trial was found in a positive correlation with self performance awareness in the respirator-weaning process (r = .697,(p < .01)) and in a negative correlation with awareness of disorder severity (r = .234, (p < .05)). Anxiety, on the other hand, was found in a positive correlation with awareness of disorder severity (r = .293, (p < .01)) but in a negative correlation with self performance awareness in the respirator-weaning process (r = .267, (p < .05)).Recommendations: It is recommended that nurses and heathcare teams promote, amongst patients, self-awareness in the respirator-weaning process and provide them with facts concerning their disorder severity, in order to increase their confidence in self-breathing,which is vital to their respirator-weaning success.Thai Journal of Nursing Council 2013; 28(1) 49-63Keywords: respirator weaning; awareness of self performance; awareness of disorder severity; anxiety

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์

ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล

Downloads

How to Cite

1.
ปฐมจารุวัฒน์ ฐ, วัฒนกิจไกรเลิศ ด, ภิญโญภาสกุล ว. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะตนเอง การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล กับระยะเวลาการทดสอบการหายใจเองในผู้ป่วยที่ไม่ผ่านการหย่าเครื่องช่วยหายใจ. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Nov. 22];28(1):49-63. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/8860