ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Keywords:
ภาวะโภชนาการ, ผู้สูงอายุ, จังหวัดชายแดนภาคใต้, nutritional conditions, elderly people, southernmost border provincesAbstract
ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
กิตติกร นิลมานัต
ขนิษฐา นาคะ
วิภาวี คงอินทร์
เอมอร แซ่จิว
พัชรียา ไชยลังกา
ปิยะภรณ์ บุญพัฒน์
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสโดยการคัดเลือกแบบสะดวกจำนวน 580 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านสุขภาพและ 2) แบบประเมินภาวะโภชนาการ (Mini Nutritional Assessment) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์เชิงพรรณนาด้วยความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ ร้อยละ 62.2 (n = 361) มีภาวะโภชนาการปกติ ขณะที่ ร้อยละ 37.8 (n = 219) อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่อการขาดอาหาร เมื่อมีการประเมินในกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม พบว่า ร้อยละ 62.1 คะแนนอยู่ในระดับเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการรองลงมาอยู่ในระดับภาวะโภชนาการเพียงพอ (ร้อยละ 31.1) และระดับขาดอาหาร(ร้อยละ 6.8)
ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับบุคลากรสุขภาพและบุคลากร ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการเฝ้าระวังโดยติดตามประเมินภาวะโภชนาการในกลุ่มที่มีความเสี่ยง รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูภาวะโภชนาการแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพโภชนาการ
วารสารสภาการพยาบาล 2556; 28(1) 75-84
คำสำคัญ: ภาวะโภชนาการ ผู้สูงอายุ จังหวัดชายแดนภาคใต้
Nutritional Conditions of Elderly People in the Three Southernmost Border Provinces
Kittikorn Nilmanat
Kanittha Naka
Wipawee Kong-in
Aim-on Sai-jew
Pachariya Chailungka
Piyaporn Boonphadh
Abstract: Objective: To survey nutritional conditions of elderly people in the three southernmost border provinces.
Research Type: Survey research.
Research Procedure: The subjects, obtained by means of convenience sampling,were 580 elderly people aged 60 or more who lived in the provinces of Pattani, Yala and Narathiwat. The instruments used in the research were (1) a personal information and health information recording form and (2) a mini nutritional assessment form. The data were analysed using descriptive statistics, focusing on the frequency and percentage.
Research Findings: Of all the elderly people surveyed, 62.2% (n = 361) were found to have normal nutritional conditions, whilst 37.8% (n = 219) were identified as facing a risk of hyponutrition. Further assessment revealed that 62.1% of the subjects in the risk group were prone to malnutrition, whilst 31.1% received adequate nutrition and 6.8% were suffering from hyponutrition.
Recommendations: The findings could be applied as a guideline for public health personnel and other stakeholders to arrange health-promoting activities. In addition,health-alert attempts could be made so as to maintain regular assessment of the risk group’s nutritional conditions. Finally, nutrition-restoring activities could be conducted for elderly people suffering from malnutrition.
Thai Journal of Nursing Council 2013; 28(1) 75-84
Keywords: nutritional conditions; elderly people; southernmost border provinces