ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอด ต่อความเครียด

Authors

  • ดารุณี จันฤาไชย
  • กริยากร ธิวะโต
  • จันทร์เพ็ญ แพงดวงแก้ว

Keywords:

การพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคอง, ความเครียดในระยะคลอด, การรับรู้, supportive and palliative care, childbirth stress, childbirth experience

Abstract

บทคัดย่อ:

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอด ต่อความเครียดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดาครรภ์แรก

การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง

การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์แรกที่มีอายุระหว่าง 18 – 35 ปี ที่มาคลอดโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จำนวน 64 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 32 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะรอคลอด ระยะคลอด ระยะหลังคลอด 2 ชั่วโมงจากผู้วิจัย การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความเครียดของมารดาครรภ์แรก ในระยะคลอด และแบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การคลอด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t - test

ผลการวิจัย พบว่า คะแนนความเครียดในระยะคลอดของมารดาครรภ์แรกในกลุ่มทดลอง ตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และคะแนนการรับรู้ประสบการณ์ การคลอดของมารดาครรภ์แรกในกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)

ข้อเสนอแนะ: การพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอด สามารถนำมาใช้ในการพยาบาลมารดาครรภ์แรกในระยะคลอด เพื่อช่วยในการลดความเครียดและช่วยให้การรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้มารดาครรภ์แรกสามารถปรับบทบาทการเป็นมารดาได้เหมาะสม

วารสารสภาการพยาบาล 2556; 28(1) 100-110

คำสำคัญ: การพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคอง ความเครียดในระยะคลอด การรับรู้ ประสบการณ์การคลอด

 

Impact of Supportive & Palliative Care during Childbirth on Childbirth Stress and Childbirth Experience Perception of First-Time Mothers  at Fan Ajaro Hospital

Darunee janruechai
Kriyakorn tiwato, B.N.
Janpen pangduanggaw, B.N

Abstract: Objective: To study the impact of supportive and Palliative care during childbirth on first-time mothers’ childbirth stress and childbirth experience perception.

Research Type: Experimental research.

Research Procedure: The sample consisted of 64 first-time mothers aged between 18 and 35 who had given birth at Fan Ajaro Hospital. The 64 mothers were divided equally into a control group and an experimental group. Those in the control group received ordinary care, whilst those in the experimental group were given supportive and palliative care in three stages: before childbirth, during childbirth and during 2 hours after childbirth. A questionnaire was used to collect data regarding the mothers’ stress during childbirth and their perception of childbirth experience. The data were analysed using the Independent T-test.

Research Findings: The experimental group first-time mothers’ level of childbirth stress was significantly lower than that shown by the mothers in the control group (p < .01).In addition, the experimental group displayed a significantly higher degree of childbirth

experience perception than the control group did (p < .01).

Recommendations: Application of supportive and palliative care during childbirth to first-time mothers could reduce their stress and promote positive perception of their childbirth experience. Such an outcome, in turn, would enable first-time mothers to properly adjust themselves to the new role as mothers.

Thai Journal of Nursing Council 2013; 28(1) 100-110

Keywords: supportive and palliative care; childbirth stress; childbirth experience perception

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
จันฤาไชย ด, ธิวะโต ก, แพงดวงแก้ว จ. ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอด ต่อความเครียด. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Nov. 25];28(1):100-1. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/9001