ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และเจตคติต่อพฤติกรรมทางเพศ
Keywords:
ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์, เจตคติต่อพฤติกรรมทางเพศ, วัยรุ่นตอนต้น,Abstract
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นตอนต้น
การออกแบบวิจัย: การสำรวจแบบภาคตัดขวาง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอายุระหว่าง 10-14 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 12 แห่ง รวม 3,967 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามทางอินเทอร์เนต สำหรับวัยรุ่นตอนต้นซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทีแบบสองกลุ่มอิสระ
ผลการวิจัย: ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของวัยรุ่นตอนต้นเท่ากับ 27.96 คะแนน (SD = 8.28) โดยวัยรุ่นเพศหญิงมีคะแนนความรู้เฉลี่ยสูงกว่าเด็กวัยรุ่นเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 สำหรับค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางเพศของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 99.53 (SD = 12.51) โดยเด็กวัยรุ่นเพศหญิงมีคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางเพศสูงกว่าเด็กวัยรุ่นเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนและจุดแข็งด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางเพศของเด็กวัยรุ่นตอนต้น ซึ่งควรมีการปรับปรุงและเพิ่มเติมความรู้ส่วนที่ขาด อีกทั้งควรมีการส่งเสริมความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางเพศที่ดีอยู่แล้วให้ต่อเนื่องและยั่งยืน
วารสารสภาการพยาบาล 2556; 28(1) 124-137
คำสำคัญ: ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ เจตคติต่อพฤติกรรมทางเพศ วัยรุ่นตอนต้น
Early Adolescents’ Knowledge of HIV/AIDS and Attitudes towards
Sexual Behaviour
Waraporn Boonchieng Dr.P.H.
Wilawan Tuanrat M.Sc.
Warunee Fongkaew Ph.D.
Pimpaporn Klunklin, Ph.D.*
Abstract: Objective: To survey early adolescents’ knowledge of HIV/AIDS and attitudes towards sexual behaviour.
Research Type: Cross-sectional survey.
Research Procedure: The sample consisted of 3,967 students aged between 10 and 14 years, who were studying in elementary school levels 5 and 6 and junior high
school level 1 in 12 schools in the province of Chiang Mai. The instrument used for data collection was a set of three internet-based questionnaires for early adolescents:
(1) personal information questionnaire; (2) AIDS knowledge questionnaire; and (3) sexual behaviour attitude questionnaire. The data were analysed using descriptive
statistics, independent t-test, and Pear
Research Findings: The early adolescents’ average AIDS knowledge score was 27.96 points (SD = 8.28), with the female subjects outscoring the male by a statistically significant margin (p = .01). The subjects’ average sexual behaviour opinion score was 99.53 (SD = 12.51); again, the female adolescents outscored the male by a statisticallysignificant margin (p = .05).
Recommendations: The results have shown strengths and weaknesses of early adolescents with regard to their knowledge of AIDS and sexual behaviour opinions.
Addition of necessary aspects of AIDS-related information is recommended. Meanwhile, their positive attitudes towards sexual behaviour should be encouraged for continuous
and sustainable improvement of sex-related understanding.
Thai Journal of Nursing Council 2013; 28(1) 124-137
Keywords: knowledge of AIDS; attitudes towards sexual behaviour; early adole