ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ดา้ นเอชไอวี เพื่อส่งเสริมพฤติกรรม การอยู่ร่วมกัน โดยไม่รังเกียจในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • ภรกต สูฝน โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2020.1

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านเอชไอวี, พฤติกรรมการอยู่ร่วมกันโดยไม่รังเกียจ, การตีตราและการเลือกปฏิบัติ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operational research) ออกแบบการวิจัยให้เป็นการวิจัยในประชากรกลุ่มเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวี พฤติกรรมการอยู่ร่วมกันโดยไม่รังเกียจ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 40 คน ในพื้นที่ 16 หมู่บ้านของตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ใช้กรอบแนวคิดการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ 5 องค์ประกอบ คือ เข้าถึง เข้าใจ ไต่ถาม ตัดสินใจ และนำไปใช้ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวี 5 ด้าน แบบประเมินความรอบรู้ก่อน-หลัง แบบประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมกิจกรรม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุม่ ตัวอยา่ งและผู้มีเชื้อเอชไอวีหลัง อบรม 3 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อสม. มีระดับความรอบรู้โดยรวม ในระดับไม่พอเพียงมากที่สุด ร้อยละ 60 รองลงมา ระดับปานกลาง ร้อยละ 27.5 และระดับพอเพียง ร้อยละ 12.5 และหลังการอบรมตามโปรแกรม พบว่า อสม. ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความรอบรู้ดีขึ้น โดยอยู่ในระดับดี ร้อยละ 35.5 และ ระดับพอเพียง ร้อยละ 57.5 สำหรับการวัดผลด้านความรู้สึกกังวลกลัวที่ต้องทำกิจกรรมในชุมชนร่วมกับผู้มีเชื้อเอชไอวี เช่น กังวลใจที่จะต้องทานข้าวร่วมกัน ไม่อยากให้ทำอาหารในงานบุญ ไม่อยากอยู่ใกล ้ ก่อนฝึกทักษะ อสม. ที่เข้าร่วมโครงการรู้สึกกังวลกลัวข้อใดข้อหนึ่ง ร้อยละ 85 หลังการฝึกอบรม พบว่า รู้สึกไม่กังวลเลย มากที่สุดร้อยละ 87.5 รองลงมากังวลเล็กน้อย ร้อยละ 12.5 พบว่า ความพีงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้
มีเชื้อหลังจัดโปรแกรม 3 เดือน พบการเปลี่ยนแปลงในชุมชน โดยพบว่า อสม. ขยายผลในชุมชน สังเกตเห็นว่ามีการระมัดระวังคำพูด ไม่มีท่าทีรังเกียจ ให้มาช่วยงานบุญ ให้มาช่วยทำอาหารในงานบุญซึ่งเดิมจะให้ไปล้างจาน และมีการเรียกให้มานั่งทานอาหารด้วยกัน ผลโดยรวมพบว่าการเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีทำให้กลุ่ม อสม. ที่เข้าร่วมโปรแกรมมีความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับผู้มีเชื้อเอชไอวีในชุมชน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลไปสู่บุคคลอื่นๆ และยังสามารถมีพฤติกรรมเป็นแบบอยา่ งในการบริการผู้มีเชื้อเอชไอวีในชุมชนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
          ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำโปรแกรมไปใช้เป็นแนวทางจัดอบรมซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีเชื้อเอชไอวีต่อครอบครัว และชุมชนต่อไป สร้างผลดีต่อคุณภาพบริการ สำหรับข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการติดตามสถานการณ์การรังเกียจตีตราในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และควรจัดทำบันทึกข้อตกลงในกลุ่ม อสม. โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2 5 6 0 - 2 5 7 3 .

[อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 ก.ย. 2562]. แหล่งข้อมูลhttps://aidssti.ddc.moph.go.th/contents/

view/1759

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. โครงการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้เรื่อง health literacy

เพื่อสร้างเสริมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ด้านสุขภาพ สำหรับประชาชน ปีงบประมาณ 2553 - 2554.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:ขั้นพื้นฐาน ปฏิสัมพันธ์ วิจารณญาณ. พิมพ์ครั้งที่ 1.

กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทรพ์ ริ้นติ้ง แอนด ์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2562

กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการประชุมคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข. ประเด็นเรื่องความรอบรูด้านสุขภาพ.วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:เข้าถึง เข้าใจ นำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2561

Polit,D. and Hungler,B1997.อ้างถึงใน Essentials of nursing research methods, appraisal, and utilization (4th ed).J.B Lippinocott Company Philadelphia,Pennsyivania,USA.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. คู่มือการจัดอบรมหลักสูตรการส่งเสริมสถานบริการสุขภาพปราศจากการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ 5 กิจกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เจ.เอส.การพิมพ์; 2561.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์.หลักสูตรวิทยากรกระบวนการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี 2562. พิมพ์ครั้งที่1. นนทบุรี; ธันวาคม 2561.

Sources: Stigmatization Process: Link, B.G .and J.C Phelan 2001. “Conceptuallizing Stigma.” Annual Review of Sociology: 363-385.

Bloom.B.S. Mastery learning. UCLA-CSEIP Evaluation Comment. 1 (2) Los Angeles. University of California at Los Angeles; 1968.

นิรินธน์ ประทีปแก้ว มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อิมามี. โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยายาโอกาส อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. บทความวิจัย.ใน:การประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 เรื่องบทบาทของประชาชนกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ วันที่ 14 - 16 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์มบีช

โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. หน้า 121-129.

อุไรวัลย์ โกเสนตอ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ณ โรงพยาบาลดารารัศมี เชียงใหม่. [อินเทอร์เน็ต]. วารสารสาธารณสุขล้านนา [สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562]. แหล่งข้อมูล https://www.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/167482.

อารีย ์ ธวัชวัฒนานนัท์. ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (The Outcomes of Health Promotion Program of Diabetic Retinopathy Patients) [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่] .กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557:124หน้า.

เผยแพร่แล้ว

2020-01-24