การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลเจริญศิลป์

ผู้แต่ง

  • สัจพงษ์ โชคคติวัฒน์ โรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
  • ดวงฤดี วรชิณ โรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2020.2

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการดูแล, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, การเข้าถึงการรับบริการ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและประเมินการเข้าถึงการรับบริการของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ศึกษาระหว่างเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2562 การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ได้แก่ 1) บุคลากรด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี และแกนนำกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 22 คน ร่วมการสนทนากลุ่มเพื่อค้นหาปัญหา และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา และ 2) ผูติ้ดเชื้อเอชไอวีที่สามารถร่วมกิจกรรมได้ จำนวน 90 คน ร่วมในกระบวนการ “แผนที่ความคิด” นอกจากนี้ มีการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและการให้ข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลและคณะทำงานคุณภาพ และจัดทำเป็นแผนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา จากนั้นเป็นการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 2 ได้แก่การนำแผนปฏิบัติการลงมือปฏิบัติจริง ขั้นตอนที่ 3 ติดตามประเมินผลปฏิบัติการ และ ขั้นตอนที่ 4 สะท้อนผลปฏิบัติการ

     ผลการศึกษา จากการจัดกระบวนการ “แผนที่ความคิด” พบว่าปัญหาและความคาดหวังในการมารับบริการ ได้แก่ การอำนวยความสะดวก และรูปแบบให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีในคลินิก ผลการสนทนากลุ่มปรากฏผล คือ 1) พยาบาลประจำคลินิกทำหน้าที่ไม่ทันเวลา 2) ควรมีแนวทางปฏิบัติให้ใช้ได้สะดวกและเป็นลายลักษณ์อักษร 3) อยากให้จัดอบรมความรู้ใหม่ๆ และข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและการให้ข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงาน ปรากฏผลคือ 1) ผู้ป่วยขาดนัด กินยาไม่ตรงเวลา 2) สิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม การวางแผนแก้ปัญหาและพัฒนา ได้นำปัญหาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลและคณะทำงานคุณภาพ มีการปรับปรุงด้านอัตรากำลังคน พัฒนาทีมสหวิชาชีพ ปรับอาคารสถานที่ให้เป็นสัดส่วน พัฒนา CPG จำนวน 2 เรื่อง จัดทำแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติงานแล้วนำมาทดลองใช้ 1 เดือน พบมีข้อที่ต้องปรับปรุงได้แก่ การเริ่มยาต้านไวรัสในผู้ป่วยใหม่ทั้งในรายที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย การซักประวัติ การประเมินโรคติดเชื้อฉวยโอกาส และจัดการปัญหาเมื่อมีโรคร่วม ไม่ชัดเจน การนัดหมายในครั้งแรกและครั้งต่อมาไม่ชัดเจน รวมถึงกรณีการส่งต่อ จึงได้ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานใหม่ เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งมีการนำไปใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 ถึงปัจจุบัน และส่งผลให้ติดเชื้อเอชไอวีรายเก่าที่ไม่เปิดเผยตัวยินยอมเปิดเผยตัว 5 รายและรายที่ขาดนัด จำนวน 6 รายกลับมารับยาต่อ จำนวน 5 ราย

References

1. ประพันธ์ ภานุภาค. โรคเอดส์และการดำเนินของโรค. เอกสารอัดสำ เนาประกอบการอบรมการพัฒนาระบบบริการพยาบาลการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอดส์. สภากาชาดไทย, 2549.
2. K.H.Basavaraj, M.A.Navya, R.Rashmi. Quality of life in HIV/AIDS. Indian Journal of Sexually Transmitted Diseases and AIDS [Internet]. 2010 Jul-Dec [cited 2019 Dec 6]; 31(2): 75-80. Available from https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/2325958219838858
3. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุม. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2560.
4. วลัยรัตน์ ไชยฟู. สถานการณ์ และการพัฒนาระบบบริการดูแลรักษาเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี : สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์; 2561 [สืบค้นเมื่อ 2 ม.ค. 2562]. จาก: https://thaiaidssociety.org/images/TAS2018/slide/sep14/14-9-61_0830.pdf
5. Battistini Garcia SA, Guzman N. Acquired Immune Deficiency Syndrome (AIDS) CD4+Count. StatPearls Publishing; 2020-.2018 Dec. [cited 2019 Dec 6]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30020661
6. โรงพยาบาลเจริญศิลป์. สรุปสถานการณ์การให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลเจริญศิลป์ ปี 2561. เอกสารสรุปผลงานเย็บเล่ม, 2561.
7. วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฎสุราษฏร์ธานี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558). 2558.
8. Mead S, Hilton D, Curtis L. Peer Support: A theoretical perspective. Psychiatric Rehabilitation Journal. 2001; 25(2): 134-41.
9. Kanters S, Park JJ, Chan K, et al. Use of peers to improve adherence to antiretroviral therapy: a global network meta-analysis. J Int AIDS Soc 2016; 19(1): 21141.
10. วันเพ็ญ พูลเพิ่ม. อยากบอกเล่าเรามีความเข้มแข็งทางใจ [อินเตอร์เน็ต]. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์; 2557. [สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2562]. จาก: https://aidssti.ddc.moph.go.th/researchs/view/2935
11. Siyabonga Kave, Nelisiwe F Khuzwayo, et al. The role of support groups in linking and retaining newly diagnosed clients in HIV care in a peri-urban location in South Africa. Published online 2019 Mar [cited 2019 Dec 6]; 18: 9-17 Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27914185
12. สุรัตน์ดา มอโท และดวงใจ นุ่นสวัสดิ์. การพัฒนาคลินิก HIV คลินิกพิเศษ โรงพยาบาลไชยวาน ปี 2555 [อินเตอร์เน็ต]; 2555. [สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2562]. จาก: 203.157.168.41/fish_
roop/web/r2r/index. php?aa=4&bc=1&id_vigai=
13. จินตนา ทิพทัส และคณะ. ระบบบริการส่งเสริมและรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ต่อการรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องสมํ่าเสมอในโรงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดน่าน. วารสารกรมการแพทย์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 442: 2551.
14. ณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงค์. การสื่อสารที่ส่งผลต่อการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์: ภาพตัวแทนและความหมายต่อคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อวารสารโรคเอดส์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 113: 2562.
15. นรีลักษณ์ สุวรรณโนบล และคณะ. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและอุปสรรคในการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์. วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 70-78: 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-29