การพัฒนาและทวนสอบชุดตรวจหาการติดเชื้อ Chlamydia trachomatis ด้วยวิธี in-house real-time PCR ที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/taj.2020.3คำสำคัญ:
เชื้อคลามัยเดีย ทราโคมาติส, เทคนิคการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอในหลอดทดลอง, วิธีเรียลไทม์พีซีอาร์ที่พัฒนาขึ้นเองบทคัดย่อ
ในงานบริการห้องปฏิบัติการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีความจำเป็นต้องพัฒนาและใช้ชุดตรวจคัดกรองหาการติดเชื้อ Chlamydia trachomatis (C. trachomatis) ซึ่งมีความถูกต้องแม่นยำ ราคาไม่แพง การศึกษาวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ประเมินประสิทธิภาพและราคาต้นทุน เปรียบเทียบระหว่างวิธี in-house real-time PCR กับชุดตรวจสำเร็จรูปที่ใช้ในปัจจุบัน เพื่อตรวจหาการติดเชื้อ C. trachomatis ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยได้นำตัวอย่าง จำนวน 100 ตัวอย่างที่พบผลบวก และ 30 ตัวอย่างที่พบผลลบ ต่อเชื้อ C. trachomatis ด้วยวิธี cell culture ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานมาศึกษาเปรียบเทียบกัน ตัวอย่างทั้งหมด 130 ตัวอย่างได้ถูกนำไปทดสอบด้วยชุดตรวจ in-house real-time PCR ซึ่งได้พัฒนา primer และ probe ตำแหน่ง Cryptic Plasmid (CP) ที่จำเพาะต่อเชื้อ C. trachomatis เปรียบเทียบกับชุดตรวจสำเร็จรูป จากนั้นได้วิเคราะห์ค่าความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก ค่าทำนายผลลบ ของชุดตรวจ in-house real-time PCR เปรียบเทียบกับชุดตรวจสำเร็จรูป (ชุดตรวจ Anyplex CT/NG real-time detection (V3.1), บริษัทยีนเอ๊กเซลเลนซ์,ประเทศเกาหลีใต้) พร้อมทั้งได้คำนวณต้นทุนเปรียบเทียบระหว่างสองวิธี
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ชุดตรวจ in-house real-time PCR kit ให้ผลถูกต้องเทียบเท่ากับชุดตรวจสำเร็จรูปการศึกษานี้พบความไว ร้อยละ 100 ความจำเพาะ ร้อยละ 96.7 ค่าทำนายผลบวก ร้อยละ 99 และค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 100 ตามลำดับ ราคาต้นทุนวิธี in-house real-time PCR 177 บาท/test ส่วนชุดตรวจสำเร็จรูป ราคา 808 บาท/test
ในการศึกษาครั้งนี้ พบตัวอย่าง 1 ตัวอย่าง ที่ให้ผลบวก C. trachomatis ทั้งสองวิธี คือ in-house real-time PCR และชุดตรวจสำเร็จรูป ขณะที่ผลเพาะเลี้ยงเซลล์ให้ผลลบ อาจเป็นไปได้ว่าวิธี real-time PCR มีความไวสูงกว่าวิธีเพาะเลี้ยงเซลล์ และผลจากการวิจัยชี้ชัดว่า การตรวจหาการติดเชื้อ C. trachomatis ด้วยวิธี in-house real-time PCR ให้ผลถูกต้องเทียบเท่าชุดตรวจสำเร็จรูป แต่มีราคาถูกกว่ามาก ชุดตรวจ in-house real-time PCR นี้สามารถนำมาใช้ตรวจงานประจำในห้องปฏิบัติการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Downloads
References
2. Orellana MA, Gómez-Lus ML, Lora D. Sensitivity of Gram stain in the diagnosis of urethritis in men. Sexually Transmitted Infections.2012, 88(4):284-87.
3. Lai-King Ng, Irene E Martin. The laboratory diagnosis of Neisseria gonorrhoeae. Can J Infect Dis Med Microbiol 2005; 16(1): 15-25.
4. Kanupriya G, LaDraka B, Rakesh KB, Christen GP, Xiaofei C, Rachel JG, et al. Performance of Chlamydia trachomatis OmcB Enzyme-Linked Immunosorbent Assay in Serodiagnosis of Chlamydia trachomatis Infection in Women. Journal of clinical microbiology. 2018, 56(9): 275-18.
5. Bachmann LH et al. Nucleic acid amplification tests for diagnosis of Neisseria gonorrhoeae and Chlamydia trachomatis rectal infections. Journal of Clinical Microbiology 2010, 48(5): 1827-32.
6. Schachter J et al. Nucleic acid amplification tests in the diagnosis of Chlamydial and gonococcal infections of the oropharynx and rectum in men who have sex with men. Sexually transmitted diseases 2008, 35(7): 637-42.
7. Manisha G, Anima S, Shravan KM. Molecular Diagnosis of Chlamydia trachomatis and Neisseria gonorrhoeae in Women at High Risk of Sexually Transmitted Infections. J Microb Biochem Technol 2017, 9(6): 321-24.
8. Hopkins MJ, Ashton J, Alloba F, et al. Validation of a laboratory-developed real-time PCR protocol for detection of Chlamydia trachomatis and Neisseria gonorrhoeae in urine. Sex Transm Infect 2010, 86: 207-11.