แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนงานเพื่อยุติปัญหาเอดส์ จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ชัยทัต ปัททุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร กระทรวงสาธารณสุข
  • ราตรี โพธิ์ระวัช มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • สายรุ้ง จันทรประสาท เครือข่ายชายรักชาย เขต 3 นครสวรรค์
  • น้ำทิพย์ ชูชัย เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ เขต 3

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2020.5

คำสำคัญ:

แนวทางปฏิบัติที่ดี, การขับเคลื่อนงาน, ยุติปัญหาเอดส์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนงานเพื่อยุติปัญหาเอดส์จังหวัดกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปบทเรียนและสังเคราะห์แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนงานยุติปัญหาเอดส์ จังหวัดกำแพงเพชร และนำเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนงานยุติปัญหาเอดส์ในระยะต่อไป พื้นที่เป้าหมายดำเนินการสรุปบทเรียน ได้แก่ อำเภอคลองขลุง อำเภอบึงสามัคคี  และอำเภอทรายทองวัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร  วิธีการในการถอดบทเรียนใช้วิธีการสนทนากลุ่ม และการเล่าเรื่อง  คณะผู้วิจัยจัดเก็บข้อมูลและดำเนินงานอื่นๆ ในระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2562 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

          จากการขับเคลื่อนงานยุติปัญหาเอดส์ ใน 3 อำเภอนำร่อง พบว่ามีระบบการทำงานเป็นทีมที่ดี มีการบูรณาการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายทั้งในระดับอำเภอและระดับจังหวัด ภาคีเครือข่ายมีความสัมพันธ์ที่ดี และมีความมุ่งมั่นในการทํางาน มีการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่องจากทีมประเมินผลโครงการยุติปัญหาเอดส์ระดับจังหวัด และการประเมินผลจากส่วนกลาง

         ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ คณะทำงานยุติปัญหาเอดส์ระดับจังหวัดควรขยายความครอบคลุมการอบรมลดการตีตราในตนเองและชุมชนโดยให้แกนนำผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีจิตอาสาเป็นวิทยากรให้ความรู้กับผู้ที่ยังไม่เข้าสู่ระบบบริการ จัดกิจกรรมการประชุมของคนทำงานด้านเอดส์ระดับจังหวัดต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง  จัดตั้งสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ Web Page, Facebook, Line โดยมีผู้รับผิดชอบงานเอดส์และพยาบาลเป็นผู้ให้คำปรึกษาผ่านสื่อคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง การสร้าง QR Code เพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ข้อมูลจุดติดตั้งถุงยางอนามัย ข้อมูลแกนนำถุงยางอนามัยในชุมชนพร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงถุงยางอนามัย โดยกระจาย QR Code ให้เข้าถึงจุดการรวมตัวของวัยรุ่นในชุมชนพร้อมทั้งปรับปรุงข้อมูลวิชาการด้านเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อสื่อสารกับประชาชน ให้ทันสมัย ต่อเนื่อง ผู้รับผิดชอบงานเอดส์ในโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอดำเนินการพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ให้มีศักยภาพและสนับสนุนให้มีการรับรองชมรมให้ถูกตามกฎหมาย เพื่อชมรมจะได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ต่อเนื่องทุกปี

References

เอกสารอ้างอิง
1. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. สำนักเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560–2573. กรุงเทพมหานคร: เอ็นซี คอนเซ็ปต์; 2560.

2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ยุติเอดส์. กรุงเทพมหานคร: สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์; 2559.

3. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เล่มที่ 2 การบริหารงบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์และการบริหารงบผู้ป่วยวัณโรค. กรุงเทพฯ : หจก.แสงจันทร์การพิมพ์; 2559.

4. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย. เคล็ดวิชาช่วยพัฒนาปูมประสิทธิผลโครงการเอดส์. นนทบุรี: บริษัท หนังสือดีวัน จำกัด; 2557.

เผยแพร่แล้ว

2020-05-31