ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ โรงพยาบาลตรัง

ผู้แต่ง

  • นันทพงศ์ พงศ์สุวรรณ โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2020.6

คำสำคัญ:

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยเอดส์, ยาต้านไวรัส

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาข้อมูลของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาที่ได้รับยาต้านไวรัส ตั้งแต่ตรวจพบการติดเชื้อจนถึงได้รับยาต้านไวรัสเพื่อการรักษา รวบรวมข้อมูลจากระบบสารสนเทศการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์แห่งชาติ (National AIDS Program: NAP) และเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลตรังระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 จำนวน 82 ราย ข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปและผลการตรวจวินิจฉัยโรคของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent sample T-test, One-way ANOVA สุดท้ายวิเคราะห์ Pearson correlation

          พบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 68.3) อายุเฉลี่ย 40.19±10.92 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 67.1) ประกอบอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 65.9) อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองตรัง (ร้อยละ 43.9) เป็นผู้มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 64.6) ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาที่ได้รับยาต้านไวรัส ได้แก่ การมีอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยฯ มีระยะเวลาตั้งแต่ตรวจพบการติดเชื้อจนถึงได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสนานกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาส (ค่ามัยธฐาน 48 และ 21 วัน ตามลำดับ) (p<0.01) นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยเม็ดเลือดขาว CD4 ในผู้ที่ไม่มีอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสสูงกว่าผู้ที่มีอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (336.79+198.95 และ 175.93+109.68 cells/µL ตามลำดับ) (p<0.01)

          สาเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มีอาการโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้รับยาต้านไวรัสล่าช้าน่าจะเกิดจากการที่ผู้ติดเชื้อต้องได้รับการรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาสก่อน โดยเฉพาะวัณโรค จึงควรต้องดำเนินการค้นหาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในชุมชนให้เร็วขึ้น

References

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรกณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2560.

ศูนย์พัฒนาระบบบริการยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ระดับชาติ ปี พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2553.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. สถานการณ์โรคเอดส์ จ.ตรัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 - 31 สิงหาคม 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [ตรัง]: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง; 2562. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2563]. จาก: http://www.tro.moph.go.th/index2.php.

อารีรัตน์ นิรันต์สิทธิรัชต์. รูปแบบการวิจัยและการออกแบบการวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. [เชียงใหม่]: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558. [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563]. จาก:http://www.zrolsoft.com/lpnhresearch/images/Newsflash/1Research Design.pdf.

Zar, J.H.. Biostatistical Analysis 4Th ed. New Jersey: Prentice Hall; 1999.

พิมใจ ศาทสิทธิ์. การเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต]. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

เบญจวรรณ นันทิยะกุล. ผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ในผู้ป่วยไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี -1 ที่ระดับซีดี4 ระหว่าง 200-250 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรเทียบกับผู้ป่วยที่มีระดับซีดี4 น้อยกว่า 200 และมากกว่า 250 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต]. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

เหมือนแพร บุญล้อม. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2562; 33: 427-440.

สุภมาส วังมี. การเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิกในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2562; 33: 89-402.

เผยแพร่แล้ว

2020-06-05