การประเมินผลการเรียนรู้ตามกระบวนการการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย ตามโมเดล Kirkpatrick

ผู้แต่ง

  • นุชนารถ แก้วดำเกิง กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
  • สิริพร ภิยโยทัย กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
  • จุฑามาศ มากกุญชร กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
  • ศิริกูล ชัยเจริญ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
  • เบญจมาศ ใจงาม กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
  • เกศินี เขียนวารี กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2020.9

คำสำคัญ:

การประเมิน Kirkpatrick, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

บทคัดย่อ

          การประเมินผลการเรียนรู้ตามกระบวนการการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (HIV&STIs Literacy) ใช้รูปแบบการประเมินผล ตามโมเดล Kirkpatrick(1) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินรูปแบบกิจกรรมในคู่มือการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและเพื่อเปรียบเทียบผลของการเปลี่ยนแปลงของทักษะ 5 ทักษะ ในกลุ่มชายมี เพศสัมพันธ์กับชายก่อนและหลังร่วมการฝึกการเรียนรู้ตามกระบวนการของการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่อง เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งดำเนินงานระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2563 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เยาวชนกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย จำนวน 13 คน มีผู้เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ครูผู้สอน แกนนำในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข ทีมวิทยากรกระบวนการ จำนวน 7 คน รวมกลุ่มเป้าหมาย 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินก่อนและหลังร่วมกิจกรรม แบบบันทึกกิจกรรม และแนวทางการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินให้ข้อมูล 4 ด้านคือ (1) การตอบสนอง (reaction) ได้แก่ แนวความคิด และทัศนคติ (2) การเรียนรู้ (learning) ได้แก่ การสร้างเสริมความรอบรู้ ทักษะสำคัญ ๆ เช่น ทักษะการเข้าถึง ทักษะการสร้างความเข้าใจ ทักษะการไต่ถาม ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการนำไปใช้ (3) การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม (behavior change) ได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพ และ (4) ผลลัพธ์ (results) ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นและมีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการ
จัดการเรียนรู้ตามกระบวนการการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (HIV&STIs Literacy) การตอบสนอง (reaction) แนวความคิดของกลุ่มเป้าหมายโดยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยแบบบันทึกกิจกรรมการแสดงออกทางบวกและทางลบ (positive & negative reaction) พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีทัศนคติ และการยอมรับ กระบวนการของการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่ประกอบด้วย ทักษะการเรียนรู้ (learning) ทักษะที่สำคัญๆ 5 ทักษะ อันได้แก่ ทักษะการเข้าถึง ทักษะการสร้างความเข้าใจ ทักษะการไต่ถาม ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการนำไปใช้ และการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม (behavior change) พฤติกรรมเป้าหมาย ของกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย มีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีและ คัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก่อนและหลังการเรียนรู้ พบว่า หลังการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกัน เพิ่มสูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.042) รูปแบบการประเมินนี้สามารถให้ข้อมูลและมุมมองที่รอบด้านมากขึ้น สำหรับใช้พัฒนากระบวนการฯ เพื่อให้กลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Kirkpatrick D.L. Kirkpatrick’s learning and training evaluation theory. University of Wisconsin, US. 1999.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. ชุดความรู้การดูแลรักษา สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้โรคโดยตรง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ พระพุทธศาสนาแห่งชาติ. 2556. 3. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. ความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม

สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. พ.ศ. 2559.

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไข ปัญหาเอดส์. ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573. นนทบุรี. 2560.

กรมอนามัย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. (Health Literacy) สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563. เข้าถึงจาก http://planning.anamai.moph.go.th/main.php? filename=data_hl

วิมล โรมา. กรมอนามัย. การประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานชุมชน ลดเสี่ยง ลดโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้ชุมชน เป็นฐาน CBI NCDs สำหรับบุคลากรสาธารณสุข 17 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563. เข้าถึงจาก http://foodsan.anamai.moph.go.th/down-load/D_HLO/Health%20Literacy%20&%20Health%20Communication.pdf.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy). เอกสารประกอบการบรรยาย ในการประชุมคณะทำงานสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในงานป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ กรมควบคุมโรค, วันที่ 14-15 มกราคม 2562.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิซซิ่ง จำกัด(มหาชน). 2561.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: ขั้นพื้นฐาน ปฏิสัมพันธ์ วิจารณญาณ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน). 2562.

ภรกต สูฝน. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกัน โดยไม่รังเกียจในกลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน. วารสารโรคเอดส์ 2563; 32(1): 1-14.

Goldgruber J, Ahrens D. Effectiveness of work-place health promotion and primary prevention interventions. J Public Health. 2010;18: 75-88.

Egan M, Bambra C, Thomas S, Petticrew M, Whitehead M, Thomson H. The psychosocial and health effects of workplace reorganisation. J Epidemiol Community Health 2007;61:945-54.

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28