การเลี่ยงคำและการใช้วิธีคำเลี่ยงในการสื่อสารกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ พลทิพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2021.1

คำสำคัญ:

การเลี่ยงคำ, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี

บทคัดย่อ

          การติดเชื้อเอชไอวีเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ส่งผลใหเ้กิดความเปราะบางในการปรับตัว บุคลากรทางสาธารณสุขจึงต้องมีทักษะการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจและไว้วางใจของผู้ติดเชื้อ การใช้คำเลี่ยงเป็นลักษณะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อลดความรุนแรงของคำที่สามารถนำมาใช้กับกลุ่มผู้ติดเชื้อ จากการวิเคราะห์คำที่ปรากฏในสื่อออนไลน์ Twitter ที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2563 เพื่อศึกษาการใช้คำเลี่ยงและตัวอย่างคำเลี่ยงของกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี พบว่า มีคำเลี่ยงที่ใช้ทดแทนคำทั่วไปที่ใช้ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 5 กลุ่มคำ คือ 1) เชื้อเอชไอวี เช่น +, H, H+ 2) การติดเชื้อเอชไอวี เช่น ชีวิตติด+, ชีวิตคิดบวก, Positive thinking 3) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เช่น ครอบครัวตัว H, ผู้ใช้ชีวิตร่วมกับ H 4) ผู้รับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี เช่น ทีมสามทุ่ม, ทีมสี่ทุ่ม, ชีวิตติดทีเวียร์ และ 5) ยาต้านเอชไอวี เช่น วิตามิน, ขนม โดยมีข้อเสนอแนะในการใช้เทคนิคการเลี่ยงคำ เพื่อลดความรุนแรงของคำในการสื่อสารและแสดงถึงความเข้าใจ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยการประเมินความต้องการในการสื่อสารของผู้ติดเชื้อเอชไอวี สร้างข้อตกลงร่วมกันกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีเกี่ยวกับวิธีการใช้คำเลี่ยงและคำเลี่ยงที่จะใช้ในการสื่อสาร ศึกษาตัวอย่างคำเลี่ยงที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้ติดเชื้อ และใช้เทคนิคหรือวิธีการอื่นในการสื่อสารร่วมด้วย ทั้งนี้บุคลากรทางสาธารณสุขควรพัฒนาตนเอง ในด้านทักษะการติดต่อสื่อสารให้เกิดการใช้ภาษาในการสื่อสารทางสุขภาพอย่างสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบอย่างต่อเนื่อง

Author Biography

กิตติพงษ์ พลทิพย์, คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

ร้อยเอก ดร. กิตติพงษ์  พลทิพย์

CAPT. DR. KITTIPHONG PHONTIP

ตำแหน่ง                   อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

การศึกษา

2553             พยาบาลศาสตรบัณฑิต  วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

2558             สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสุขภาพชุมชน) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

2558             ประกาศนียบัตรหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

2563             ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 

ประสบการณ์ทำงาน

2553 – 2554             พยาบาล หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 302 โรงพยาบาลค่ายสุรนารี

2554 – 2556            พยาบาลส่งเครื่องมือ แผนกห้องผ่าตัด โรงพยาบาลค่ายสุรนารี

2556 – 2558            นายทหารพยาบาลห้องผ่าตัด กองร้อยเสนารักษ์ที่ 1 กองพันเสนารักษ์ที่ 6

2558 – 2559            ผู้บังคับหมวดพยาบาล กองร้อยเสนารักษ์ที่ 1 กองพันเสนารักษ์ที่ 6

2559 – ปัจจุบัน           อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

 

 

ผลงานวิชาการ

กิตติพงษ์ พลทิพย์ และธนิดา ผาติเสนะ.  (2557).  “ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการบำบัดผู้ติดสุรา :กรณีศึกษาตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด”.  งานประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 8.  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.  1-10.

กิตติพงษ์ พลทิพย์.  (2560).  “แนวทางปรับปรุงการเตรียมการจัดกิจกรรมการเล่นในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น”. การประชุมวิชาการและนำเสนองานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 10 การพัฒนางานวิจัย สร้างสรรค์สู่นวัตกรรม Thailand 4.0.  มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.  117-122.

พิกุล มีมานะ, ภักดี โพธิ์สิงห์, สนุก สิงห์มาตร และกิตติพงษ์ พลทิพย์.  (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560).  “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: ความล้มเหลวที่ต้องยกเลิกจริงหรือ?”.  วารสารศรีวนาลัยวิจัย.    7(2) : 78-89.

อณัญญา ลาลุน, พรภัทรา แสนเหลา, ฐานิดา สมขันตี และกิตติพงษ์ พลทิพย์.  (2561).  “ความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ”. การประชุมวิชาการและนำเสนองานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 11 นวัตกรรมงานวิจัย สู่การสร้างสรรค์พัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืนมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.  29-34.

กิตติพงษ์ พลทิพย์.  (มกราคม-มิถุนายน 2561).  “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กับบทบาทพยาบาลในการพัฒนาสุขภาพ”.  วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา.   24(1) : 143-150.

กิตติพงษ์ พลทิพย์.  (2561).  “การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของนิสิตพยาบาล”.  การประชุมวิชาการและนำเสนองานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 13 วิถีนวัตกรรมไทยด้วยการพัฒนางานวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.  120-125.

กิตติพงษ์ พลทิพย์.  (2562).  “การศึกษาแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองในรายวิชาศิลปะการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง”.  การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์ ตามหลักพุทธศาสตร์พัฒนาชาติอย่างมั่นคง.  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.  1222-1230.

กิตติพงษ์ พลทิพย์ และสุพิน สุโข.  (2562).  “สุราและการบำบัดรักษาผู้ติดสุรา”.  การประชุมวิชาการและนำเสนองานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 15 บูรณาการงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม.  มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.  58-69.

ชื่นชีพ งามจบ, ริรร์ พิมมานุรักษ์, ปัณณทัต บนขุนทด, กิตติพงษ์ พลทิพย์ และวรีภรณ์ ชัยยะเตชานนท์. (2562).  “ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองจาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี”.  การประชุมวิชาการและนำเสนองานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 15 บูรณาการงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.  1-12.

กิตติพงษ์ พลทิพย์, รังสรรค์ สิงหเลิศ และณรงค์ฤทธิ์ โสภา.  (มกราคม-เมษายน 2563).  “การพัฒนารูปแบบลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด”.  วารสารราชพฤกษ์.  18(1) :29-37.

ฐานิดา สมขันตี, กิตติพงษ์ พลทิพย์, ดารุณี นะรารัมย์, ศลิษา เหมาสีหมึก, จามจุรี จันทะสุทธา, รัตนาภรณ์ที่ดี, พรรณี ศรีคำภา, นวนภัส สีดา, มณฑิตา จรรยา และกมลลักษณ์ สิงหนาท.  (2563). “นวัตกรรม “สัญลักษณ์เวลาหยอดตา””.  การประชุมวิชาการและนำเสนองานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 16 งานวิจัยเพื่อการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย.  มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.  46-50.

กิตติพงษ์ พลทิพย์, พิกุล มีมานะ และสินทรัพย์ ยืนยาว.  (มกราคม-มิถุนายน 2563).  “การนำเสนอชุมชนคุณธรรมผ่านกาพย์เซิ้งบั้งไฟ”.  วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 9(1) : 473-483.

กิตติพงษ์ พลทิพย์, พระบุญทัน ไชยชาญรำ และพระสุรชัย ปงเมฆ.  (2563).  “เอกลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์”.  การประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา ครั้งที่ 3.  สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.  346-351.

References

Bureau of AIDS, Tuberculosis and Sexually Transmitted Diseases, Department of Disease Control (TH). Office performance report AIDS, tuberculosis and sexually transmitted diseases. Year 2018. Bangkok: Six One Seven Company Limited (TH); 2018. (in Thai)

Jai Siriso, Sureeporn Thanasilp, Noppamas Phatthong. Selection factors related to mortality quality of end stage cancer patients as perceived by their caregivers. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University. 2017; 29 (2): 112- 123. (in Thai)

Patcharaphon Salee. Thai language convention. Journal of MCU Nakhondhat. 2019; 6 ( 4 ) : 1622-1644. (in Thai)

Bureau of AIDS, Tuberculosis and Sexually Transmitted Diseases, Department of Disease Control (TH). HIV/AIDS Treatment Literacy. Nonthaburi: Department of Disease Control (TH); 2011. (in Thai)

Teachers of the Royal Institute of Thailand (TH) Nursing for adults and the elderly, Volume 3. Nonthaburi: Yutharin Printing (TH); 2014. (in Thai)

Yuthachai Chaisit, Khwanpraphasorn Chanbula¬wat, Saowanee Sobun, Apinyakun Talay. Spiritual distress healing for people living with HIV/ AIDS: The nursing roles. Journal of Nursing and Health Care. 2017; 35(3): 31-38. (in Thai)

Nihafisahaji Wan Ngo. Attitudes about AIDS and social stigma case studies of the muslim community in Pattani province. Asia Review. 2013; 34(1): 107-129. (in Thai)

College of Nursing, Thai Red Cross Society (TH). Psychiatric Nursing. 2nd edition, Bangkok: Chulalongkorn Printing Press University (TH); 2015. (in Thai)

Academic Welfare Program Royal National Institute of Education (TH). Psychiatric Nursing and Mental Health. 2nd edition. Bangkok: Thanapress (TH); 2014. (in Thai)

Chotirot Timpattanaphong. Health Communications Point of View :Who Sends the Message, Who Receives the Message, Who Gets the Ben¬efits. Payap University Journal. 2012; 23(1): 57-71. (in Thai)

Sawankamol Chantaramano, Phitak Siriwong, Pairote Wilainuch. Communication structures and practices of palliative care volunteers with caregivers of end-stage patients with chronic non-communicable diseases. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 2016; 9(2): 1224-1244. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-04