การติดเชื้อเอชไอวีในแรงงานข้ามชาติที่เป็นโรคซิฟิลิสและมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์: การศึกษาในจังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • อภิษฎา รัศมี สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • จุไรรัตน์ รัตนเลิศนาวี โรงพยาบาลตะกั่วป่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2019.2

คำสำคัญ:

ซิฟิลิส, การติดเชื้อเอชไอวี, แรงงานข้ามชาติ, พฤติกรรมเสี่ยงด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

บทคัดย่อ

          การศึกษาภาคตัดขวางเพื่อหาความสัมพันธ์ของการติดเชื้อซิฟิลิสและพฤติกรรมเสี่ยงด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในแรงงานข้ามชาติ ในอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 660 คน ที่สมัครใจตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีและให้ข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อซิฟิลิส 102 คน และไม่ติดเชื้อซิฟิลิส 558 คน พบว่าแรงงานที่ติดซิฟิลิสตรวจพบติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 5.88 มากกว่า 2.62 เท่า (,95%CI:0.97-7.06; p=0.057) เมื่อเทียบกับกลุ่มไม่ติดเชื้อซิฟิลิสที่ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 2.33   พฤติกรรมเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี คือ การป่วย/มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Odd Ratio (OR) =81.47, 95%CI:10.77-616.40; p<0.0001) มีคู่ป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (OR=22.02, 95%CI: 6.32-76.73; p<0.0001) การไม่ใช้ถุงยางอนามัย (OR=22.84, 95%CI:3.03-172.43, p=0.0024) และการมีคู่เพศสัมพันธ์หลายคน  (OR=4.36, 95%CI:1.43-13.24; p=0.0096) ข้อค้นพบสะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความชุกของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอชไอวี และการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ป้องกัน ดังนั้นควรเพิ่มมาตรการในการเร่งค้นหา ตรวจวินิจฉัย รักษาผู้ป่วย/คู่สัมผัส และส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

References

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ปี 2561. นนทบุรี. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Syphilis—CDC Fact Sheet (Detailed) [Internet]. [cited: 2017 June 22]. Available from: http://www.cdc.gov/std/syphilis/stdfact-syphilis-detailed.htm

Centers for Disease Control and Prevention. 2016 Sexually Transmitted Diseases Surveillance [Internet]. [cited: 2017 June 22]. Available from: https://www.cdc.gov/std/stats16/syphilis.htm

Bowen V, Su J, Torrone E, Kidd S, Weinstock H. Increase in incidence of congenital syphilis—United States, 2012–2014. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2015; 64: 1241 - 5.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รง.506 ประจำปี 2556. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รง.506 ประจำปี 2560. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Richens J. Sexually transmitted infections and HIV among travelers: A review. Travel Medicine and Infectious Disease, 2006; 4: 184 - 95.

จุไรรัตน ์ รัตนเลิศนาวี, พรเลิศ จิตต์ประทุม, อภิษฎา รัศมี. อุบัติการณ์ของโรคซิฟิลิส และการติดเชื้อเอชไอวีในแรงงานต่างด้าว อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงาในปี 2547. การสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 18 (เครือข่ายระบาดวิทยาทั่วไทยเฝ้าระวังภัยทั่วประเทศ); 25 - 27 พ.ค. 2548; โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2548. หน้า 176 - 177.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี (HIV sero-surveillance). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th/files/report/20151126_87903337.

อุดม ไกรฤทธิชัย, เดือนเพ็ญ พึ่งพระเกียรติ, กฤษณา อาษายศ, กัญญา บุญทองโท. ความชุกของโรคติดเชื้อในแรงงานต่างด้าวที่มาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลราชวิถี. วารสารสาธารณสุข 2555; 21: 704 - 11

อภิษฎา รัศมี, จุไรรัตน์ รัตนเลิศนาวี. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในแรงงานข้ามชาติในอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. ประชุมสรุปผลการศึกษาวิจัย; วันที่ 20 กรกฎาคม 2561; โรงพยาบาลตะกั่วป่า,อำเภอตะกั่วป่า. พังงา; 2561. หน้า1 - 12.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.รายงานสถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มแรงงานข้ามชาติประเทศไทย พ.ศ. 2555. [อินเทอร์เน็ต]. 2557. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th/aids/Downloads/book/2557/Final_report_migrant_2555.pdf

Reynolds SJ, Risbud AR, Shepherd ME, Rompalo Am, Ghate MV, Godbole SV, et al. High rates of syphilis among STI patients are contributing to the spread of HIV-1 in India. Sex Transm Infect 2006; 82: 121 - 6.

อังคณา เจริญวัฒนาโชคชัย. สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงของเอดส์กับ STI และปัญหาที่พบจากการลงดำเนินการในพื้นที่. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 22 มิ.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://aidssti.ddc.moph.go.th/contents/download/213.

UNAIDS. 2016 – 2021 Strategy. On The Fast-Track to end AIDS [Internet]. [cited: 2017 June 22]. Available from: http://www.unaids.org/sites/default/files/media_asset/20151027_ UNAIDS_PCB37_15_18_EN_rev1.pdf

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

บังอร เทพเทียน สุพัตรา ศรีวณิชชากร และประภาพรรณ จูเจริญ. การเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีใน 9 กลุ่มประชากรเป้าหมายพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ปี 2558. นครปฐม ; สถาบันพัฒนาสุขภาพ - อาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. 131 หน้า

CDC. 2017 HIV/AIDS HIV Risk Behaviors. [Internet]. [cited: 2017 July 21]. Available from: https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html.

CDC. 2018 HIV Risk and Prevention. [Internet]. [cited: 2017 July 21]. Available from: https://www.cdc.gov/hiv/risk/index.html.

Solomon MM, Mayer KH, Glidden DV, Liu AY, McMahan VM, Guanira JV, et al. Syphilis predicts HIV incidence among men and transgender women who sex with men in a preexposure prophylaxis trial. Clin Infect Dis 2014; 59: 1020 - 6.

Reynolds SJ, Risbud AR, Shepherd ME, Rompalo Am, Ghate MV, Godbole SV, et al. High rates of syphilis among STI patients are contributing to the spread of HIV - 1 in India. Sex Transm Infect 2006; 82: 121 - 6.

Mwapasa V, Rogerson SJ, Kwiek JJ, Wilson PE, Milner D, Molyneux ME, et al. Maternal syphilis infection is associated with increased risk of mother-to-child transmission of HIV in Malawi. AIDS 2006; 20: 1869 - 77.

Palaclos R, Jimenez-Onate F, Aguilar M, Galindo MJ, Rivas P, Ocampo A, et al. Impact of syphilis infection on HIV viral load and CD4 cell counts in HIV-infected patients. J Acquir Immune Defic Syndr 2007; 44: 356 - 9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-04