การพัฒนารูปแบบกิจกรรมฝึกทักษะการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน

ผู้แต่ง

  • สิริพร ภิยโยทัย กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • นุชนารถ แก้วดำเกิง กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • จุฑามาศ มากกุญชร กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ศิริกูล ชัยเจริญ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เบญจมาศ ใจงาม กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เกศินี เขียนวารี กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2021.10

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ถุงยางอนามัย

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัยและพัฒนา โดยใช้วิธีการ 4 ขั้นตอน คือ 1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2. การสร้างรูปแบบกิจกรรมฝึกทักษะการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน 3. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน และ 4. การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และ paired sample’s t-test

          ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบกิจกรรมฝึกทักษะการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน ประกอบด้วยกิจกรรมฝึกทักษะ 5 กิจกรรม ได้แก่ ทักษะการเข้าถึง ทักษะการสร้างความเข้าใจ ทักษะการไต่ถาม ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการนำไปใช้โดยใช้กลวิธีต่างๆ คือ เทคนิคการใช้ภาพ ใช้เครื่องมือตรวจสอบและบันทึกคะแนน เทคนิคการสอนกลับ การแสดงเพื่อให้ตรวจสอบ การสร้างบรรยากาศให้เกิดความกล้าที่จะถาม การตรวจสอบตามรายการ และการใช้คำถามสำคัญ 3 ข้อ โดยหลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพิ่มขึ้นจาก 132.63 คะแนน เป็น 155.58 คะแนน และมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่ารูปแบบกิจกรรมนี้ สามารถพัฒนาทักษะการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

UNAIDS. AIDS BY THE NUMBERS [Internet]. 2020 [cited 2020 Apr 1]. Available from: https://www.unaids.org/en

Division of AIDS&STIs. Estimated HIV infection, Thailand [Internet]. 2020 [cited 2020 Apr 1]. Available from https://hivhub.ddc.moph.go.th (in Thai)

National Committee on the Prevention and Solution of AIDS. Situations and actions to prevent and solve AIDS problems. National Strategy on Ending AIDS Problems 2017-2030. Bangkok: NC Concepts Company limited; 2017. p.3. (in Thai)

Bureau of Epidemiology. Results of behavioral surveillance associated with HIV infection. In the vocational education group, vocational certificate, year 2, Thailand, 2018. Report of behavioral surveillance associated with HIV infection Thailand Student Group, 2018. Bangkok: Aksorn Graphic and Design publishing limited partnership (TH); 2018. p.33-5. (in Thai)

Mc Carthy D, Waite K, Curtis L, Engel K, Baker D, Wolf D. What did the Doctor Say? Health Literacy and Recall of Medical Instructions Medicare. 2012; 50(4): 277-82.

Jordan J, Burchbinder R, Osborne R, Osborne R. Conceptualising health literacy from the patient perspective. Patient and Education Counseling. 2010; 79(1): 36-42.

Pariyanut Tangnorakul, Siriyupa Sananreangsak, Narumon Teerarungsikul. The Relationship between Sexual Health Literacy and Sexual Behavior among Middle School Female Students. Royal Thai Navy Medical Journal. 2019; 46(3): 607-20. (in Thai)

Bureau of Risk Communication and Health Behavior Development. Annual report, 2018. Bangkok: Aksorn Graphic and Design publishing limited partnership (TH); 2018. p.43-4. (in Thai)

World Health Organization. Health Promotion Glossary. Division of Health Promotion, Education and Communications, Health education and Health Promotion Unit, World Health Organization, Geneva: 1998. 1-10.

Kwanmuang Kaeodumkoeng. Health Literacy: functional interactive critical. 1st edition, Bangkok: Amarin Printing & Publishing Public., Ltd (TH); 2019. (in Thai)

Kwanmuang Kaeodumkoeng. Health Literacy: access understand and application. 2nd edition, Bangkok: Amarin Printing & Publishing Public.,Ltd (TH); 2018. (in Thai)

Porakot Soofon. The result of HIV Literacy Program to promote behavior of living together without abhorrence among village health volunteers. Thai AIDS journal. 2020; 32(1): 1-4. (in Thai)

Nutchanart Kaeodumkoeng, Siriporn Piyayothai, Juthamat Makkunchorn, Sirikoon Chaijarern, Benjamard Jaingam, Kesinee Khainwaree. Evaluation of learning based on the process for enhancing health literacy on HIV and STIs (HIV and STIs Literacy) among men who have sex with men according to the Kirkpatrick model. Thai AIDS journal. 2020; 32(3): 114-31. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-05