ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • กัญญา พฤฒิสืบ งานเอดส์งานผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2021.12

คำสำคัญ:

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์, การขาดนัดการรักษา, การคงอยู่ในระบบ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดนัดการรักษา และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านโครงสร้างสถานบริการ บุคคล ชุมชนที่มีผลต่อการขาดนัดในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป มีประวัติขาดนัดเกิน 1 สัปดาห์อย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปี จำนวน 349 คน และผ่านเกณฑ์สมัครใจในการทำแบบสอบถาม 67 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เพื่อหาความสัมพันธ์กับการขาดนัดในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดนัดการรักษาเป็นเพศชายมากที่สุด ร้อยละ 55.20 มีอายุระหว่าง 21-41 ปี ร้อยละ 53.70 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท ร้อยละ 52.20 มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 44.80 และจากการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านโครงสร้าง สถานบริการ บุคคล/ชุมชนที่มีผลต่อการขาดนัดไม่มาตามนัดพบว่า (1) ด้านการเข้าถึงบริการ ได้แก่ มีระยะทางไกลจากบ้านพักหรือที่ทำงานพบมากที่สุด ร้อยละ 56.00 ไม่มีงานทำ ร้อยละ 32.00 และมีค่าเดินทางแพง ร้อยละ 16.00 (2) ด้านคุณภาพคลินิกพบว่า ไม่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุด ร้อยละ 53.80 และกลัวถูกเปิดเผยเลือดให้ผู้อื่นรู้ ร้อยละ 30.80 (3) ด้านการทำงานและครอบครัวพบว่า ทำงานงานยุ่งพบมากที่สุด ร้อยละ 67.60 ต้องดูแลครอบครัว ร้อยละ 38.20 และสามีหรือภรรยาเสียชีวิต ร้อยละ 5.90 (4) ด้านสุขภาพพบว่า มียารับประทานเหลือพบมากที่สุด ร้อยละ 48.30 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ร้อยละ 31.00 และไม่จำเป็นต้องกินยา ร้อยละ 3.40 และ (5) ด้านการรับรู้ข้อมูลอื่น ๆ การย้ายกลับบ้านพบมากที่สุด ร้อยละ 100

References

Bureau of AIDS, Tuberculosis and Sexually Transmitted Infection, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2017. 1st Edition, Bangkok: Agricultural Cooperative Society of Thailand Limited Printing House; 2017. (in Thai)

NAP Web Report [Internet]. Nonthaburi: National Health Security Office. c2016- [cited 2020 July 1]. Available from: http://napdl.nhso.go.th/NAPWebReport/LoginServlet. (in Thai)

HIV INFO HUB [Internet]. Nonthaburi: Division of AIDS and Sexually Transmitted Infection, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. c2019-[cited 2020 July 1]. Available from: https://hivhub.ddc.moph.go.th/ index.php. (in Thai)

Vilawan Chamaleak, Thanida Tangyingyong, Yongyut Watanachai. Efficacy Study of HIV/AIDs Patient Care Development System. Ubon Ratchathani: Sapphasitthiprasong Hospital, Ubon Ratchathani Province; 2013. (in Thai)

Chananya Kumkrong, Wantana Maneesriwongul, Poolsuk Janpanish. Relationships of Health Literacy and Knowledge about Antiretroviral Therapy to Medication Adherence among People Living with HIV. Kuakarun Journal of Nursing. 2014; 21(2): 211-28. (in Thai)

Aravan Mungvongsa. Health Behavio Modification. Faculty of Nursing Phetchaburi Rajabhat University [Internet]. [cited 2020 October 1] Available from: http://nurse.pbru.ac.th/th/wp-content/uploads/2020/05. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-02