การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลส่องดาว

ผู้แต่ง

  • ประจักร เหิกขุนทด โรงพยาบาลส่องดาว

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2021.13

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์, โรงพยาบาลส่องดาว

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ และนำรูปแบบที่พัฒนานี้ไปใช้ในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มตัวอย่างคือ ทีมพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยทางคลินิก 12 คนและผู้รับบริการรับยาต้านไวรัสเอชไอวี 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยการระดมความคิดเห็นด้านสภาพปัญหาโดยใช้เทคนิคแผนที่ความคิด (Mind map) การสนทนากลุ่ม รวบรวมข้อมูลจากเอกสารการปฏิบัติงาน แนวทางปฏิบัติ การสังเกต และแบบบันทึกกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจำแนกประเภท วิเคราะห์แบบอุปนัย ตีความหมาย สร้างข้อสรุป และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึง เมษายน 2564

          ผลการศึกษา พบว่า ทีมพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยทางคลินิกได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โดยการศึกษาบริบท รูปแบบการปฏิบัติงานในคลินิกรับยาต้านไวรัส วิเคราะห์สภาพปัญหาการเข้าถึงบริการ การให้บริการดูแลรักษา ขั้นปฏิบัติการวิจัยได้เพิ่มความรู้ สร้างความตระหนักแก่ทีมพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยทางคลินิก และสร้างเครือข่ายในชุมชน ทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ อบรมฟื้นฟูศักยภาพ ผู้ประสานงาน (HIV Coordinator: HIV Co) และทีมที่ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ปรับระเบียบปฏิบัติงานทางคลินิก (Clinical Practice Guideline: CPG) ให้ทันสมัยและมีการประกาศใช้ เมื่อนำรูปแบบที่พัฒนามาใช้ พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงสมัครใจตรวจหาเชื้อเอชไอวี จำนวน 391 คน และกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการแสดงที่ตรงกับเอดส์ 2 คน เปิดเผยสถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวีแก่ครอบครัวและมารับการตรวจ ที่โรงพยาบาล ผลเป็นบวกทั้ง 2 คน ได้รับยาต้านไวรัสตามเกณฑ์ และอัตราของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับยาต้านสามารถกดไวรัสได้สำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 93.24

References

National Committee on the Prevention and Response to AIDS. Situations and actions to prevent and solve AIDS problems. National Strategy on Ending AIDS Problems 2017-2030. Bangkok: NC Concepts Company limited; 2017. p.3. (in Thai)

Panumard Yarnwaidsakul. Policies lead to an end to AIDS and STIs. Paper presented at Workshop to develop network partners’ potential and community service centers to end AIDS and STIs; 2017 July 31; The Prince Palace Hotel, Nonthaburi. (in Thai)

Yuttachai Chaiyasit, Rattiya Thong-on, Phensiri Dumrongpakapakorn, Boonrod Donprapeng, Duangjai Boonkong, Patchanee Somkumlung. The Strategies to Improve Antiretroviral Drug Adherence: A Literature Review. Princess of Naradhiwas University Journal. 2013; 5(3): 13-24. (in Thai)

Amporn Tina. Effects of Empowerment Together with Social Supports to Health Behaviors among HIV Infected Persons and AIDS Patients Currently Receiving Anti-retroviral in Sansai Hospital, Chiang Mai. Lanna Public Health Journal. 2011; 7(2): 211-23. (in Thai)

Bureau of AIDS, Tuberculosis and Sexually Transmitted Infection, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2017. Bangkok: Agricultural Cooperative Society of Thailand Limited Printing House; 2017. (in Thai)

Song Dao Hospital. Summary of results of antiretroviral treatment clinics at Song Dao Hospital in the year 2019. Staple documents; 2020. (in Thai)

Vilawan Chamaleak, Thanida Tangyingyong, Yongyut Watanachai. Efficacy Study of HIV/AIDs Patient Care Development System. Medical Journal of Srisaket Surin Burirum Hospitals. 2014; 29(1): 29-40. (in Thai)

Wanthanee Tharnthanaboon. Evaluation of the HIV/AIDS Care Model of the Health Service Network in Buntharik District, Ubon Ratchathani Province. Thai AIDS Journal. 2019; 31(1): 70-84. (in Thai)

Kansiri Chancharoen. Chapter 5 Determination of population and sample groups. In: Pragai Jirojanakul, editor. Nursing research: concepts, principles and practices. 2nd Edition. Nonthaburi: The Royal Institution Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health; 2009. p.85-112. (in Thai)

Bungyong Chayatub, Manop Srisuphanhavorn. Successful Antiretroviral Therapy for HIV Infected-Inmates Six Year’s Experience in Bangkwang Central Prison. Thai AIDS Journal. 2018; 30(3): 129-46. (in Thai)

Pakornkit Phruksaudomchai, Chatnarin Mateekul, Kanvee Viwatpanich. Experience of Self- Disclosure of HIV-Positive Status to Family Member, Qualitative Research. Thai AIDS Journal. 2018; 30(3): 129-46. (in Thai)

Bureau of AIDS, Tuberculosis and Sexually Transmitted Infection, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Guidelines for initiating antiretroviral drugs at all CD4 levels in 2014. Bangkok: Agricultural Co-Operative Federation of Thailand Ltd; 2014. p.96 (in Thai)

Thidaporn Jirawattanapisal. Antiretroviral Treatment Service Delivery and Roles of Human Resource for Health in Different Levels of Care. Thai AIDS Journal. 2017; 29(1): 1-9. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-07