ความชุกของการติดเชื้อโรคหนองใน พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยเพศหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหนองใน คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • มณฑาทิพย์ ศรีวรรณ ศูนย์การแพทย์บางรักด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • สมฤทัย พวงศิลป์ ศูนย์การแพทย์บางรักด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2022.3

คำสำคัญ:

ความชุก, เชื้อโรคหนองใน, พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, ลักษณะทางคลินิก

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกของการติดเชื้อโรคหนองใน 2) ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และ 3) ศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยเพศหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหนองใน คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยกำหนดตัวแปรที่จะศึกษาในแฟ้มประวัติผู้รับบริการเพศหญิงที่รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโรคหนองใน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) ความชุกของการติดเชื้อโรคหนองในในกลุ่มผู้ป่วยเพศหญิง ที่มารับบริการที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร เฉลี่ยเท่ากับ 0.75 (2) พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.79 มีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย 0-7 วัน สามี แฟน และคู่นอนชั่วคราวมีอาการ รวมร้อยละ 75.73 คู่นอนไม่ใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 68.93 และ (3) ลักษณะทางคลินิก ผู้ป่วยหญิงส่วนใหญ่ที่มีอาการผิดปกติ ร้อยละ 63.10 อาการที่พบบ่อยคือตกขาวสีเหลือง ร้อยละ 16.50 และร้อยละ 33.00 พบมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคร่วมอื่น ๆ การวินิจฉัยและการดูแลรักษาโรคหนองในที่เหมาะสมและรวดเร็วในผู้ป่วยหญิงสามารถลดการติดต่อโรคไปสู่คู่นอนได้

References

Department of Disease Control, sexually transmitted disease group. Learn and understand sexually transmitted diseases and AIDS. Bangkok: Agricultural Cooperative Association of Thailand (TH); 2016. (in Thai)

Wilawan Thipmontree, Chenchit Chayachinda, and Rossaphorn Kittiyoawamarn. STI surveillance and prevention: gonorrhea. Siriraj Medical Bulletin. 2020; 13(3): 196-204.

Pichetpong Sotawong, Teerayut Thongsuth and Somchit Pimsorn. Sex services, perceptions of STD, health problems and sexual violence of female Lao sex workers at the chong mek Thai-Lao border, Ubon Ratchathani Province. Journal of Phrapokklao Nursing College. 2011; 30(1): 22-30.

Atita Ruengsaen, Seree Teerapong, Athirat Janpanichjaroen and Danukrit Kalampakorn. Correlated factors of sexually transmitted infections in sexual assault victims receiving services at police general hospital. Journal of the Police Nurses. 2017; 9(1): 197-205.

Sriripon Monyarit. Situation of the 5 main sexually transmitted diseases among youth in Thailand, fiscal year 2014-2018. Bangkok: Department of Disease Control; 2020. (in Thai)

Jinthapha Thasiri. The awareness of sexual risk behaviors for sexually transmitted diseases among undergraduate student at a private university in Bangkok. In: Rangsit Boontam, Sulee Thongwichein, Thongnard Kamjai, Chaowayut Pornpimolthep, Yosanun Jantharawakin, Rewadeetas Robkob, et al., editor. “Research and Innovation for the Development of Society toward Sustainability”. The eight national symposium an the fourth international symposium Bangkokthonburi University; 26 May 2020; Online. Bangkok: Office of Research, Bangkokthonburi University; 2020. p.47-56. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-21