ความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมการป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดสงขลา
DOI:
https://doi.org/10.14456/taj.2019.3คำสำคัญ:
ความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมการป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายว่า มีความรู้ ความเข้าใจ ในพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และมีการปรับเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติด เชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากน้อยเพียงใด
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงสำรวจและวัดผลเปรียบเทียบก่อน หลังเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ศึกษา กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ และสายอาชีวศึกษา อายุ 13 – 20 ปี ในจังหวัดสงขลา จำนวน 56 คน แบบเจาะจง ระหว่างเดือน มกราคม – มิถุนายน 2560 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังจากให้ความรู้ทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างระดับความรู้ และพฤติกรรมของกลุ่มศึกษาโดยใช้ t - test
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ศึกษามีอายุเฉลี่ย 16.13 ปี กลุ่มศึกษามีคะแนนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 84.0 เป็น ร้อยละ 91.6 และคะแนนด้านพฤติกรรมทางเพศของกลุ่มศึกษาในเรื่องการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เพิ่มจากเดิม ร้อยละ 85.7 เป็นร้อยละ 100.0 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพบว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตลอดจนพฤติกรรมการป้องกันตนเอง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย เป็นกระบวนการที่สามารถเพิ่มความรู้ ความเข้าใจการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงทำให้มีพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้น
Downloads
References
2. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการใช้ข้อมูลระดับพื้นที่ในการติดตามและวางแผนปฏิบัติการเร่งรัดยุติเอดส์ฯ. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://aidssti.ddc.moph.go.th/contents/view/60
3. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. อบรมพัฒนาศักยภาพแก่บุคคลากร เพื่อจัดบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://aidssti.ddc.moph.go.th/contents/view/60?page=3
4. จีรภัทร หลงกุล และสุพรรณี พรหมเทศ. การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ในกล่มุ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในจังหวัดขอนแก่น. [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://www.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/download/118162/90669/
5. รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารเรื่องเพศและพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเยาวชนไทยชายรักชายจังหวัดชลบุรี. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2561]; 2: 62 - 75. เข้าถึงได้จาก: https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=208309