ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มแรงงานข้ามชาติ ในพื้นที่ 10 จังหวัด ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553

ผู้แต่ง

  • สหภาพ พูลเกษร สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • สุรศักดิ์ ธไนศวรรยางกูล สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2019.6

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี, กลุ่มแรงงานข้ามชาติ

บทคัดย่อ

          การดำเนินงานเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติครั้งนี้ เป็นการเฝ้าระวังในกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ทั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนจาก 3 ประเทศ ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา เป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยนานกว่า 6 เดือน ในพื้นที่ 10 จังหวัดที่เลือกแบบเจาะจง อาชีพของแรงงานข้ามชาติ ได้แก่ ประมง ประมงที่ต่อเนื่อง กรรมกรก่อสร้าง เกษตรกรรม และอาชีพพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2553 และมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความชุกของการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และศึกษาพฤติกรรม ที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ข้อมูลการติดเชื้อเอชไอวีทราบได้จากการตรวจเลือด ข้อมูลการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้จากการตรวจปัสสาวะ และข้อมูลพฤติกรรมฯ ได้จากการตอบแบบสอบถาม            ผลการเฝ้าระวัง พบว่า มีแรงงานข้ามชาติที่ศึกษา 3,001 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.3 เพศชาย ร้อยละ 47.7 อายุเฉลี่ย 29.1±8.8 ปี เป็นชาวเมียนมาร์ ร้อยละ 60.2 ลาว ร้อยละ 20.0 และกัมพูชา ร้อยละ 19.8 สำหรับประวัติการมีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ก่อนตอบแบบสอบถาม (จากผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ (N) จำนวน 1,809 ราย) พบว่า เคยมีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างน้อยหนึ่งอาการ 618 ราย (ร้อยละ 34.2) ประวัติประเภทของคู่นอนในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดของแรงงานข้ามชาติ (N=2,119) พบว่า คู่เพศสัมพันธ์ที่มากที่สุด ได้แก่ มีเพศสัมพันธ์กับสามี/ภรรยา ร้อยละ 86.2 [ในกลุ่มนี้ (N=1,814) ใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 6.8 และไม่ใช้ ร้อยละ 93.2] กับพนักงานบริการหญิง ร้อยละ 6.7 [ในกลุ่มนี้ (N=113) ใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 78.8 และไม่ใช้ ร้อยละ 21.2] กับแฟน/คนรัก ร้อยละ 5.3 [ในกลุ่มนี้(N=142) ใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 36.6 และไม่ใช้ ร้อยละ 63.4] กับชาย/หญิงอื่นที่ไม่ใช่แฟน ร้อยละ 1.2 [ในกลุ่มนี้ (N=23) ใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 47.8 และไม่ใช้ ร้อยละ 52.2] และอื่น ๆ ร้อยละ 0.6 [ในกลุ่มนี้ (N=4) ใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 50 และไม่ใช้ ร้อยละ 50 แรงงานข้ามชาติติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 1.3 ติดเชื้อ Chlamydia trachomatis ร้อยละ 0.93 ติดเชื้อหนองใน (Neisseria gonorrhea) ร้อยละ 0.87 และติดเชื้อซิฟิลิส ร้อยละ 0.59           ปัญหาที่สำคัญอื่น ๆ ที่พบได้แก่ ข้อจำกัดในการเข้าถึงการบริการสุขภาพ โดยพบว่า แรงงานข้ามชาติ (N=3,001) มีบัตรประกันสุขภาพ ร้อยละ 40.1 นอกนั้นไม่มีส่งผลต่อเนื่องถึงการรับบริการตรวจรักษาเมื่อป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการขอรับบริการตรวจหา การติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้ยังพบว่า แรงงานข้ามชาติมีระดับความรู้ที่เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ อยู่ในระดับต่ำ           ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านต่าง ๆ และการสื่อสาร รวมทั้งการให้ความรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่แรงงานข้ามชาติที่อย่างเข้มข้นและเน้นให้มีพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ถูกต้อง และควรเพิ่มศักยภาพให้อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) หรือ พนักงานสาธารณสุขต่างด้าว (พสต.) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้ และการประสานงาน เพื่อให้กลุ่มแรงงานข้ามชาติ ได้รับบริการอย่างทั่วถึง

References

1. United Nations General Assembly Special Session on HIV/AIDS., data.unaids.org/pub/.../080813_gr08_prev1549_1990_2007_en.xls. [Internet]. [cited 2018 September 20]. Available from http://www.unaids.org/docu-ments/20101123_2010_hiv_prevalence_map_em.pdf)
2. United Nations General Assembly Special Session on HIV/AIDS. Monitoring the Declaration of Commitment on HIV/AIDS GUIDELINES ON CONSTRUCTION OFCORE INDICATORS 2008 Reporting. [Internet]. 2008 [cited 2018 Sep 20]. Available from https://www.unaids.org/sites/default/files/media_asset/jc1318_core_indicators_manual_en_0.pdf
3. กรมการจัดหางาน สำนักบริหารแรงงานต่าวด้าว กระทรวงแรงงาน. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว สรุปปี 2553.[อินเตอร์เน็ต]. 2553 [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2561] แหล่งข้อูล: http://wp.doe.go.th/sites/default/files/statistic/8/sy2553.pdf
4. วิพุธ พูลเจริญ,ปิติพร จันทรทัต ณ อยุธยา, วิภา ภาวนาภรณ์, วรัญญา เตียวสกุล, ชวลิต ตันตินิมิตกุล. วิวัฒนาการควบคุมโรคเอดส์ในประเทศไทย: แบบอย่างของการพัฒนาแนวคิดส่งเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โครงการสำนักพิมพ์ สถาบันวิจัยสาธารณสุข; 2542.
5. อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์, วาทินี บุญชลักษี. การวิจัยประเมินผลกระทบโครงการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในแรงงานข้ามชาติ ประเทศไทย (โครงการฟ้ามิตร) ปี 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-17