การศึกษารูปแบบการจัดบริการเพร็พ (PrEP) ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ในระบบบริการสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • นุชนารถ แก้วดำเกิง กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สุภาพร พูลเพิ่ม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2022.9

คำสำคัญ:

ยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (เพร็พ), เอชไอวี, ระบบบริการสาธารณสุข

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดบริการที่ช่วยส่งเสริมการให้บริการยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวีของหน่วยบริการสาธารณสุข และเพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวีในผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง ประชากรและกลุ่ม ตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดบริการเพร็พ (PrEP) ในหน่วยบริการสาธารณสุข 9 แห่ง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 67 คน โดยใช้แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช ้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยของคะแนน และวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่ออธิบายถึงปัจจัยที่มีผลต่อการจัดบริการเพร็พ (PrEP) ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขในการจัดบริการ ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดบริการฯ ประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คลินิกให้บริการเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One stop service) กลุ่มที่ 2 คลินิกเฉพาะสำหรับกลุ่มประชากรชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย แต่ไม่เบ็ดเสร็จในที่เดียวกัน (separated clinic) กลุ่มที่ 3 โรงพยาบาลทั่วไป ไม่มีคลินิกเฉพาะกลุ่มประชากร และกลุ่มที่ 4 คลินิกเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จขึ้นอยู่กับ 1) นโยบาย จากหน่วยงานทั้งในส่วนกลาง และในหน่วยบริการต้องมีความสอดคล้อง ต่อเนื่องและไปในทิศทางเดียวกัน การวางรูปแบบในการรายงานผล และการติดตามข้อมูลการมารับบริการเพร็พ (PrEP) 2) เครือข่ายที่ทำงานเชิงรุกมีส่วนสำคัญในการคัดกรองผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมเสี่ยง 3) การใช้สื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น website หรือ social media ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง และยังช่วยตอบคำถาม/ให้ความรู้ด้านการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี 4) ผู้ให้บริการต้องมีบุคลิกภาพที่เป็นมิตรและมีความใส่ใจที่จะช่วยในการติดตามผู้รับบริการให้อยู่ในระบบบริการ ทีมผู้ให้บริการเพร็พ (PrEP) ควรเป็นทีมเดียวกับคลินิกยาต้านไวรัส เพราะมีองค์ความรู้เรื่องเอชไอวี และ5) หน่วยบริการต้องอยูในทำเลดี แต่ควรจัดบริการเพร็พ (PrEP) แยกจากคลินิกยาต้านไวรัส มีการประชาสัมพันธ์และกิจกรรมค้นหาผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อลดผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ด้านความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดบริการฯ ที่ได้จากการศึกษา คือ 1) เพิ่มการประชาสัมพันธ์ (public relation) และการรณรงค์ (campaign) เพื่อลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ พร้อมความรู้เรื่องเพร็พ (PrEP) แบบวงกว้าง อย่าเน้นเฉพาะกลุ่มประชากร 2) คลินิกควรจัดใหม่ความมิดชิด เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเผชิญหน้ากับคนไข้แผนกอื่น 3) การพัฒนาระบบการนัดหมาย เช่น ใช้ระบบคิวแบบ digital ที่จะส่งข้อความ(SMS) เตือนไปที่โทรศัพท์ทำให้ผู้รับบริการไม่ต้องคอย และ 4) จัดอบรมเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ทั้งหน่วยงาน เรื่องความอ่อนไหว (sensitivity) ในการให้บริการ อบรมเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการที่คลินิกเรื่องเพร็พ (PrEP) อย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

References

National AIDS Committee. Global AIDS Monitoring report 2018 (GAM report 2018). Pornthip Khemngern, Dusita Puengsamran, Thanapol Chaiprateep, editors. 1st edition. Bangkok: NC Concept Co., Ltd.; 2018. (in Thai)

National Committee for the Prevention and Response to AIDS. Action plan to end AIDS problems in Thailand 2015-2019. Bangkok: NC Concept Co., Ltd.; 2014. (in Thai)

World Health Organization. Guidance on pre-exposure oral prophylaxis (PrEP) for Sero discordant couples, men and trans-gender women who have sex with men at high risk of HIV: Recommendations for use in the context of demonstration projects. The United States of America: World Health Organization; July 2012.

Bureau of AIDS, Tuberculosis and Sexually Transmitted Infection, Department of Disease Control. Thailand National Guidelines on HIV/ AIDS Treatment and Prevention 2014 (portable edition). Bangkok: Agricultural Cooperative Society of Thailand Limited Printing House; 2014. (in Thai)

Bureau of AIDS, Tuberculosis and Sexually Transmitted Infection, Department of Disease Control. Thailand National Guidelines on Pre-exposure prophylaxis: HIV-PrEP 2018. Bangkok: Agricultural Cooperative Society of Thailand Limited Printing House; 2018. (in Thai)

World Health Organization. Consolidated guidelines on HIV Prevention, Diagnosis, Treatment and Care for Key Populations, Geneva: World Health Organization; 2014.

Robert M. Grant, Javier R. Lama, Peter L. Anderson, Vanessa McMahan, Albert Y. Liu, Lorena Vargas, et al. Preexposure chemoprophylaxis for HIV prevention in men who have sex with men. N Engl J Med. 2010; 363(27): 2587-99.

Alison J. Rodger, Valentina Cambiano, Tina Bruun, Pietro Vernazza, Simon Collins, Jan van Lunzen, et al. Sexual activity without condoms and risk of HIV transmission in serodifferent couples when the HIV positive partner is using suppressive antiretroviral therapy. JAMA. 2016; 316(2): 171-81.

Robert M Grant, Peter L Anderson, Vanessa Mc Mahan, Albert Liu, K Rivet Amico, Megha Mehrotra, et al. Uptake of pre-exposure prophylaxis, sexual practices, and HIV incidence in men and transgender women who have sex with men: a cohort study. Lancet Infect Dis. 2014; 14(9): 820-9. doi: 10.1016/S1473-3099(14) 70847-3.

Kachit Choopanya, Michael Martin, Pravan Suntharasamai, Udomsak Sangkum, Philip A Mock, Manoj Leethochawalit, et al. Antiretroviral prophylaxis for HIV infection in injecting drug users in Bangkok, Thailand (the Bangkok Tenofovir Study): a randomised, double-blind, placebo-controlled phase 3 trial. Lancet. 2013; 381(9883): 2083-90. doi: 10.1016/S0140-6736(13)61127-7.

Amy L. Corneli, Jennifer Deese, Meng Wang, Doug Taylor, Khatija Ahmed, Kawango Agot, et al. Adherence Patterns and Factors Associated with Adherence to a Daily Oral Study Product for Pre-exposure Prophylaxis. J Acquir Immune Defic Syndr. 2014; 66(3): 324-31.

Madeline B Deutsch, David V Glidden, Jae Sevelius, Joanne Keatley, Vanessa McMahan, Juan Guanira, et al. HIV pre-exposure prophylaxis in transgender women: A subgroup analysis of the iPrEx trial. Lancet HIV. 2015; 2(12): e512-e519. doi:10.1016/S2352-3018(15)00206-4.

Sheena McCormack, David T Dunn, Monica Desai, David I Dolling, Mitzy Gafos, Richard Gilson, et al. Pre-exposure prophylaxis to prevent the acquisition of HIV-1 infection (PROUD): effectiveness results from the pilotphase of a pragmatic open-label randomised trial. Lancet. 2016; 387: 53-60. doi: 10.1016/S0140-6736(15)00056-2.

Cheewanan Lertpiriyasuwat, Nittaya Panupak, Vanvipa Wannakit, Supaporn Pengnonyang, Michael Martin, Chomnad Manopaiboon, et al. Outcomes of the Pre-exposure Prophylaxis Antiretroviral Drug Assessment Program

(Pre-exposure prophylaxis of HIV, PrEP) among men who have sex with men and transgender women in Thailand (Pre-exposure prophylaxis of HIV, PrEP) among men who have sex with men and women in Thailand; 26 September 2019; Pharmaceutical Organization meeting room. Bangkok: Government Pharmaceutical Organization; 2019. (in Thai)

Division of AIDS & STIs, Department of Disease Control. Thailand National Guidelines on Pre-exposure prophylaxis: HIV-PrEP 2021. Bangkok: Agricultural Cooperative Society of Thailand Limited Printing House; 2018. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03