การวิเคราะห์ศักยภาพผู้ให้บริการสุขภาพในการดูแลชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พนักงานบริการหญิง และคู่ที่มีผลเลือดบวก ในพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • วาทินี ทิพจ้อย สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อรสา กงตาล สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2022.10

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, ผู้ให้บริการสุขภาพ, กลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาสถานการณ์ในการดูแลกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และวิเคราะห์ศักยภาพของผู้ให้บริการสุขภาพในการดูแลกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 27 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและบันทึกภาคสนาม แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ยังไม่มีผู้รับผิดชอบงานด้านเอดส์และมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ไม่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการทำงานป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ไม่สามารถออกแบบบริการ เชิงรุกที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ได้ดีเท่าที่ควร ขาดทักษะ ที่จำเป็นในการทำงานด้านเอดส์ ส่งผลให้กลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงตัดสินใจเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลชุมชน ซึ่งมีระบบการทำงานด้านเอดส์ที่ชัดเจน ต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมมากกว่า และ 2) ศักยภาพของผู้ให้บริการสุขภาพ พบว่า ผู้ให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิส่วนมากยังไม่มีความมั่นใจในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านเอดส์ตามมาตรฐาน มีทัศนคติเชิงบวกในการดูแลกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่มีข้อจำกัดด้านทักษะการให้บริการปรึกษาในประเด็นการป้องกัน การมารับบริการ การออกแบบกิจกรรมการบริการ การค้นหา และการเข้าใจเข้าถึงกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างลึกซึ้ง ทั้งแบบเชิงรุกและเชิงรับ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขจึงควรให้ความสำคัญโดยสะท้อนข้อมูลจากการวิจัยในครั้งนี้ไปยังผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่และพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้รับผิดชอบงานด้านเอดส์ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ภายใต้มาตรฐานการทำงานด้านเอดส์ในทุกมิติที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงเป็นระบบจนถึงโรงพยาบาลและนำไปสู่การปฏิบัติ โดยมีทีมพี่เลี้ยงพันธมิตรด้านสาธารณสุขในระดับจังหวัดและอำเภอร่วมคิด ร่วมออกแบบ ร่วมทำ เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและชุมชน ขับเคลื่อนกลไกการทำงานด้านเอดส์ในทุกมิติให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบททางสังคม

References

Thailand National AIDS Committee. Thailand National Operational Plan Accelerating Ending AIDS 2015-2019. Nonthaburi: National AIDS Management Center; 2014. (in Thai)

National Monitoring and Evaluation Unit Bureau of AIDS, TB, and STIs. 2018 Thailand Progress Report. Bangkok: N.C. Concept Co. Ltd.; 2018. (in Thai)

Thailand National AIDS Committee. Thailand National Strategy to End AIDS 2017-2030. Bangkok: N.C. Concept Co. Ltd.; 2017. (in Thai)

Buriram Provincial Public Health Office. Plan for AIDS Prevention and Solution, Buriram Province, 2019. Buriram: Buriram Provincial Public Health Office; 2019. (in Thai)

National AIDS Program (NAP) [Internet]. [cited 2019 October 18]. Available from http://napdl.nhso.go.th/NAPWebReport/LoginServlefbclid (in Thai)

Sunsanee Phattharasrivongchai, Tanyapar Chartsupap. Program Development for HIV Prevention and Treatment in Men Who Have Sex with Men, Buriram Province, Thailand. The Office of Disease Prevention and Control 9, Nakhon Ratchasima Journal. 2019; 25(3): 64-75.

Bureau of Epidemiology. Situation of HIV infection in Thailand 2017. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2018. (in Thai)

Buriram Provincial Public Health Office. Epidemiological Surveillance Report. Buriram: Buriram Provincial Public Health Office; 2021. (in Thai)

Bureau of AIDS, TB and STIs. Guidelines for the prevention of HIV infection among men who have sex with men and transgender at a national level. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand. Ltd.; 2013. (in Thai)

Department of Disease Control. Supplementary Learning Materials for HIV and STD services in Community. Bangkok: Aksorn graphic and design; 2021. (in Thai)

Pensri Sawadcharoenying. A Study of Factors Affecting Sexually Transmitted Diseases Prevention and Control Implemented by the Division of AIDS and STIs during 2010-2019. Thai AIDS Journal. 2020; 32(3): 94-113.

Joint United Nations Programme on HIV/AIDS (UNAIDS). 12 Components Monitoring & Evaluation System Assessment. Geneva: UNAIDS; 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-19