การตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์เขตบริการสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • วันทนีย์ ธารณธนบูลย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี
  • พัชมณ เจริญนาวี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2023.2

คำสำคัญ:

การตีตราและเลือกปฏิบัติ, สถานบริการ, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตีตราและเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องกับเอชไอวี เก็บข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างกลุ่มผู้ปฏิบัติงานบริการสุขภาพ 985 คน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 872 คน จากโรงพยาบาลทุกแห่ง ในพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 10 คือ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดมุกดาหาร ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ประเด็น การตีตราและเลือกปฏิบัติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ผลโดยการนำเข้าระบบเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Research Electronic Data Capture: REDCap) และวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์อัตราส่วนความเสี่ยง (odds ratio) การศึกษา พบว่า กลุ่มผู้ปฏิบัติงานบริการสุขภาพ มีทัศนคติเชิงลบ ร้อยละ 83.39 โดยคิดว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีขาดความรับผิดชอบ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 54.94 ไม่เห็นด้วยว่าผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีสามารถมีลูกได้ถ้าต้องการ ร้อยละ 51.78 กังวลว่าจะติดเชื้อเอชไอวีจากการให้บริการ การเจาะเลือดและการทำแผล ร้อยละ 50.66 และรู้สึกลำบากใจที่จะทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 35.17 ในด้านพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติของผู้ให้บริการสุขภาพ พบว่า มีการป้องกันตัวเองในช่วงการให้บริการเกินความจำเป็น ร้อยละ 57.17 และสังเกตเห็นพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติอย่างน้อยหนึ่งข้อ ร้อยละ 26.91 โดยสังเกตเห็นเจ้าหน้าที่ไม่เต็มใจให้บริการ ร้อยละ 23.05 ด้านทัศนคติของผู้ติดเชื้อเอชไอวีต่อการรับบริการสุขภาพ พบว่า เคยถูกเลือกปฏิบัติระหว่างการรับบริการสุขภาพเนื่องจากเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 15.02 มีการตีตราตนเอง ร้อยละ 34.86 และพบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีตัดสินใจไม่ไปโรงพยาบาลเนื่องจาก รู้สึกผิด และอายที่ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 30.04 และ 15.25 เมื่อเปรียบเทียบการตีตราและเลือกปฏิบัติระหว่างกลุ่มผู้ปฏิบัติงานบริการสุขภาพสายวิชาชีพกับสายสนับสนุน พบว่า สายวิชาชีพมีความเต็มใจที่จะให้บริการแก่กลุ่มประชากรหลักที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่า (OR=0.54; 95%CI 0.36-0.79) และมีความกังวลว่าจะติดเชื้อเอชไอวีจากการต้องสัมผัสเสื้อผ้าของใช้มากกว่า(OR=1.74; 95%CI 1.24-2.44) แต่การป้องกันตัวเองโดยสวมถุงมือสองชั้นน้อยกว่าผู้ปฏิบัติงานบริการสุขภาพสายสนับสนุน (OR=2.87; 95%CI 1.90-4.33) เปรียบเทียบประสบการณ์การถูกตีตราและเลือกปฏิบัติเมื่อมารับบริการสุขภาพ พบว่า กลุ่มประชากรหลักที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวีเคยถูกตีตราและเลือกปฏิบัติมากกว่าประชากรกลุ่มทั่วไป (OR=2.08; 95%CI 1.15-3.77) และเมื่อเปรียบเทียบประสบการณ์การถูกตีตราและเลือกปฏิบัติระหว่างผู้ติดเชื้อเอชไอวี 10 ปีขึ้นไปกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีน้อยกว่า 10 ปี พบว่า ผู้ติดเชื้อ 10 ปีขึ้นไป เคยถูกเลือกปฏิบัติมากกว่า (OR=1.79; 95%CI 1.07-3.02) และได้รับคำแนะนำให้งดการมีลูกมากกว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีน้อยกว่า 10 ปี (OR=1.45; 95%CI 1.07-1.98) ข้อเสนอแนะ สถานบริการสุขภาพในพื้นที่ ควรจัดทำแนวทางและจัดบริการที่ช่วยลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในหน่วยงานที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เน้นให้ผู้ให้บริการปลอดภัย เกิดความเห็นใจ เข้าใจและเต็มใจให้บริการ เคารพสิทธิของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

Downloads

Download data is not yet available.

References

Futhakun S, Vasantiupakakorn M, Khemngern P, KhonSue N. Report on the results of the Bureau of AIDS and Tuberculosis and sexually transmitted diseases in 2017. Nonthaburi: J. S. Printing House Pimping; 2017. (in Thai)

Fongkaew K, de Lind van Wiljngaarden JW. Stories of stigma: exploring stigma and discrimination against Thai transgender people while accessing health care and in other settings [Internet]. Bangkok: United Nations Development Programme Thailand; 2020 [cited 2021 Oct 28]. Available from: https://www.undp.org/sites/g/files/zskgke326/files/migration/th/UNDP_TH-Stories-of-Stigma_Thai.pdf (in Thai)

Poonyakanok T, Tuicomepee A. Stigma in context of professional psychological help seeking. J Ment Health Thai. 2011;19(1):66-74. (in Thai)

Department of Disease Control, International Health Policy Development Agency (IHPP). Ministry of Public Health. Pilot research report Development of tools and methods to explore branding and discrimination, HIV/AIDS issues in healthcare settings in Thailand. Nonthaburi: Graphic Systems; 2014. (in Thai)

Department of Disease Control, International Health Policy Development Agency (IHPP). Ministry of Public Health. A guide for assessing the stigma and discrimination against people living with HIV in health care facilities. Nonthaburi: Six One Jade; 2015. (in Thai)

Department of Disease Control, National AIDS Management Center (NAMC) and International Health Policy Development Agency (IHPP). Ministry of Public Health. A guide for survey stigma and discrimination against people living with HIV in health care providers. 3rd Ed. Nonthaburi: Samoi Nuttaporn Plate Co., Ltd; 2017. (in Thai)

Research Institute for Health Sciences Chiang Mai University, Research Electronic Data Capture(REDCap) REDCap Consortium, The REDCap consortium: Building an international community of software partners. Available from: https://www.project-redcap.org

Khemngern P, Srithanavibulchai K, Cheuyen C, Wongtip N. The 2018 survey of stigma and selection of public health services. Bangkok: Bureau of AIDS, Tuberculosis and Sexually Transmitted Diseases. Nonthaburi: Institute of Public Health Sciences; 2018. (in Thai)

Muangma N, Lalitananpong D. Flexibility and social support for HIV/AIDS at the Thailand-Australia-Netherlands Cooperation Center for research studies AIDS Clinic Thai Red Cross Society. AIDS Research Center [Internet]. 2019 [cited 2021 Oct 28];62(6):947-63. Available from: http://clmjournal.org/_fileupload/journal/453-2-5.pdf.(in Thai)

Jiewpanya W. Factors that affect create concerns, affect the attitude, stigma and discrimination to healthcare provider who lived with HIV patients in Nakorn Sawan health Care Service Center. Journal of Disease and Health Risk DPC.3. 2021;15(1) :30-40 (in Thai)

Sermrittirong S, Thanyakittikul P, Poldej C. Public health personnel perception of stigma against patients with leprosy and tuberculosis, Chaiyaphum Province. Dis Control J. 2017;43(3):30-42. (in Thai)

Ongwandi S. A manual of operations for promoting health facilities free of stigma and discrimination related to HIV/AIDS. Nonthaburi: J.S. Printing; 2016. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28