ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2564

ผู้แต่ง

  • จุฑาวรรณ นิลเพ็ชร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ฉวีวรรณ บุญสุยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2023.13

คำสำคัญ:

โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด, การศึกษาเชิงพื้นที่, ตัวแบบนัยเชิงเส้นทั่วไป

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรและด้านสาธารณสุขกับการติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิด ประกอบด้วย (1) ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์อายุ 15-49 ปี (2) ร้อยละของหญิงติดเชื้อซิฟิลิส (3) จำนวนปีที่เรียนหนังสือโดยเฉลี่ยของเพศหญิง และ (4) ร้อยละการตรวจคัดกรองซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์กับอัตราป่วยโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2564 วิเคราะห์และนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ตัวแบบ Generalized Estimating Equation ผลการศึกษาพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราป่วยด้วยโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด คือ ร้อยละของหญิงติดเชื้อซิฟิลิสที่เพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับอัตราป่วยโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดที่เพิ่มขึ้น (b = 1.42 95%CI = 1.245, 1.589) การศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์โรคซิฟิลิสแต่กำเนิดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ต้องสนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายฝากครรภ์เร็ว รวมทั้งติดตามคู่เพศสัมพันธ์มาตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส เพื่อให้เข้าสู่ระบบบริการได้รับการตรวจคัดกรองและรักษาโรคซิฟิลิสตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งจะช่วยลดการติดเชื้อซิฟิลิสในทารกในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

World Health Organization. WHO guideline on syphilis screening and treatment for pregnant woman [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2017 [cited 2021 Sep 23]. Available from: https://www.who.int/publications/iitem/ 9789241550093

World Health Organization. Global guidance on criteria and processes for validation: elimination of mother-to-child transmission of HIV, syphilis and hepatitis B virus [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2021 [cited 2023 Dec 24]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240039360

World Health Organization. Report on global sexually transmitted infection surveillance 2018 [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2018 [cited 2021 Sep 23]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/ 9789241565691

Division of AIDS and STIs, Department of Disease Control. National guidelines for eliminating congenital syphilis Thailand. Nonthaburi: Graphic Font and Design; 2020. (in Thai)

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Annual epidemiological surveillance report 2019. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2019. (in Thai)

Ojo OC, Arno JN, Tao G, Patel CG, Dixon BE. Syphilis testing adherence among women with livebirth deliveries: Indianapolis 2014-2016. BMC Pregnancy & Childbirth. 2021;21(1):739.

Division of Epidemiology. National disease definition and guidelines report of dangerous communicable disease and communicable disease under surveillance Thailand. Nonthaburi: Canna Graphic; 2020. (in Thai)

Chowdhury MZI, Turin TC. Variable selection strategies and its importance in clinical prediction modelling. Fam Med Community Health. 2020;8(1):e000262.

Fukuda A, Katz AR, Park IU, Komeya AY, Chang A, Ching N, Tomas JE, et al. Congenital syphilis: a case report demonstrating missed opportunities for screening and inadequate treatment despite multiple health care encounters during pregnancy. Sex Transm Dis. 2021;48(9): e124-5.

Chan EYL, Smullin C, Clavijo S, Papp-Green M, Park E, Nelson M, et al. A qualitative assessment of structural barriers to prenatal care and congenital syphilis prevention in Kern County, California. PLoS ONE. 2021;16(4):e0249419.

Punpetch S, Sawangsuk J, Pansuwan N, Kittiyaowamarn R. Epidemiology of congenital syphilis under the five dimensions of the disease and health hazard surveillance system in Thailand, 2019. Thai AIDS Journal. 2022;34(3):144-61. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30