ความถูกต้องของแบบประเมินการรับประทานอาหารด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลราชวิถี

ผู้แต่ง

  • ธีราพร ชมพูแสง แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลราชวิถี

คำสำคัญ:

การประเมินการรับประทานอาหารด้วยตนเอง

บทคัดย่อ

ความสำคัญของปัญหา: ผู้ป่วยศัลยกรรมมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการทั้งในช่วงก่อนและหลังผ่าตัด ปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงนี้คือการได้รับปริมาณอาหารที่น้อยลง การประเมินภาวะทางโภชนาการโดยการประเมินการบริโภคอาหารมีความจึงสำคัญและจำเป็น

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความถูกต้องของแบบประเมินการรับประทานอาหารด้วยตนเอง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณพลังงานและปริมาณโปรตีนทั้งหมดระหว่างแบบประเมินการรับประทานอาหารด้วยตนเองกับการคำนวนพลังงานโดยการชั่งน้ำหนักอาหาร

วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลราชวิถี ผู้ป่วย 230 คน ได้รับอาหารตามมาตรฐานของโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นอาหารอ่อน หรืออาหารธรรมดา  ผู้ป่วยแต่ละรายจะกรอกแบบฟอร์มรับประทานอาหารด้วยตนเอง  แล้วคำนวณหาพลังงานทั้งหมด (กิโลแคลอรี) และปริมาณโปรตีน (กรัม) เทียบกับการคำนวนพลังงานโดยการชั่งน้ำหนักอาหาร

ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของพลังงานทั้งหมดจากแบบประเมินการรับประทานอาหารด้วยตนเอง และจากการคำนวนพลังงานโดยการชั่งน้ำหนักอาหารมีค่าเท่ากับ 367.73±183.87  และ382.55 ±217.41 กิโลแคลอรี (p = 0.005) และค่าเฉลี่ยของปริมาณโปรตีนคือ11.32±6.19และ11.57±7.74กรัม (p = 0.19) ตามลำดับ  ไม่พบความแตกต่างระหว่างพลังงานทั้งหมดเมื่อเปรียบเการใช้แบบประเมินการรับประทานอาหารด้วยตนเอง กับการคำนวนพลังงานโดยการชั่งน้ำหนักอาหาร (p=0.114 และ p=0.517 ตามลำดับ) แต่พบความแตกต่างในกลุ่มที่ได้รับอาหารธรรมดา  ในการวิเคราะห์กลุ่มย่อยพบว่าหากยอมรับความแตกต่างของปริมาณพลังงานและปริมาณโปรตีนทั้งหมดระหว่างแบบประเมินการรับประทานอาหารด้วยตนเองและการคำนวนพลังงานโดยการชั่งน้ำหนักอาหาร ที่มีค่าความแตกต่างน้อยกว่าร้อยละ 20 มีผู้ป่วยทั้งหมด 142 คน (จาก 230 คน) จะมีอัตราความถูกต้องอยู่ที่ร้อยละ 61.7

สรุป:  แบบประเมินผลการรับประทานอาหารด้วยตนเองสามารถใช้ในการประเมินปริมาณพลังงานและปริมาณโปรตีนทั้งหมดในผู้ป่วยที่มีอาหารอ่อน แต่หากยอมรับความแตกต่างน้อยกว่าร้อยละ 20 ก็สามารถใช้ในอาหารอ่อนและปกติด้วยอัตราความถูกต้อร้อยละ 61.7

References

Correia MI, Caiaffa WT, da Silva AL, Waitzberg DL. Risk factors for malnutrition in patients undergoing gastroenterological and hernia surgery: An analysis

of 375 patients. NutrHosp 2001;16(2): 59-64.

Kondrup J, Allison SP, Elia M, Vellas B, Plauth M. ESPEN guidelines for nutrition screening 2002. Clinical Nutrition 2003;22(4):415-21.

Fettes SB, Davidson HI, Richardson RA, Pennington CR. Nutritional status of elective gastrointestinal surgery patients pre- and post-operatively. Clinical Nutrition

;21(3);249-54.

Garth AK, Newsome CM, Simmance N, Crowe TC. Nutritional status, nutrition practices and postoperative complications in patients with gastrointes tinal cancer. J Hum Nutr Diet 2010;23(4):393-401.

Tucker A, Ybarra J, Bingham A, Blackmer A, Curtis C, Mattox T, et al. American society for parenteral and enteral nutrition (A.S.P.E.N) standards of practice for nutrition support pharmacists. Nutrition in Clinical Practice 2015;30(1):139-46.

Kanda M, Fujii T, Kodera Y, Nagri S, Takeda S, Nakao A. Nutritional predictors of postoperative outcome in pancreatic cancer. Br J Surg 2011;98(2):268-74.

Tina J, Chen JS. Nutritional status and quality of life of the gastric cancer patient in change country of China. World J Gastroenterol 2005;11(11):1582-6.

Brugler L, Stankovic AK, Schlefer M, Bernstein L. A simplified nutrition screen for hospitalized patients using readily available laboratory and patient information.

Nutrition 2005;21(6):650-8.

Shahar S, NurAsyuraAdznam S, Rahman SA, Yusoff NA, Yassin Z, Arshad F, et al. Development and analysis of acceptance of a nutrition education package

among a rural elderly population: an action research study. BMC Geriatr 2012;12:24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11