การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • เตรียมบทความตาม คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง ของวารสารนี้
  • รายชื่อผู้แต่งที่ปรากฏบนบทความเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการคิดหัวข้อวิจัย ออกแบบ ดำเนินการ หรือแปลผลการวิจัยตามที่ปรากฏในบทความ
  • ผู้เขียนทุกท่านได้อ่านและยินยอมให้มีการส่งบทความมายังวารสาร ยินยอมให้มีการเผยแพร่บทความฉบับสุดท้าย และยินยอมที่จะรับผิดและรับชอบในผลงานที่ส่งมายังวารสาร
  • บทความที่ส่งมายังวารสารนี้ไม่เคยถูกเผยแพร่ในวารสารอื่น หรือไม่ถูกนำเสนอในการประชุมวิชาการต่าง ๆ มาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารเล่มอื่น
  • ไฟล์ที่ส่งมาอยู่ในสกุล OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format
  • ข้าพเจ้ารับทราบว่าคำตัดสินเกี่ยวกับการตีพิมพ์เป็นสิทธิ์ขาดของบรรณาธิการ กองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในเนื้อหาหรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง
  • วารสารจะติดต่อผ่านอีเมลที่กรอกไว้ในระบบออนไลน์ โปรดตรวจสอบอย่างละเอียดในกล่องจดหมายหรือ สแปม/เมลขยะ
    สำหรับการตอบกลับ กรุณาล็อกอินผ่านระบบ ThaiJo ด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของคุณเสมอ อย่าตอบกลับอีเมลที่ได้รับนั้นโดยตรง

คำแนะนำผู้แต่ง

 

คำแนะนำสำหรับการทำงานผ่านระบบวารสารออนไลน์: อ่านเอกสารที่นี่

 

แนวทางการเขียนบทความ

บทความทบทวนวิชาการ บทความพิเศษและคำแนะนำทางเวชปฏิบัติ และรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจเขียนเป็นภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 20 หน้า จะต้องมีส่วนประกอบของบทความเรียงตามลำดับดังนี้

  • ชื่อบทความภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์และสถาบันของผู้นิพนธ์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หากมีผู้นิพนธ์มากกว่า 1 ท่านให้ระบุชื่อผู้รับผิดชอบบทความ (corresponding author) ด้วย
  • บทคัดย่อ (abstract) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ความยาวอย่างละไม่เกิน 250 คำ
  • คำสำคัญ (keyword) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อย่างละไม่เกิน 6 คำ
  • บทนำ (introduction)
  • เนื้อเรื่อง (text)
  • บทสรุป (conclusion)
  • เอกสารอ้างอิง (references)
  • ตาราง (table) ถ้ามี
  • รูปและคำบรรยาย (figures and figure legends) ถ้ามี

บทความวิจัย เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 20 หน้า จะต้องมีส่วนประกอบของบทความเรียงตามลำดับดังนี้

  • ชื่อบทความภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์ และสถาบันของผู้นิพนธ์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หากมีผู้นิพนธ์มากกว่า 1 ท่านให้ระบุชื่อผู้รับผิดชอบบทความ (corresponding author) ด้วย
  • บทคัดย่อ (abstract) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ความยาวอย่างละไม่เกิน 250 คำ
  • คำสำคัญ (keyword) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อย่างละไม่เกิน 6 คำ
  • บทนำ (introduction)
  • วัสดุและวิธีการ (materials and methods)
  • ผลการวิจัย (results)
  • วิจารณ์ผล (discussion)
  • บทสรุป (conclusion)
  • กิตติกรรมประกาศ (acknowledgement)
  • เอกสารอ้างอิง (references)
  • ตาราง (table) ถ้ามี
  • รูปและคำบรรยาย (figures and figure legends) ถ้ามี

การเตรียมต้นฉบับ

  • ต้นฉบับเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word เลือกตัวอักษร Browallia New  ขนาด 16 ใช้กระดาษพิมพ์ขนาด A4 ความยาวต้นฉบับไม่ควรเกิน 25 หน้า โดยกำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า (single space)
  • ถ้าต้นฉบับเป็นภาษาไทย ควรใช้คำภาษาไทยให้มากที่สุดโดยยึดตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ยกเว้นคำภาษาอังกฤษที่แปลไม่ได้ หรือแปลแล้วทำให้ได้ใจความไม่ชัดเจน ถ้าใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากลต้องบอกคำเต็มไว้เมื่อใช้คำย่อนั้นเป็นครั้งแรกในบทความ ชื่อยาควรใช้ชื่อสามัญ หากจำเป็นต้องระบุชื่อการค้าให้ใส่ชื่อสามัญไว้ในวงเล็บต่อท้าย ไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอน
  • ถ้ามีตาราง ให้กำกับหมายเลขเรียงตามลำดับที่กล่าวถึงในบทความ ระบุชื่อตารางอยู่เหนือตาราง
  • ถ้ามีรูป ให้กำกับหมายเลขเรียงตามลำดับที่กล่าวถึงในบทความ ตามด้วยคำอธิบายภาพที่สั้นและชัดเจนใต้รูปภาพ (การตัดสินว่าจะได้ตีพิมพ์ภาพสีหรือไม่ขึ้นกับดุลยพินิจของกองบรรณาธิการ)

 

การเขียนเอกสารอ้างอิง

ใช้ระบบ Vancouver โดยใส่หมายเลขตามลำดับที่อ้างอิงในเนื้อเรื่องเป็นเลขยกสูง สามารถดูคำแนะนำในการเขียนได้จาก Uniform Requirements for Manuscripts Submitted to Biomedical Journals (JAMA 1997;277:-34)

 

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

อ้างถึงบทความในวารสารทางการแพทย์

  1. Vajjajiva A, Foster JB,Miller H.ABO blood groups in motor neuron disease. Lancet 1965;1:87-8.
  2. Parkin DM, Clayton D, Black RJ, Masuyer E, Friedl HP, lvanov E, et al. Childhood leukemia in Europe after Chernobyl 1:5 year follow-up. Br J Cancer 1996;73:1006-12.
  3. The Cardiac Society of Australia and New Zealand. Clinical exercise stress testing. Safety and performance guidelinese. Med J Aust 1996;164:282-4.

อ้างถึงบทคัดย่อในวารสารทางการแพทย์

  1. Olney RK, Aminoff MJ. Diagnostic sensitivity of different electro physiologic techniques in Guillan-Barre syndrome (abstract). Neurology 1989;39(Suppl):354.
  2. McCrank E. PSP risk factors (letter) Neurology 1990;40:1673.

อ้างถึงเอกสารที่เป็นตำรา

Lance JW. Mechanism and management of headache. 5th ed. Oxford: Butterworts;1993:53.

อ้างถึงบทในเอกสารที่เป็นตำรา

  1. Phillips SJ, Whisnant JP. Hypertension and stroke. In: Laragh JH, Brenner BM, editors. Hypertension: pathophysiology, diagnosis and management. 2nd ed. NewYork: Raven Press; 1995:465-78
  2. สุนทรี รัตนชูเอก. ปัญหาการให้อาหารในเด็กใน: อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ,นลินี  จงวิริยะพันธุ์,สุภาพรรณ  ตันตราชีวธร, กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย, 2550. หน้า 105-19.

อ้างถึงบทความในการประชุม

Kimura J, Shibaski H, editors. Recent advances in clinical neurophysiology. Proceedings of the 10th International Congress of EMG and Clinical Neurophysiology; 1995 Oct 15-19;Kyoto,Japan. Amsterdam:Elsevier; 1996

อ้างถึงบทความที่ยังไม่ได้พิมพ์

LeshnerAl. Molecular mechanisms of cocaine addiction. N Engl J Med. In press 1996.

อ้างถึงบทความในวารสารทางอิเล็กทรอนิกส์

  1. Morse SS. Factors in the emergence of infectious diseases. Emerg infect Dis [Serial online] 1995 Jan-Mar [cited1996 Jun 5]; 1 (1):[2screens]. Available from: URL: https://www.cec.gov/ncidod/EID/eid.htm
  2. CDL, clinical dermatology illustrated [monograph on CDROM]. Reeves JRT, Maibach H. CMEA Multimedia Group, Producers. 2nd Version 2.0. San Diego: CMEA; 1995.
  3. Hemodynamic lll: the ups and downs of hemodynamic [computerprogram]. Version2.2OrlandoFL:ComputerizedEductional Systems; 1993.

 

 

การส่งบทความ 

            ส่งต้นฉบับมาที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/about/submissions

 

การตรวจสอบบทความเพื่อรับไว้ตีพิมพ์

          บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบจากคณะบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกอย่างน้อย 2 ท่านก่อนพิจารณารับไว้ตีพิมพ์ โดยใช้ระบบปกปิดทั้งชื่อผู้นิพนธ์และชื่อผู้ตรวจสอบบทความ

          กรณีมีความจำเป็นต้องใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ผู้นิพนธ์สามารถระบุไว้หน้าแรกของบทความที่ส่งเข้ามาพิจารณา

การดำเนินการหากพบการคัดลอกผลงาน (plagiarism)

          ในกระบวนการพิจารณาบทความ หากทีมบรรณาธการหรือผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบพบความเหมือนของการเขียนบทความเมื่อเปรียบเทียบกับบทความที่เคยตีพิมพ์ก่อนหน้า ด้วยเครื่องมือในการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการหรือด้วยการเทียบเคียงจากการอ่านเนื้อหา แล้วมีความเหมือนของการเขียนบทความมากกว่าร้อยละ  25 บทความดังกล่าวจะถูกปฏิเสธการพิจารณาบทความทันที

บทความพิเศษ

บทความที่มีการทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ รวบรวมหลักฐานทางวิชาการในหัวข้อที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ ทันสมัย หรือกำลังเป็นที่สนใจในขณะนั้น หรือเป็นคำแนะนำทางเวชปฏิบัติที่ออกโดยสมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย

บทความทบทวนวิชาการ

บทความที่มีการทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ รวบรวมหลักฐานทางวิชาการโดยครอบคลุมแง่มุมที่สำคัญ ในเรื่องนั้น ๆ อย่างสมบูรณ์ มีจัดระเบียบองค์ความรู้ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านโภชนาการได้

บทความวิจัย

งานวิจัยต้นฉบับที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านโภชนาการของแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ หรือนักศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

รายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจ

รายงานกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาทางโภชนาการที่น่าสนใจ ให้ข้อมูลประวัติ อาการทางคลินิก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีการอภิปรายปัญหาของผู้ป่วย สรุปแนวทางที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยหรือการรักษา และมีการทบทวนวรรณกรรมอย่างสั้น ๆ ในประเด็นปัญหาหลัก

บทความสั้น

บทความสั้น ๆ (ความยาว 2-5 หน้า) ในลักษณะของการตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เป็นที่สนใจโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือบทความทบทวนวิชาการสั้น ๆ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นหัดเขียนบทความ

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเวปไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้น และจะไม่เผยแพร่ในกิจกรรมอื่น ๆ