อาหารทางสายให้อาหารสูตรมาตรฐานรามาธิบดี สำหรับเด็ก
คำสำคัญ:
Blenderized diet, Food Table Composition, tube feeding, enteral nutrition, pediatricบทคัดย่อ
บทนำและวัตถุประสงค์: อาหารทางสายให้อาหารชนิดปั่นผสมสูตรสำหรับเด็กเป็นอาหารที่มีความสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กเป็นอย่างมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรอาหารทางสายให้อาหารชนิดปั่นผสมสูตรสำหรับเด็ก (pediatric blenderized formula) ที่มีสัดส่วนการกระจายของพลังงานจากสารอาหารหลักซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน เป็นร้อยละ 60:10:30 มีวิตามินและแร่ธาตุตามปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่เด็กไทยควรได้รับประจำวัน และสามารถไหลผ่านสายให้อาหารได้โดยไม่ติดขัด
วิธีการศึกษา: มีการคำนวณสูตรอาหารปั่นผสมโดยให้มีสัดส่วนการกระจายของพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตต่อโปรตีนและต่อไขมันคิดเป็นร้อยละ 60:10:30 วัตถุดิบที่ใช้ในสูตรอาหารนี้ ได้แก่ ข้าวสาร น้ำตาลทราย น้ำตาลเด็กซ์ทริน กล้วยน้ำว้า ไข่ไก่ ตับไก่ เนื้อไก่ น้ำมันถั่วเหลือง ทำการคำนวณหาคุณค่าของสารอาหารจากสูตรที่มีส่วนประกอบต่างๆกันโดยใช้โปรแกรม Excel ที่สร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลปริมาณสารอาหารจาก Food Table Composition นำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน โดยคำนึงถึงปริมาณวิตามินและแร่ธาตุ ตามข้อกำหนดของปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับเด็กไทยเป็นสำคัญในกรณีที่มีสารอาหารไม่ได้ตามข้อกำหนดมีการเติมแร่ธาตุในรูปของยาเพิ่ม
ผลการศึกษา: สูตรอาหารทางสายให้อาหารสำหรับเด็กที่ได้ในตอนแรกมีความเข้มข้นของพลังงานเท่ากับ 1 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 มล. มีปริมาณโปรตีน 25 กรัมต่อ 1 ลิตร ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคเมื่อนำมาทดสอบการไหลแบบจำลอง อาหารสามารถไหลผ่านสายให้อาหารขนาด 14 French ได้ แต่เมื่อนำไปให้กับผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยเด็กพบปัญหาการไหลช้าของอาหารผ่านสายให้อาหารต้องมีการเขย่าถุงบรรจุอาหารมีการอุดตันเกิดขึ้นในบางครั้งที่สายให้อาหารจึงได้ปรับสูตรอาหารโดยการเปลี่ยนชนิดและปริมาณวัตถุดิบ ให้คงคุณค่าสารอาหารตามข้อกำหนดที่ตั้งไว้ในที่สุดได้สูตรอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและไหลผ่านสายให้อาหารได้โดยไม่ติดขัด ผู้ป่วยเด็กรับอาหารสูตรดังกล่าวได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการให้อาหาร
สรุป: งานวิจัยนี้ทำให้ได้สูตรอาหารทางสายให้อาหารสำหรับเด็ก โดยให้ชื่อว่า Ramathibodi Pediatric Blenderized Formula สูตรอาหารนี้สามารถสั่งโดยใช้โปรแกรมการสั่งอาหารของโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยระบุปริมาตรที่ผู้ป่วยต้องการจำนวนมื้อ และเวลาให้อาหารแต่ละมื้อ
References
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2530.
Institute of Nutrition Mahidol University. Food Composition
Database for IMUCAL Program, พิมพ์ครั้งที่ 2.2545
Institute of Nutrition Mahidol University. Thai Food
Composition Tables 2015 Second Edition.
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรดไขมันและคอลเลสเตอรอลในอาหารไทย.2545
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ.2546. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ลงใน Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด หากบุคคลหรืหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด ก่อนเท่านั้น