การนับโปรตีนและไขมัน ร่วมกับการนับคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลหลังอาหารในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 1 โดยใช้อินซูลินปั๊มระบบ dual-wave bolus.

ผู้แต่ง

  • ฉัตรวรา อารีวุฒิ สาขาวิชาโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การนับคาร์โบไฮเดรต, ไขมันและโปรตีน, อินซูลินปั๊มระบบผสมผสาน, ระดับน้ำตาลหลังอาหาร

บทคัดย่อ

การนับคาร์โบไฮเดรตร่วมกับการฉีดอินซูลินตามมื้ออาหาร ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในการใช้เป็นแนวเวชปฎิบัติเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายในการรักษาผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ศึกษาการนับคาร์โบไฮเดรต ร่วมกับการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว เพื่อกำหนดปริมาณอินซูลินที่เหมาะสมตามมื้ออาหาร พบผลลัพธ์ทางคลินิคและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หลายการศึกษาพบว่าเมื่อผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ได้รับอาหารที่มีไขมันและโปรตีนในปริมาณสูง จะมีผลต่อระดับน้ำตาล 2 ชั่วโมงหลังอาหาร โดยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงนานถึง 3-5 ชั่วโมงและมีผลต่อค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ปัจจุบันอาหารที่พบทั่วไปจะเป็นอาหารที่มีไขมันสูง เช่น พิซซ่า พาย เค้ก ไอศกรีม ของทอดต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อที่จะให้ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 มีการคุมระดับน้ำตาลหลังอาหารที่ได้เป้าหมายมากยิ่งขึ้น บทความนี้ได้รวบรวมหลักการการนับโปรตีน ไขมันร่วมกับการนับคาร์โบไฮเดรตเพื่อกำหนดปริมาณอินซูลินที่เหมาะสมในมื้ออาหารนั้นๆ โดยอธิบายถึงหลักการในการนับโปรตีน ไขมันและกำหนดปริมาณอินซูลินผ่านระบบปั๊ม โดยใช้ระบบ dual-wave bolus ในการให้อินซูลิน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้บุคคลากรทางการแพทย์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทางคลินิค เพื่อการคุมระดับน้ำตาลหลังอาหารที่ดีขึ้นของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1

References

Chiang JL, Maahs DM, Garvey KC, Hood KK, Laffel LM, Weinzimer SA, et al. Type 1 diabetes in children and adolescents: A position statement by the american diabetes association. Diabetes Care. 2018; 41(9):2026-44.

The diabetes control and complications trial research group. The effect of intensive treatment of diabetes on the development and progression of long-term complications in insulin-dependent diabetes mellitus. N Engl J Med. 1993; 329(14):977-86.

Bell KJ, Barclay AW, Petocz P, Colagiuri S, Brand-Miller JC. Efficacy of carbohydrate counting in type 1 diabetes: a systematic review and meta-analysis. Lancet Diabetes Endocrinol. 2014;2(2):133-40.

DAFNE Study Group.Training in flexible, intensive insulin management to enable dietary freedom in people with type 1 diabetes: dose adjustment for normal eating (DAFNE) randomised controlled trial. Brit Med J. 2002;325(7367):746.

Bell KJ, Smart CE, Steil GM, Brand-Miller JC, King B, Wolpert HA. Impact of fat, protein, and glycemic index on postprandial glucose control in type 1 diabetes: implications for intensive diabetes management in the continuous glucose monitoring era. Diabetes Care. 2015;38(6):1008-15.

Paterson M, Bell KJ, O’ConnellSM, Smart CE, Shafat A, King B. The role of dietary protein and fat in glycaemic control in type 1 diabetes: Implications for intensive diabetes management. Curr Diab Rep. 2015;15(9):61.

Smart CE, Evans M, O’Connell SM, McElduff P, Lopez PE,Jones TW, et al. Both dietary protein and fat increase postprandial glucose excursions in children with type 1 diabetes, and the effect is additive. Diabetes Care. 2013;36(12):3897-902.

Wolpert HA, Atakov-Castillo A, Smith SA, Steil GM. Dietary fat acutely increases glucose concentrations and insulin requirements in patients with type 1 diabetes: implications for carbohydrate-based bolus dose calculation and intensive diabetes management. Diabetes Care. 2013;36(4):810-6.

Pankowska E, Kordonouri O. The complex food counting system in managing children and young people with type 1 diabetes. Diabetes Care for Children and Young People. 2013;2(2):68-70.

Kordonouri O, Hartmann R, Remus K, Bläsig S, Sadeghian E, Danne T. Benefit of supplementary fat plus protein counting as compared with conventional carbohydrate counting for insulin bolus calculation in children with pump therapy. Pediatr Diabetes. 2012;13(7):540-4.

Pańkowska E, Szypowska A, Lipka M, Szpotańska M, Błazik M, Groele L. Application of novel dual wave meal bolus and its impact on glycated hemoglobin A1c level in children with type 1 diabetes.Pediatr Diabetes. 2009;10(5):298-303.

Pańkowska E, Błazik M. Bolus calculator with nutrition database software, a new concept of prandial insulin programming for pump users. J Diabetes Sci Technol. 2010; 4(3):571-6.

FatSecret: food data base and calorie counter [Internet]. 2014 [cited 2021 April 20]. Available from: URL: https://www.fatsecret.com/caloriesnutrition/food/pizza.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

ฉบับ

บท

บทความทบทวนวิชาการ