การศึกษาประสิทธิผลการใช้สื่อการสอนชุด Carbohydrate Counting ในผู้ป่วยโรคเบาหวานในเด็ก
คำสำคัญ:
การนับคาร์โบไฮเดรต, โรคเบาหวาน, เด็กบทคัดย่อ
บทนำ: โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นมีสถิติเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมเป็นปัญหาสุขภาพ เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ระยะเวลาการเป็นโรคที่ยาวนานกว่าผู้ใหญ่ คณะผู้วิจัยจึงมีการใช้สื่อการสอนชุด Carbohydrate Counting การสอนเฉพาะเจาะจงผู้ป่วยเบาหวานในเด็ก และการสกัดโมเดลอาหารจากขนมกรุบกรอบ
วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กและครอบครัวเกิดทักษะในการปฏิบัติ การประเมินอาหารที่รับประทานให้เหมาะสมกับพยาธิสภาพของโรค และเพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้สื่อการสอนชุด Carbohydrate Counting ในผู้ป่วยโรคเบาหวานในเด็ก
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยอาสาสมัคร จำนวน 30 ราย จะได้รับการแนะนำ เรียนรู้ ปฏิบัติ ด้านอาหารเป็นรายบุคคลและได้รับการติดตามระยะเวลา 3 เดือน
ผลการศึกษา: พบว่าหลังการใช้สื่อการสอนชุด Carbohydrate Counting สามารถควบคุมความสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้สื่อการสอน การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านอาหาร Pre-test 6.333 ± 1.709 หลังเข้าโครงการมีความรู้ความเข้าใจด้านอาหารเพิ่มขึ้น Post-test 20.467 ± 4.666 มีค่า p-value <0.001 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจากทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อทบทวนความรู้ข้างต้นต่อเนื่อง 3-6 เดือน การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารภายใต้พหุวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับการรักษาโรค จนผู้ป่วยเกิดทักษะสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
References
อัญชลี ศรีจำเริญ. อาหารและโภชนาการการป้องกันและการบำบัดโรค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553:85-28.
สุภาพร สมหวัง. การนับคาร์โบไฮเดรตกับการควบคุมเบาหวาน. วารสารโภชนบำบัด 2560;25:7.
กรกต วีรเธียร. How to optimize nutrition counseling in diabetes and obesity patients. วารสารสมาคมนักกำหนดอาหาร 2563;40:47-8.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. รู้จักคาร์บ รู้จักนับ ปรับสมดุลควบคุมเบาหวาน. กรุงเทพฯ: สมาคม; 2560:59-1.
ลัดดา เหมาะสุวรรณ. สถานการณ์เบาหวานในประเทศไทยในประชากรอายุน้อยกว่า 15 ปี. วารสารเบาหวาน 2562;51:7-13.
ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. การนับคาร์โบไอเดรตเพื่อควบคุมเบาหวาน. กรุงเทพฯ: โนโวนอร์ดิสค์ ฟามา; 2559:29-3.
จีรันดา สันติประภพ, ประไพ เดชคารณ, สุภาวดี ลิขิตมาศกุล. สถานการณ์โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ใน เด็กไทยและแนวทางการรักษา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นไทย; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://thaipedendo.org › uploads › 2020/08.
สมาคมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นไทย. สถานการณ์โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ใน เด็กไทยและแนวทางการรักษา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคม; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://thaipedendo.org/type2diabetes-in-thailand/.
คณะทำงานจัดทำข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย. คู่มือธงโภชนาการกินดี สุขขีทั่วไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2552:77-69.
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. คู่มือการอ่านฉลากโภชนาการของขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554:25-5.
อัจฉรา ดลวิทยาคุณ. พื้นฐานโภชนบำบัด. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์; 2558:96-10.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือรณรงค์ให้ความรู้เรื่องฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (GDA). กรุงเทพฯ: สำนักงาน; 2554:27-4.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย; 2560:35-21.
ยุพา ชาญวิกรัย, ไมตรี สุทธจิตต์. การดูแลเบาหวานชนิดที่สองในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน. วารสารโภชบำบัด 2559;24:11-10.
วันทนีย์ เกรียงสินยศ. โภชนาการกับเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี; 2558:20-12.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. เบาหวานในเด็กและวัยรุ่น [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคม; 2557. [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://ntkanit.com/ebook-living-sweet-life/mobile/index.html.
ดวงใจ พรหมพยัคฆ์ และคณะ. ประสบการณ์การจัดการตนเองของวัยรุ่นที่เป็นเบาหวาน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2562;39:65-4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ลงใน Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด หากบุคคลหรืหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด ก่อนเท่านั้น