รายงานผู้ป่วยเฉพาะราย ภาวะกันชนถูกฝังที่เกิดขึ้นเร็วหลังจากใส่สายให้อาหาร ทางหน้าท้อง

ผู้แต่ง

  • พหล สโรจวิสุทธิ์ สาขาวิชาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์, ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์, โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
  • ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร สาขาวิชาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์, ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์, โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
  • ทยา กิติยากร สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ, ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์, โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ภาวะกันชนถูกฝังที่เกิดเร็ว, การใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

ภาวะกันชนถูกฝัง (buried bumper syndrome) เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังจากใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (percutaneous endoscopic gastrostomy tube) เกิดจากการที่กันชนสายให้อาหารซึ่งอยู่ด้านในกระเพาะอาหาร ถูกฝังด้วยเยื่อบุผิว และเคลื่อนที่ออกมาสู่ชั้นกล้ามเนื้อและผนังด้านนอกของชั้นกระเพาะอาหาร ภาวะแทรกซ้อนนี้อาจจะเกิดขึ้นได้หลังจากทำ สายให้อาหารทางหน้าท้องตั้งแต่ 1 เดือนเป็นต้นไป ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ ภาพถ่ายรังสี และ/หรือการส่องกล้องทางกระเพาะอาหาร

รายงานกรณีศึกษาผู้ป่วยฉบับนี้ ได้รายงานกรณีผู้ป่วยหญิงอายุ 54 ปี ซึ่งถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งโพรงจมูกฝั่งซ้ายและได้รับการใส่สายอาหารทางหน้าท้องก่อนการฉายแสงเพื่อรักษามะเร็งที่โพรงจมูก ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ได้มีอาการปวดท้อง และหนองไหลออกจากสายให้อาหารทางหน้าท้องหลังจากใส่สายเพียง 5 วัน และได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกันชนถูกฝังซึ่งเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ การรักษาภาวะนี้ได้แก่การส่องกล้องเพื่อเอากันชนและสายออก หรือผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เพื่อนำกันชนและสายออกในผู้ป่วยรายที่มีภาวะรุนแรง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนนี้ ผู้ที่ได้รับการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องทุกคนควรได้รับคำแนะนำ ของการดูแลรักษาสายให้อาหารทางหน้าท้องอย่างถูกวิธี และรับทราบอาการของภาวะกันชนถูกฝัง เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่รวดเร็ว ซึ่งจะสามารถลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนนี้ได้

References

Khalil Q, Kibria R, Akram S. Acute buried bumper syndrome. SMJ. 2010;103(12):1256-8.

Sun X, Spencer AU, Yang H, Haxhija EQ, Teitelbaum DH. Impact of caloric intake on parenteral nutrition–associated intestinal morphology and mucosal barrier function. JPEN. 2006;30(6):474-9.

Baumbusch H. Perkutane endoskopische Gastrostomie-Komplikationsanalyse mit und ohne antibiotische Prophylaxe. Universität Tübingen; 2019.

Biswas S, Dontukurthy S, Rosenzweig MG, Kothuru R, Abrol S. Burie bumper syndrome revisited: a rare but potentially fatal complication of PEG tube placement. Case Reports in Critical Care. 2014;2014.

Cyrany J, Rejchrt S, Kopacova M, Bures J. Buried bumper syndrome: a complication of percutaneous endoscopic gastrostomy. WJG. 2016;22(2):618.

Boyd JW, DeLegge MH, Shamburek RD, Kirby DF. The buried bumper syndrome: a new technique for safe, endoscopic PEG removal. Gastrointest. Endosc. 1995;41(5):508-11.

Lee T-H, Lin J-T. Clinical manifestations and management of buried bumper syndrome in patients with percutaneous endoscopic gastrostomy. Gastrointest. Endosc. 2008;68(3):580-4.

Baskin WN. Acute complications associated with bedside placement of feeding tubes. Nutr Clin Pract. 2006;21(1):40-55.

Ayas MF, Hoilat GJ, Affas S. An early presentation of buried bumper syndrome. Cureus. 2020;12(10).

Devia J, Santivañez JJ, Rodríguez M, Rojas S, Cadena M, Vergara A. Early recognition and diagnosis of buried bumper syndrome: a report of three cases. TSJ. 2019;5(03):e76-81.

Ali S, Tahan V, Abdel Jalil A. Early buried bumper syndrome: A rare complication of percutaneous endoscopic gastrostomy tube placement. Cureus. 2020;12(7):e9177.

World Health Organization. Obesity and Overweight. WHO. 2021. Available from https://www.who.int/health-topics/obesity#tab=tab_1

Pop GH, Parrish CR. Buried bumper syndrome: can we prevent it. Pract Gastroenterol. 2010;34(05):8-13.

Orsi P. Is the buried bumper syndrome a buried problem? Personal experience about a different therapeutic approach and prevention possibilities. Riv. Ital. Nutr. Parenter. Enter. 2002;20:124-31.

Warodomwichit D, Hongsprabhas P, Chittawatanarat K, Angkatavanich J, et al. Clinical practice recommendation for the nutrition management in adult hospitalized patients. SPENT. 2017.

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

สโรจวิสุทธิ์ พ., วโรดมวิจิตร ด. ., & กิติยากร . ท. (2024). รายงานผู้ป่วยเฉพาะราย ภาวะกันชนถูกฝังที่เกิดขึ้นเร็วหลังจากใส่สายให้อาหาร ทางหน้าท้อง. Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด, 32(2), 53–62. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/264512

ฉบับ

บท

รายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจ