การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการให้ความรู้เกี่ยวกับ การระงับความรู้สึกและการระงับปวดในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉิน

Main Article Content

ยุพยงค์ มิ่งโอโล
ลิษา สังฆ์คุ้ม
ชลธิชา เจริญทรัพย์
เพ็ญศิริ พุ่มหิรัญ
ธีรวัฒน์ ชลาชีวะ

บทคัดย่อ

บทนำ: การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยถือเป็นบทบาทสำคัญของวิสัญญีพยาบาล ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง คลายความวิตกกังวล และเพิ่มความพึงพอใจต่อการเข้ารับบริการวิสัญญี ปัจจุบันการให้ความรู้ด้วยวิธีมาตรฐานมีความหลากหลายและยากต่อการควบคุมคุณภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับความรู้โดยวิสัญญีพยาบาล และผู้ป่วยที่ได้รับความรู้ด้วยวิธีมาตรฐาน วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบ prospective randomized control trial ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดแบบ ไม่ฉุกเฉินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ได้รับความรู้โดยวิสัญญีพยาบาล (กลุ่ม 1) และกลุ่มที่ได้รับความรู้ด้วยวิธีมาตรฐาน (กลุ่ม 2) วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาได้แก่ คะแนนก่อนและหลังการให้ความรู้โดยวิสัญญีพยาบาล เปรียบเทียบกับการได้รับความรู้ด้วยวิธีมาตรฐาน วัตถุประสงค์รองได้แก่ ระดับความวิตกกังวล ระดับความปวดภายหลังการผ่าตัด และระดับความพึงพอใจ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับความรู้โดยวิสัญญีพยาบาลมีคะแนนก่อนและหลังการให้ความรู้สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้ด้วยวิธีมาตรฐาน (mean difference คะแนนก่อนและหลัง: 2.72±1.83 และ 0.24±0.53, P<0.001 และ P=0.004) มีคะแนนความวิตกกังวลต่ำกว่า (P<0.001) และควบคุมความปวดได้ดีกว่าวิธีมาตรฐาน (resting pain: 0.5 (0-3) และ 1 (0-3), P=0.001) ทั้งนี้คะแนนความพึงพอใจไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม สรุป: การให้ความรู้เกี่ยวกับการระงับความรู้สึกและการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยวิสัญญีพยาบาลสามารถเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้ป่วยและคลายความวิตกกังวลได้ดีกว่าวิธีมาตรฐาน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Annual report. Bangkok: Mahidol University; 2017-2022.

ชุลีพร วชิรธนากร, ปุณยนุช จุลนวล. ความต้องการข้อมูลและการได้รับข้อมูลของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดทางนรีเวช. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25:51-9.

Mitchell M. Conscious surgery: influence of environment on patient anxiety. J Adv Nurs. 2008;64:261-71.

อรทัย บุญเลิศ, แสงเทียน ธรรมลิขิตกุล. ความวิตกกังวลและต้องการข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ก่อนการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วชิรเวชสาร. 2545;46:135-43.

อนุช จึงสมาน, กรวีร์ พสุธารชาติ. การศึกษาความรู้เกี่ยวกับวิสัญญีของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึกแผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลรามาธิบดี. วิสัญญีสาร. 2559;42:1-10.

Kunthonluxamee A, Pitimana-aree S, Luarujisawat P. Validity and Reliability of the Amsterdam

Preoperative Anxiety and Information Scale (APAIS); Thai version in adult Thai pre-operative patients. J Psychiatr Assoc Thai. 2009;54:83-92.

Cherel Q, Burey J, Rousset J, et al. Epidural analgesia information sessions provided by anesthetic nurses: impact on satisfaction and anxiety of parturient women a prospective sequential study. BMC Anesthesiol. 2022;22:105.

Niruthisard S, Sriprajittichai P, Sathonpanich S, Kukiatkulchai R, Tunprayoon A. A survey of

postoperative pain experience at King Chulalongkorn Memorial Hospital: patients’ perspective. Chula Med J. 2008;52:421-30.

Ranco M, Lona L, Fabbro C, Bulfone G, Palese A. Patient education outcomes in surgery: a systematic review from 2004 to 2010. Int J Evid Based Healthc. 2012;10:309-23.

Johansson K, Salantera S. Preoperative education for orthopedic patients: systematic. J Adv Nurs. 2005;50:212-23.

Che Y, Gao Y, Jing J, Kuang Y, Zhang M. Effects of an informational video about anesthesia on

pre- and post-elective cesarean section anxiety and recovery: a randomized controlled trial. Med Sci Monit. 2020;26:1-11.

Tom K, Phang PT. Effectiveness of the video medium to supplement preoperative patient education: a systematic review of the literature. Patient Educ Couns. 2022;105:1878-87.

Brezis M, Israel S, Weinstein-Birenshtock A, Pogoga P, Sharon A, Tauber R. Quality of informed consent for invasive procedures. Int J Qual Health Care. 2008;20:352-57.

Sherlock A, Brownie S. Patients’ recollection and understanding of informed consent: a literature review. ANZ J Surg. 2014;84:207-10.

Prajit J, Wanchai A, Suwannachat S. The effect of video media use in patient undergoing anesthesia for surgery on the patient knowledge and satisfaction with the media. J H Nsg Edu. 2020;26:45-57.

ศิริทิพย์ สงวนวงศ์วาน, กัลยา อุ่นรัตนะ. ประสิทธิผลของสื่อวีดีทัศน์ผสมภาพแอนนิเมชั่นให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังผสมยาแก้ปวดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28:488-98.

Watt-Watson J, Stevens B, Katz J, Costello J, Reid GJ, David T. Impact of preoperative education on pain outcomes after coronary artery bypass graft surgery. Pain. 2004;109:73-85.

Naqib D, Purvin M, Prasad R, et al. Quality improvement initiative to improve postoperative pain with a clinical pathway and nursing education program. Pain Manag Nurs. 2018;19:447-55.

ณัชพล เติมพรเลิศ, ปัญจภรณ์ วาลีประโคน. ผลของวีดีทัศน์สื่อความรู้ต่อการลดความวิตกกังวลในการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2563;65:153-66.