Announcements

ประกาศเปิดรับบทความตีพิมพ์ (เปิดรับตลอดปี)

2023-09-19

ประกาศเปิดรับบทความตีพิมพ์ (เปิดรับตลอดปี) 

วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย (Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice) เปิดรับบทความผลงานทางวิชาการ ที่ได้จากการปฏิบัติการพยาบาลและการวิจัยเชิงพัฒนาคุณภาพของการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือและเชื่อมโยงเครือข่ายการพัฒนานวัตกรรมและการปฏิบัติตามหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ของพยาบาลในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งประเภทของบทความต้นนิพนธ์ (original articles) ในวารสารนี้ ได้แก่

  • รายงานวิจัย (research report)
  • โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการปฏิบัติ (capstone project)
  • การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ (systematic reviews)
  • การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก (development of practice guidelines)
  • รายงานกรณีศึกษา (case report)
  • บทความวิชาการ (academic article) ทั้งนี้ ยังรวมถึง บทความปกิณกะ (miscellaneous) และอื่น ๆ

ผู้สนใจสามารถส่งต้นฉบับได้ที่เว็บไซต์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/apnj/about/submissions

อัตราค่าตีพิมพ์  บทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ ผู้เขียนจะมีค่าใช้จ่าย ดังนี้

1) สมาชิกสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย) ชำระค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านบทความจำนวน 3 ท่าน และค่าตอบแทนการแปล/Edit บทคัดย่อภาษาอังกฤษ เป็นเงิน จำนวน 2,500 บาท

 2) ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกสมาคมฯ ตามข้อ 1) ชำระค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านบทความจำนวน 3 ท่าน และค่าตอบแทนการแปล/Edit บทคัดย่อภาษาอังกฤษ เป็นเงิน จำนวน 3,500 บาท

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป บทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ จะมีอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ ดังนี้ 

1) สมาชิกสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย) ชำระค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านบทความจำนวน 3 ท่าน และค่าตอบแทนการแปล/Edit บทคัดย่อภาษาอังกฤษ เป็นเงินจำนวน 5,000 บาท/บทความ

 2) ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกสมาคมฯ ตามข้อ 1) ชำระค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านบทความจำนวน 3 ท่าน และค่าตอบแทนการแปล/Edit บทคัดย่อภาษาอังกฤษ เป็นเงินจำนวน 6,000 บาท/บทความ

ช่องทางการชำระค่าตีพิมพ์        ชำระค่าตีพิมพ์โดยการโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์

ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงสาธารณสุข

บัญชีเลขที่:  142 – 0 – 19768 – 1

ชื่อบัญชี:    สมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (วารสาร)

******ให้ชำระเงินค่าธรรมเนียมหลังจากได้รับแจ้งจากทางวารสารแล้วเท่านั้น**********

ติดต่อกองบรรณาธิการได้ที่ รศ.ดร.ประณีต ส่งวัฒนา  (บรรณาธิการ) e-mail: tjnmp.2023@gmail.com

ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับลงตีพิมพ์ในวารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย ปี พ.ศ. 2567

2023-09-16

ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับลงตีพิมพ์ในวารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทยปี พ.ศ. 2567

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567  เป็นต้นไป บทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ จะมีอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ ดังนี้ 

1) สมาชิกสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย) ชำระค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านบทความจำนวน 3 ท่าน และค่าตอบแทนการแปล/Edit บทคัดย่อภาษาอังกฤษ เป็นเงินจำนวน 5,000 บาท/บทความ

 2) ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกสมาคมฯ ตามข้อ 1) ชำระค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านบทความจำนวน 3 ท่าน และค่าตอบแทนการแปล/Edit บทคัดย่อภาษาอังกฤษ เป็นเงินจำนวน 6,000 บาท/บทความ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ข่าวสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย)

2019-08-20

ข่าวสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย)

           

ข่าวสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย) ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้

  • แนะนำสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย)
  • คณะกรรมการสมาคมฯ ชุดปัจจุบัน (วาระ พ.ศ. 2562 – 2564)
  • กิจกรรมสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย) ปี พ.ศ. 2562

 

แนะนำสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย)

สมาคมผู้ปฎิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย) ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารนครินทรศรี  กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000 โทรศัพท์ และ Fax : 02-1495635  เว็บไซด์ www.apnathai.org  สมาคมฯ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อ

1) สนับสนุนการสร้างความรู้ และนวัตกรรมสาขาพยาบาลศาสตร์ โดยเฉพาะด้านการปฏิบัติการพยาบาล

2) ส่งเสริมและควบคุมคุณภาพของผู้ปฏิบัติและการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง

3) สนับสนุนการสอบวุฒิบัตรเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในสาขาต่าง ๆ

4) สนับสนุนการพัฒนานโยบายสุขภาพเพื่อการมีสุขภาวะของประชาชนไทยและประชาคมโลก

5) เผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมของการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ในระดับชาติ และนานาชาติ

6) ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง และผดุงเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพการพยาบาล

7) ร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพและหน่วยงานของรัฐ ในการพัฒนาสุขภาพประชาชนและกิจการสาธารณประโยชน์

8) แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ร่วมมือ และสร้างเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ

9) ส่งเสริมความก้าวหน้าในการพัฒนาผู้ปฏิบัติและการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง

10) ไม่ตั้งโต๊ะบิลเลียดหรือไม่จัดให้มีการพนันแต่อย่างใด

 

คณะกรรมการสมาคมฯ ชุดปัจจุบัน (วาระ พ.ศ. 2562 – 2564) 

            คณะกรรมการของสมาคมฯ มี 2 ประเภท ได้แก่ คณะกรรมการที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และคณะกรรมการอำนวยการ  ดังนี้

  1. คณะกรรมการที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ได้แก่ สมาชิกของสมาคมหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการมีมติให้เชิญมาเป็นกรรมการ มีวาระ 2 ปี ตามวาระการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอำนวยการ ปัจจุบันคณะกรรมการที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มีจำนวน 6 คน ได้แก่

1.1 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิจิตร  ศรีสุพรรณ           

                 1.2 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมจิต    หนุเจริญกุล       

                 1.3 รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา  บุญทอง

                 1.4 รองศาสตราจารย์ประคอง   อินทรสมบัติ

                 1.5 รองศาสตราจารย์ ดร.เรณู   พุกบุญมี

                 1.6 รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา ยูนิพันธุ์

  1. คณะกรรมการอำนวยการ ได้แก่ สมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นกรรมการอำนวยการ จะต้องมีตัวแทนของทุกสาขาเป็นองค์ประกอบ อย่างน้อยสาขาละ 1 คน รวมจำนวนกรรมการอำนวยการทั้งสิ้น 17 คน โดย มีวาระ 2 ปี และต่อเนื่องได้ไม่เกิน 2 วาระ คณะกรรมการอำนวยการ วาระ พ.ศ. 2562 – 2564  มีดังนี้

2.1 รองศาสตราจารย์ ดร.พูลสุข  ศิริพูล             นายกสมาคม

2.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิกุล  พรพิบูลย์         อุปนายก คนที่หนึ่ง

2.3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จริยา  วิทยะศุภร        อุปนายก คนที่สอง

2.4 รองศาสตราจารย์ ดร.แสงทอง ธีระทองคำ    เหรัญญิก

2.5 นางสาวนงลักษณ์ ศรีสุจริต                         เลขานุการและผู้จัดการ

2.6 นางสาวชมพูนุท ศรีวิชัย                             นายทะเบียน

2.7 นางสาวเอมิตา ศุวิมล                                 ปฏิคม

2.8 นางสาวเสาวลักษณ์  ฟูปินวงศ์                    สวัสดิการ

2.9 รองศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ โตสิงห์         ประชาสัมพันธ์

2.10 นายอาคม  รัฐวงษา                                  ประชาสัมพันธ์

2.11 นางสาวอุบลรัตน์  ต้อยมาเมือง                  ประชาสัมพันธ์

2.12 รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ศรีธัญรัตน์   วารสาร

2.13 นางนิ่มนวล มันตราภรณ์                          วารสาร

2.14 นายบำเหน็จ แสงรัตน์                              วารสาร

2.15 รองศาสตราจารย์ ดร.วันดี  สุทธรังษี          วิชาการ

2.16 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผกาพันธุ์  วุฒิลักษณ์      วิชาการ

2.17 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสเพ็ญ  ชูนวล        วิชาการและจัดหาทุน

 

กิจกรรมสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย) ปี พ.ศ. 2562

การจัดประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 1/2562

ในการสนับสนุนการสร้างความรู้ และนวัตกรรมสาขาพยาบาลศาสตร์ โดยเฉพาะด้านการปฏิบัติการพยาบาลและการสนับสนุนการสอบวุฒิบัตรเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ นั้น ได้มีการจัดประชุมวิชาการประจำปีเป็นประจำทุกปี  ในปี พ.ศ. 2562 มีการจัดประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 1/2562 เรื่อง “เส้นทางสู่ APN : การเตรียมผลงานเพื่อการเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง” ขึ้น ระหว่างวันที่ 4 – 5 กรกฎาคม 2562  ณ  โรงแรมตวันนา กรุงเทพมหานคร

ในการประชุมย่อยครั้งต่อไป ที่สมาคมฯ มีแผนงานการจัดประชุมสมาชิกสัญจรในห้าภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อพบปะผู้บริหาร สมาชิกและผู้สนใจด้านการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ตลอดจนเพื่อรับทราบข้อมูลและให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาสมรรถนะและผลงานการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงของสมาชิกและผู้ที่สนใจ  จึงขอเชิญสมาชิกฯ ให้ข้อเสนอแนะและติดตามข่าวสารของสมาคมฯ ในโอกาสต่อไป

ประกาศ เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ พ.ศ.2561

2018-06-29

ประกาศสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย)

เรื่อง  ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความในวารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย

วารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI

2018-02-09

วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย อยู่ในฐานข้อมูลของ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index-TCI) กลุ่มที่ 2

ประกาศเกี่ยวกับการส่งบทความตีพิมพ์

2018-02-09

ผู้เขียนที่มีความประสงค์จะส่งบทความต้นนิพนธ์ประเภทต่างๆ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย จะต้องสมัครเป็นสมาชิกวารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทยมีระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี